Page 205 - รายงานการสำรวจดินเขตพัฒนาที่ดินลุ่มน้ำคลองหวาย-คลองโพล้ลุ่มน้ำสาขาแม่น้ำประแสร์(รหัส 1805) ลุ่มน้ำหลักชายฝั่งทะเลตะวันออก(รหัส 18) พื้นที่ดำเนินการโครงการ บ้านคลองป่าไม้ หมู่ 6 บ้านเขาผักกูด หมู่ 7 ตำบลกระแสบน อำเภอแกลง จังหวัดระยอง
P. 205

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                    158





                                   พื้นที่มีศักยภาพผลิตพืชดังกล่าวไปแล้วนั้น เป็นหนึ่งในพืชทางเลือก หรือแนวทางใน

                   การปรับเปลี่ยนจ านวนพื้นที่การปลูกพืชปัจจุบัน โดยพื้นที่ศักยภาพผลิตพืชผัก พืชไร่ และป่า 3 อย่าง ประโยชน์
                   4 อย่างนั้น สามารถเพิ่มอีกกลุ่มพืชทางเลือกที่เหมาะสม ได้แก่ พืชสมุนไพร
                                   พืชสมุนไพร ปัจจุบันผลิตภัณฑ์สมุนไพรและการรักษาด้วยสมุนไพร ทั้งตลาดโลกและ
                   ภายในประเทศมีความต้องการเพิ่มสูงขึ้น โดยปัจจัยหนุนหลักมาจากการขยายตัวตามพฤติกรรมผู้บริโภคที่

                   ใส่ใจสุขภาพและใช้ผลิตภัณฑ์ธรรมชาติมากขึ้น ส าหรับภายในประเทศอีกปัจจัยหนุนเนื่องจากโครงสร้าง
                   ประชากรและสังคมที่เปลี่ยนไป การเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ความนิยมในฐานะที่เป็นทางเลือกในการดูแลสุขภาพ
                   รวมถึงการสนับสนุนจากภาครัฐในการเข้าถึงยาสมุนไพร และแนวทางการขับเคลื่อนแผนแม่บทแห่งชาติ
                   ว่าด้วยการพัฒนาสมุนไพรไทย ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2560-2564 เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มของวัตถุดิบสมุนไพรและผลิตภัณฑ์

                   สมุนไพรภายในประเทศ เพื่อยกระดับให้ประเทศไทยเป็นประเทศที่ส่งออกวัตถุดิบและผลิตภัณฑ์สมุนไพร
                   ชั้นน าของภูมิภาคอาเซียน ที่ขับเคลื่อนโดยกระทรวงพาณิชย์ ตลาดสมุนไพรในประเทศ แบ่งเป็น 3 กลุ่มใหญ่
                   ได้แก่ กลุ่มอาหารสมุนไพร (เครื่องดื่ม ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร) กลุ่มยาสมุนไพร และกลุ่มเครื่องส าอาง
                                   ภายในจังหวัดระยองมีสวนสมุนไพรสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

                   ตั้งอยู่บริเวณ บริษัท ปตท. จ ากัด (มหาชน) ต าบลมาบข่า อ าเภอเมือง ซึ่งเป็นสถานที่รวบรวมพันธุ์สมุนไพร
                   มากกว่า 260 ชนิด เปิดเป็นแหล่งพ ักผ่อนหย่อนใจ แหล่งศึกษาหาความรู้ด้านพฤษศาสตร์และสมุนไพร
                   ตลอดจนมีร้านค้าบริการอาหารเครื่องดื่ม ร้านขายของที่ระลึก ร้านนวดเพื่อสุขภาพ และตลาดนัดสวนสมุนไพร

                   นอกจากนี้ภายในจังหวัดยังมีสวนสมุนไพร สถาบันวิจัยสมุนไพร สังกัดกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ตั้งอยู่
                   บริเวณอ่างเก็บน้ าหนองปลาไหล อ าเภอปลวกแดง เป็นหน่วยงานส าหรับทัศนศึกษาด้านพืชสมุนไพรที่สมบูรณ์
                   โดยเร่งรัดปลูก อนุรักษ์ รวบรวมพันธุ์พืชสมุนไพรให้หลากหลายชนิด การใช้เทคนิคการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ
                   พืชในการขยายพันธุ์ ศึกษา วิเคราะห์ วิจัย พัฒนาองค์ความรู้ และเทคโนโลยีทางห้องปฏิบัติการด้านสมุนไพร
                   พร้อมทั้งมีการให้บริการตรวจวิเคราะห์ รับรองสมุนไพรและผลิตภัณฑ์สมุนไพรอีกด้วย พืชสมุนไพรมี

                   หลากหลายชนิด ควรเลือกชนิดปลูกให้มีความหลากหลายและตรงความต้องการของตลาด
                                   พืชสมุนไพรที่เป็นพืชล้มลุก ความต้องการน้ ามาก เช่น ใบเตย ว่านหางจระเข้ ค าฝอย
                   เสลดพังพอน หญ้าหนวดแมว กระเจี๊ยบ บัวบก ตะไคร้ ขิง ฟ้าทะลายโจร เป็นต้น เสนอให้เป็นพืชทางเลือกใน

                   พื้นที่มีศักยภาพผลิตพืชผัก พืชสมุนไพรที่รากไม่ลึก เจริญเติบโตโดยอาศัยน้ าฝนเป็นหลัก เช่น ไพร ขมิ้นชัน ยอ
                   กระชายด า ส้มแขก มะแว้ง เป็นต้น เสนอให้เป็นพืชทางเลือกในพื้นที่มีศักยภาพผลิตพืชไร่ และส าหรับพื้นที่
                   มีศักยภาพผลิตป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่างนั้น เสนอให้เลือกชนิดพืชที่ปลูกในกลุ่มไม้ใช้สอย ไม้กินได้ เป็น
                   พืชที่ให้ประโยชน์ทางสมุนไพรด้วย เช่น กระถิน มะรุม มะหาด กฤษณา สะเดา ขี้เหล็ก สมอไทย

                   บอระเพ็ด เป็นต้น จากสภาพพื้นที่และข้อได้เปรียบในการมีแหล่งพันธุ์ แหล่งความรู้ ทั้งในเรื่องสมุนไพร
                   การแปรรูปผลิตภัณฑ์ การรับรองคุณภาพวัตถุดิบและผลิตภัณฑ์ และการมีตลาดรองรับ จึงเสนอให้พื้นที่
                   ดังกล่าวมีสมุนไพรเป็นอีกหนึ่งพืชทางเลือก
                                     แนวทางการพัฒนา

                                          แนะน าเช่นเดียวกับพื้นที่มีศักยภาพผลิตพืชผัก พืชไร่ และป่า 3 อย่างฯ ในเรื่อง
                   การปรับปรุงบ ารุงดิน การอนุรักษ์ดินและน้ า และแนวทางการท าเกษตรอินทรีย์ ดังที่กล่าวไปแล้วในหัวข้อ
                   นั้นๆ เพิ่มเติมในเรื่องสร้างความเข็มแข็งในการรวมกลุ่มเกษตรกรผู้ผลิตเพื่อให้มีปริมาณวัตถุดิบเพียงพอ
                   (แนวคิดเกษตรแปลงใหญ่) เพื่อสามารถก าหนดราคาเองกับผู้รับซื้อ และส่งเสริมการรวมกลุ่มแม่บ้านชุมชน

                   ในการพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ คุณภาพสินค้า ตลอดจนขอเอกสารรับรองผลิตภัณฑ์ เพื่อสร้างสินค้า OTOP
   200   201   202   203   204   205   206   207   208   209   210