Page 18 - รายงานการสำรวจดินเขตพัฒนาที่ดินลุ่มน้ำคลองหวาย-คลองโพล้ลุ่มน้ำสาขาแม่น้ำประแสร์(รหัส 1805) ลุ่มน้ำหลักชายฝั่งทะเลตะวันออก(รหัส 18) พื้นที่ดำเนินการโครงการ บ้านคลองป่าไม้ หมู่ 6 บ้านเขาผักกูด หมู่ 7 ตำบลกระแสบน อำเภอแกลง จังหวัดระยอง
P. 18

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                         7




                   รายละเอียดของหนังสือลักษณะและสมบัติของชุดดินในภาคใต้และชายฝั่งทะเลตะวันออกของประเทศไทย

                   (ส านักส ารวจดินและวางแผนการใช้ที่ดิน, 2548)
                                 หน่วยแผนที่ดิน (soil mapping units) หมายถึง ชนิด หรือกลุ่มของดินที่เขียนขอบเขต
                   แสดงไว้ในแผนที่ดินนั้นๆ หน่วยแผนที่ดินจะมีชื่อซึ่งอาจจะเป็นชื่อทางการจ าแนกชนิดของดินตามระบบใด
                   ระบบหนึ่ง หรืออาจจะเป็นชื่อที่ใช้เฉพาะทางการส ารวจที่แสดงให้เห็นภาพพจน์ของสภาพธรรมชาติเชิง

                   ภูมิศาสตร์ของบริเวณนั้นๆ ที่มีความหมายเกี่ยวข้องกับดินพอที่จะน ามาแปลความหมายเพื่อใช้ประโยชน์ได้
                   (เอิบ, 2548) ประเภทของหน่วยแผนที่ หมายถึง หน่วยหรือชื่อที่แสดงลักษณะและสมบัติของขอบเขตที่
                   แสดงในแผนที่ โดยหน่วยของแผนที่แบ่งออกเป็น 4 ประเภท (ส่วนมาตรฐานการส ารวจจ าแนกดินและที่ดิน,
                   2551) ได้แก่

                                   1. หน่วยเดี่ยว เป็นหน่วยแผนที่ที่ประกอบด้วยหน่วยจ าแนกดินเดี่ยว หรือหน่วย
                   พื้นที่เบ็ดเตล็ด
                                   2. หน่วยสัมพัทธ์ เป็นหน่วยแผนที่ที่ภายในขอบเขตนั้นๆ มีดินตั้งแต่ 2 ชนิดขึ้นไปหรือ
                   ดินกับพื้นที่เบ็ดเตล็ด ซึ่งจะเกิดควบคู่กันเสมอ และมีความสัมพันธ์กันในทางสภาพพื้นที่ แต่เนื่องจาก

                   ข้อจ ากัดในเรื่องของมาตราส่วนแผนที่จึงไม่อาจแยกขอบเขตออกจากกันได้
                                   3. หน่วยเชิงซ้อน เป็นหน่วยแผนที่ที่ภายในขอบเขตนั้นๆ มีดินตั้งแต่ 2 ชนิดขึ้นไป
                   หรือดินกับพื้นที่เบ็ดเตล็ดเช่นเดียวกับหน่วยสัมพันธ์ แม้ว่ามาตราส่วนของแผนที่จะใหญ่ขึ้นก็ไม่สามารถ

                   แยกขอบเขตออกจากกันได้
                                   4. หน่วยศักย์เสมอ เป็นหน่วยแผนที่ที่ภายในขอบเขตนั้นๆ มีดินตั้งแต่ 2 ดินขึ้นไป
                   แต่ดินทั้งหมดนั้นไม่มีความแตกต่างในด้านของการน าไปใช้ประโยชน์และการจัดการดิน จึงไม่มีความ
                   จ าเป็นที่จะต้องแยกขอบเขตออกจากกัน
                                 ชุดดิน เป็นหน่วยการจ าแนกดินระดับต่ าสุดในระบบการจ าแนกอนุกรมวิธานดิน (ส านักส ารวจดิน

                  และวางแผนการใช้, 2548) ที่ใช้ลักษณะและสมบัติทางสัณฐาน กายภาพ เคมี แร่ และจุลสัณฐาน ที่มีความส าคัญต่อ
                  การใช้ประโยชน์ที่ดินและการจัดการดิน เช่น การจัดเรียงตัวของชั้นดิน สีดิน เนื้อดิน โครงสร้างดิน ความเป็นกรด
                  เป็นด่างของดิน แร่ในดินและความชื้นในดิน เป็นต้น ซึ่งจะต้องอาศัยการศึกษาดินในสนามและการวิเคราะห์

                  ดินจากห้องปฏิบัติการเพื่อการจ าแนกดินด้วย ปัจจุบันได้มีการศึกษาและตั้งชื่อชุดดินของประเทศไทยแล้ว
                  กว่า 300 ชุดดิน โดยใช้ชื่อสถานที่ที่พบดินนั้นเป็นครั้งแรกเป็นชื่อชุดดิน (กรมพัฒนาที่ดิน, 2553)
                                 ดินคล้าย หมายถึง เป็นหน่วยแผนที่ดินในลักษณะเดียวกับชุดดิน แต่มีลักษณะเด่น
                   เฉพาะตัวที่แตกต่างและสามารถแยกออกจากชุดดินนั้นๆ ได้ตามระบบการจ าแนกดิน ซึ่งเป็นดินที่พบใหม่

                   และได้แสดงไว้เป็นหน่วยแผนที่ดินในมาตราส่วนที่เหมาะสม ระดับการแปลความหมายข้อมูลและการใช้
                   ประโยชน์ที่ดินในการส ารวจดินระดับต่างๆ ที่แตกต่างกัน มีเนื้อที่รวมกันมากกว่า 5,000 ไร่ (8 ตารางกิโลเมตร)
                   การเรียกชื่อควรใช้ชื่อที่มีลักษณะใกล้เคียงกับชุดดินนั้นมากที่สุด (ส่วนมาตรฐานการส ารวจจ าแนกดินและที่ดิน,
                   2551)

                                 กลุ่มชุดดิน (groups of soil series) เป็นหน่วยของแผนที่ดินที่กรมพัฒนาที่ดินได้จัด
                   กลุ่มของชุดดินขึ้นมา โดยใช้หลักเกณฑ์ในการรวมชุดดินที่มีลักษณะ สมบัติและศักยภาพในการปลูก
                   รวมถึงการจัดการดินที่คล้ายคลึงกัน มาไว้เป็นกลุ่มเดียวกัน จากกว่า 300 ชุดดิน ได้จัดจ าแนกใหม่เป็น 62
                   กลุ่มชุดดิน โดยแบ่งตามสภาพที่พบออกเป็นกลุ่มใหญ่ๆ ได้ 2 กลุ่ม ได้แก่ (กรมพัฒนาที่ดิน, 2553)
   13   14   15   16   17   18   19   20   21   22   23