Page 204 - รายงานการสำรวจดินเขตพัฒนาที่ดินลุ่มน้ำคลองหวาย-คลองโพล้ลุ่มน้ำสาขาแม่น้ำประแสร์(รหัส 1805) ลุ่มน้ำหลักชายฝั่งทะเลตะวันออก(รหัส 18) พื้นที่ดำเนินการโครงการ บ้านคลองป่าไม้ หมู่ 6 บ้านเขาผักกูด หมู่ 7 ตำบลกระแสบน อำเภอแกลง จังหวัดระยอง
P. 204

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                    157





                   สับปะรดที่ปลูกได้ในประเทศไทย 70-80 เปอร์เซ็นต์ จะส่งเข้าโรงงานอุตสาหกรรมเพื่อใช้ในการแปรรูปเป็น

                   ผลิตภัณฑ์ต่างๆ จากสับปะรด ราคาส่งมีความถูกกว่าราคาขายผลสดโดยตรงอยู่มาก ควรมีการหาตลาดขายผล
                   สดเพิ่มขึ้นหรือบางปีที่ทิศทางตลาดไม่ดีอาจสลับชนิดพืชที่ปลูก โดยเลือกพืชไร่รากสั้น ที่มีความต้องการ
                   ของตลาด เช่น มันส าปะหลัง ข้าวโพด เป็นต้น


                                    4) พื นที่มีศักยภาพการผลิตป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง
                                     มีเนื้อที่ 293 ไร่ หรือร้อยละ 5.45 ของพื้นที่ด าเนินการ บริเวณหน่วยแผนที่ Ho-sglE/d 2c,E 3
                   Klt-clD/d 2c,E2 สภาพพื้นที่มีความลาดชัน มากกว่า 12 เปอร์เซ็นต์ มีการกร่อนปานกลางถึงรุนแรง เป็นดินตื้น

                   ดินมีความอุดมสมบูรณ์ต่ า พื้นที่มีศักยภาพในการผลิตพืชต่ า สภาพการใช้พื้นที่ปัจจุบันส่วนใหญ่เป็นการปลูก
                   ยางพารา รองมาเป็นไม้ผล พื้นที่รกร้าง และมันส าปะหลัง ตามล าดับ พื้นที่ไม่ค่อยเหมาะสมส าหรับปลูก
                   พืชเศรษฐกิจทั่วไป จากการพิจารณาได้วางให้เป็นพื้นที่ปลูกป่า 3 อย่าง อันได้แก่ ไม้ใช้สอย ไม้กินได้
                   และไม้เศรษฐกิจ ซึ่งมีการดูแลรักษาไม่ยาก ได้ใช้ประโยชน์ไม้ตามชนิดที่ปลูกแล้ว ยังได้ประโยชน์ที่ 4 เพิ่ม

                   มาในเรื่องท าให้เกิดความหลากหลายและเป็นการอนุรักษ์ดินและน ้าอีกด้วย
                                     แนวทางการพัฒนา
                                          1) ปลูกพืชในแนวทางของวนเกษตร ป่าเศรษฐกิจชุมชน เลือกชนิดพืชที่ปลูก
                   ในแต่ละประเภทให้มีความหลากหลาย

                                         2) หากประสงค์ปลูกพืชเชิงเดี่ยวต่อไป ต้องดูแลรักษาการใช้พื้นที่ร่วมกับมีการ
                   ใช้ระบบอนุรักษ์ดินและน้ าที่เหมาะสม เพื่อป้องกันการชะล้างพังทลายสูญเสียหน้าดิน และเกิดเป็นพื้นที่ดิน
                   ตื้นมากขึ้น


                                    5) พื นที่ป่านอกเขตป่าตามกฎหมาย
                                     มีเนื้อที่ 12 ไร่ หรือร้อยละ 0.22 ของพื้นที่ด าเนินการ เป็นบริเวณที่มีสภาพพื้นที่

                   เป็นป่าผลัดใบสมบูรณ์ ที่อยู่นอกพื้นที่ป่าตามกฎหมายและนอกพื้นที่ลาดชันเชิงซ้อน
                                     แนวทางการพัฒนา
                                          ควรคงสภาพไว้เป็นพื้นที่ป่าชุมชน เพื่อการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ของชุมชนต่อไป


                                    6) พื นที่ลาดชันเชิงซ้อน
                                     มีเนื้อที่ 23 ไร่ หรือร้อยละ 0.42 ของพื้นที่ด าเนินการ เป็นพื้นที่มีความลาดชัน
                   มากกว่า 35 เปอร์เซ็นต์ ไม่เหมาะน ามาใช้ในการเกษตร เนื่องจากมีปัญหาหลายประการที่มีผลกระทบต่อ

                   ระบบนิเวศน์
                                     แนวทางการพัฒนา
                                          1) บริเวณพื้นที่ป่าในปัจจุบัน สมควรคงไว้เป็นพื้นที่ป่าเพื่อการอนุรักษ์ โดยมี
                   มาตรการป้องกันการบุกรุกและฟื้นฟูบริเวณที่เสื่อมโทรม เพื่อสงวนไว้เป็นป่าตามธรรมชาติ เป็นแหล่งต้น

                   น้ าล าธาร หรือเขตป่าอนุรักษ์อื่นๆ
                                          2) บริเวณพื้นที่ท าการเกษตร ควรมีมาตรการเพื่อน าพื้นที่กลับสู่การเป็นพื้นที่
                   ป่าเพื่อการอนุรักษ์
   199   200   201   202   203   204   205   206   207   208   209