Page 203 - รายงานการสำรวจดินเขตพัฒนาที่ดินลุ่มน้ำคลองหวาย-คลองโพล้ลุ่มน้ำสาขาแม่น้ำประแสร์(รหัส 1805) ลุ่มน้ำหลักชายฝั่งทะเลตะวันออก(รหัส 18) พื้นที่ดำเนินการโครงการ บ้านคลองป่าไม้ หมู่ 6 บ้านเขาผักกูด หมู่ 7 ตำบลกระแสบน อำเภอแกลง จังหวัดระยอง
P. 203

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                    156





                                     ข้าวโพดหวาน เป็นพืชเศรษฐกิจตัวหนึ่งที่ปลูกได้ตลอดทั้งปี และปลูกได้ทั่วไปทุก

                   ภาคของประเทศ แหล่งเพาะปลูกที่ส าคัญได้แก่ ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง มีราคา
                   และตลาดการส่งออกที่ดี ส าหรับในพื้นที่ด าเนินการมองถึงการผลิตเพื่อการบริโภคไม่มีเป้าหมายถึงการ
                   ส่งออก เนื่องจากไม่มีแหล่งรับซื้อเพื่อการส่งออกในพื้นที่ มองตลาดในเป้าหมายเดียวกันกับการผลิตพืชผัก
                   คือ กลุ่มนักท่องเที่ยว และผู้ประกอบการร้านอาหาร ที่พัก

                                     สภาพพื้นที่เป็นลูกคลื่นลอนลาดเล็กน้อยถึงลูกคลื่นลอนชั้น เป็นดินตื้น ดินมีความ
                   อุดมสมบูรณ์ต่ า พื้นที่มีความเหมาะสมดีถึงดีปานกลางในการปลูกพืชไร่ มีข้อจ ากัดเรื่องความอุดมสมบูรณ์
                   ของดินต่ า ในพื้นที่มีความลาดชัน 5-12 เปอร์เซ็นต์  มีข้อจ ากัดปานกลางเรื่องความลาดชันและมีการกร่อนดิน
                   ปานกลาง มีความไม่ค่อยเหมาะสมบ้างในพื้นที่มีความลาดชัน 12-20 เปอร์เซ็นต์ ได้แก่ หน่วยแผนที่ Cp-slB/d 2g,E 1

                   Kc-clB/d 2g,E 1  Kc-clC/d 2g,E 2  Klt-clB/d 2c,E 2  Klt-clC/d 2c,E 2 Ntn-clB/d 3,E 1  Ntn-clC/d 3c,E 2  Pto-slC/d 3c,E 1
                   และ Pto-slD/d3c,E2 มีเนื้อที่ 2,099 ไร่ หรือร้อยละ 38.87 ของพื้นที่ด าเนินการ
                                     สภาพการใช้ประโยชน็ ที่ดินปัจจุบันส่วนใหญ่เป็นยางพารา ไม้ผลผสม รองมาพบ
                   ปาล์มน้ ามัน สับปะรด มันส าปะหลัง และพื้นที่รกร้าง ตามล าดับ พื้นที่นี้มีความเหมาะสมดีถึงปานกลางใน

                   การปลูกพืชไร่ มีข้อจ ากัดในเรื่องเป็นดินตื้น และในพื้นที่มีความลาดชัน 5-20 เปอร์เซ็นต์ มีปัญหาการ
                   กร่อนดินปานกลางร่วมด้วย จากการพิจารณาควรปรับเปลี่ยนชนิดพืชเป็นพืชไร่หรือพืชรากไม่ลึก เพื่อ
                   ไม่ให้มีข้อจ ากัดเรื่องเป็นดินตื้นในการปลูกพืช หากท าการปรับเปลี่ยนการปลูกพืชไร่แล้ว ในพื้นที่มีความลาด

                   ชัน 5-20 เปอร์เซ็นต์  จะยังคงมีข้อจ ากัดเรื่องเป็นพื้นที่ลูกคลื่นลอนลาดถึงลูกคลื่นลอนชันและมีการกร่อน
                   ดินปานกลาง แต่ก็เป็นข้อจ ากัดที่หากมีการอนุรักษ์ดินและน้ าเหมาะสมสามารถป้องกันข้อจ ากัดเรื่องการชะ
                   ล้างของพื้นที่ได้ จึงก าหนดให้พื้นที่นี้มีศักยภาพผลิตพืชไร่
                                       การก าหนดเป็นพื้นที่มีศักยภาพผลิตพืชไร่นั้น เสนอเป็นทางเลือกส าหรับการ
                   ปรับเปลี่ยนการปลูกพืช ในการลดพื้นที่จากการปลูกไม้ผล ไม้ยืนต้น ที่ได้ปลูกอยู่ในปัจจุบัน หรือเพิ่มพื้นที่

                   การปลูกสับปะรด มันส าปะหลัง รวมถึงปลูกพืชไร่ทางเลือกอย่างเช่น ข้าวโพด และเข้าใช้ประโยชน์ใน
                   พื้นที่รกร้าง จากการพิจารณาดังกล่าวเห็นควรจัดพื้นที่เพาะปลูกให้สับปะรดและมันส าปะหลังเป็นหลัก
                   โดยอาจสลับเพาะปลูกในบางปีที่ทิศทางตลาดพืชใดพืชหนึ่งราคาไม่ดี รองมาเป็นข้าวโพดหวาน ทั้งนี้ไม่

                   ควรปลูกพืชเพียงชนิดเดียวเพื่อให้มีความหลากหลายของผลผลิตและรายได้
                                     แนวทางการพัฒนา
                                          1) ควรใช้แนวทางของเกษตรอินทรีย์  ส่งเสริมการผลิตพืชปลอดสารพิษ  ลดการ
                   ใช้สารเคมี

                                         2)  ปรับปรุงบ ารุงดิน โดยการใช้ปุ๋ยคอก ปุ๋ยอินทรีย์ น้ าหมักชีวภาพ เพื่อลดต้นทุน
                   การผลิตและเพิ่มมูลค่าของผลผลิต รวมกับปุ๋ยเคมีตามค่าวิเคราะห์ดินให้สอดคล้องกับความต้องการของ
                   พืชในช่วงระยะเวลาที่เหมาะสม
                                         3)  มีมาตรการด้านอนุรักษ์ดินและน้ าที่เหมาะสม โดยปลูกพืชตามแนวระดับ ปลูก

                   หญ้าแฝกขวางความลาดเท เพื่อเป็นการป้องกันการชะล้าง สูญเสียหน้าดินในพื้นที่มีความลาดชัน
                                         4)  พัฒนาแห่งน้ าเพิ่มเติม และท าระบบการน าน้ าจากคลองชลประทานมาใช้ใน
                   พื้นที่เพาะปลูก
                                         5) ส าหรับสับปะรดควรรวมกลุ่มผู้ปลูกในแนวคิดแปลงใหญ่ที่ส่งเสริมตาม

                   นโยบายกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เนื่องจากแม้สับปะรดเป็นที่ต้องการของตลาดการบริโภคแต่ผลผลิต
   198   199   200   201   202   203   204   205   206   207   208