Page 15 - การใช้ประโยชน์ของชุดตรวจดินภาคสนามสำหรับการจัดการปุ๋ยเพื่อการปลูกพืชผักในจังหวัดลำพูน
P. 15

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                         2







                                                        การตรวจเอกสาร

                       1.  การประเมินงบดุลบางส่วนของธาตุอาหารหลัก และการดูดใช้ธาตุอาหารของพืช

                              เกษตรกรมีการใช้สารเคมีในระดับสูง โดยเฉพาะปุ๋ยและสารก าจัดแมลงศัตรูพืชส าหรับ
                       การปลูกผัก และการใช้ปุ๋ยในปริมาณมากมีผลท าให้เกิดการสูญเสียไนโตรเจนจากดินและการ
                       สะสมฟอสฟอรัสในดิน ซึ่งท าให้เกิดผลเสียต่อสภาพแวดล้อม (Mursheldul and Ladha, 2004)
                       ในการเพาะปลูกพืชหลายชนิดที่มีการใส่ปุ๋ยไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียมอย่างต่อเนื่อง

                       ในปริมาณสูง จะท าให้มีการสะสมฟอสฟอรัสและโพแทสเซียมในระดับสูง (Prasad  and  Sinha,
                       1981)
                              จากการศึกษาของ เนตรดาว (2547) ซึ่งได้ประเมินงบดุลบางส่วนของธาตุอาหารหลักของ
                       พืชที่ปลูกในระบบปลอดสารป้องกันศัตรูพืช โดยใช้ผักอายุยาว (45  วัน) 3  ชนิด ได้แก่ คะน้า

                       ผักกาดกวางตุ้ง และผักกาดฮ่องเต้ และผักอายุสั้น (35 วัน) 3 ชนิด ได้แก่ ผักบุ้ง ผักโขมจีน และ
                                                                                                     2
                       ผักสลัดใบ พบว่า มีการใช้ปุ๋ยเคมีและปุ๋ยอินทรีย์ ในปริมาณที่ให้ธาตุอาหารหลัก 7.1 g N/m , 5.8
                                                                                         2
                                                                                                         2
                                            2
                             2
                                                                              2
                       g P/m  และ 5.0 g K/m   ส าหรับผักอายุยาว และ 5.7 g N/m , 4.7 g P/m และ 4.0 g K/m
                       ส าหรับผักอายุสั้น  และจากการวิเคราะห์ดินก่อนปลูก พบว่ามีปริมาณไนโตรเจนในระดับที่ไม่
                       เพียงพอส าหรับการปลูกผัก แต่มีปริมาณฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ในดินและโพแทสเซียมที่
                       สามารถแลกเปลี่ยนได้ในระดับสูงมาก ดังนั้นงบดุลธาตุอาหารบางส่วนจะผันแปรไปตามชนิดของ
                       ผักที่ปลูก แต่เป็นที่สังเกตว่าส าหรับพืชผักทั้ง 6  ชนิด ที่ศึกษาจะมีงบดุลของฟอสฟอรัสเป็นบวก
                       ส่วนงบดุลของไนโตรเจนและโพแทสเซียมส าหรับผักคะน้า ผักกาดกวางตุ้ง และผักโขมจีนมีค่าติด

                       ลบ แต่ส าหรับผักสลัดใบและผักบุ้งกลับมีค่างบดุลไนโตรเจนและโพแทสเซียมเป็นบวก ส่วนผักกาด
                       ฮ่องเต้มีค่างบดุลของไนโตรเจนเป็นบวก แต่งบดุลโพแทสเซียมติดลบ
                              Ontario Ministry of Agriculture Food and Rural Affairs (2006) รายงานว่า ในดิน

                       ที่มีปริมาณฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ในดินมีค่า 61 mg/kg หรือมากกว่า ผักสลัดจะไม่ตอบสนอง
                       ต่อการใส่ปุ๋ยฟอสฟอรัสที่เพิ่มเติมลงไป ส าหรับดินที่มีปริมาณโพแทสเซียมที่สามารถแลกเปลี่ยนได้
                       181 mg/kg หรือสูงกว่า ผักสลัดก็จะไม่ตอบสนองต่อการใส่ปุ๋ยโพแทสเซียมเช่นเดียวกัน
                              Deenik  (2006) ได้ศึกษาการจัดการปุ๋ยฟอสฟอรัสส าหรับการปลูกกะหล่ าปลี โดยดินที่

                       ปลูกมีปริมาณฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์และโพแทสเซียมที่สามารถแลกเปลี่ยนได้ในระดับสูง
                       พบว่าการใส่ปุ๋ยที่มีปริมาณ N,  P  และ K แตกต่างกัน ไม่ท าให้ปริมาณผลผลิตน้ าหนักสดของ
                       กะหล่ าปลีแตกต่างกันอย่างมีนัยส าคัญทางสถิติ
                              ปวีณา (2551) ได้ศึกษาสภาพความอุดมสมบูรณ์ของดินและการจัดการปุ๋ยเคมีอย่าง

                       เหมาะสมในการปลูกผักบนพื้นที่สูง พบว่า ดินที่ใช้ปลูกผักส่วนใหญ่มีความเป็นกรดจัด (pH  อยู่
                       ในช่วง 3.8–5.4)   ปริมาณฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ และปริมาณโพแทสเซียมที่สามารถ
                       แลกเปลี่ยนได้อยู่ในระดับสูงมาก (>100 mg P/kg และ >300 mg K/kg) และใช้พื้นที่ดังกล่าวท า
                       การทดลองการใส่ปุ๋ยเคมีตามค่าวิเคราะห์ดินเปรียบเทียบกับการใส่ปุ๋ยเคมีแบบต่าง ๆ ผลการ

                       ทดลองพบว่า วิธีการใส่ปุ๋ยในอัตราที่ได้จากการประเมินปริมาณธาตุอาหารที่มีอยู่ในดินร่วมกับ
                       ปริมาณธาตุอาหารที่สะสมอยู่ในผลผลิตผัก ให้ผลผลิตไม่แตกต่างจากวิธีการใส่ปุ๋ย N,  P  และ K
   10   11   12   13   14   15   16   17   18   19   20