Page 22 - รายงานการสำรวจดินเขตพัฒนาที่ดินลุ่มน้ำคลองหวาย-คลองโพล้ลุ่มน้ำสาขาแม่น้ำประแสร์(รหัส 1805) ลุ่มน้ำหลักชายฝั่งทะเลตะวันออก(รหัส 18) พื้นที่ดำเนินการโครงการ บ้านคลองป่าไม้ หมู่ 6 บ้านเขาผักกูด หมู่ 7 ตำบลกระแสบน อำเภอแกลง จังหวัดระยอง
P. 22

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                        11






                                       3. ความลึกของดิน (Soil depth)
                                          ความลึกของดิน หมายถึง ความหนาของดินจากชั้นผิวดินถึงชั้นที่มีสมบัติ

                   ขัดขวางต่อการเจริญเติบโตหรือการชอนไชของรากพืช ถึงแม้ว่าชั้นนี้จะไม่ท าให้รากพืชหยุดการเจริญเติบโต
                   เลยทีเดียว แต่ก็ท าให้รากพืชชะงักงัน ไม่สามารถเจริญเติบโตได้ตามปกติ ชั้นต่างๆ ดังกล่าว ได้แก่ แนวสัมผัส
                   ของชั้นหินพื้นแข็ง (lithic contact) แนวสัมผัสของชั้นหินพื้นอ่อน (paralithic contact) ชั้นเชื่อมแข็งของ
                   อินทรียวัตถุและอะลูมินัมหรือชั้นดานอินทรีย์ (cemented spodic horizon) แนวสัมผัสของชั้นที่เชื่อมตัวกัน

                   แข็งของเหล็ก (petroferric contact) ชั้นดาน และชั้นที่เชื่อมตัวแข็งอื่นๆ รวมถึงชั้นเศษหิน กรวด ลูกรัง และ
                   สารมวลพอกต่างๆ ที่มีขนาด 2 มิลลิเมตรหรือโตกว่า (coarse fragment) ในปริมาณมากกว่าร้อยละ 35
                   โดยปริมาตร ชั้นความลึกของดินแบ่งออกได้ 5 ชั้น ดังนี้


                       สัญลักษณ์         ความลึก (เซนติเมตร)                     ค าอธิบาย

                          d1                     0-25             ตื้นมาก (very shallow: vsh)

                          d2                    25-50             ตื้น (shallow: sh)
                          d3                   50-100             ลึกปานกลาง (moderately deep:md)
                          d4                   100-150            ลึก (deep: d)

                          d5                    > 150             ลึกมาก (very deep: vd)


                                       4. ประเภทของการกร่อน (phases of Soil Erosion)
                                       การกร่อนของดิน เป็นกระบวนการแตกกระจาย (detachment) และการ

                   เคลื่อนย้าย (movement) ของวัสดุ ซึ่งอาจเกิดขึ้นตามธรรมชาติหรือโดยมีการกระท าของมนุษย์เป็น
                   ตัวเร่ง ตัวการที่ท าให้เกิดการกร่อนของดินตามธรรมชาติ ได้แก่ น้ า (water) ลม (wind) การกร่อนของดิน
                   แบ่งออกเป็น 2 ชนิด ได้แก่
                                            4.1 การกร่อนโดยน้ า (water erosion) เป็นการสูญเสียวัสดุดินจากการ
                   พัดพาของน้ า  ส่วนหนึ่งของกระบวนการคือการแตกกระจายของวัสดุดินโดยเม็ดฝนที่ตกลงมากระทบ

                   วัสดุดินจะแขวนลอยอยู่ในน้ าที่ไหลบ่าและถูกพัดพาไป แบ่งออกได้เป็น 4 แบบ ได้แก่ การกร่อนแบบแผ่น
                   (sheet erosion) การกร่อนแบบริ้ว (rill erosion) การกร่อนแบบร่อง (gully erosion) และการกร่อน
                   แบบท่อ (tunnel erosion)

                                            4.2  การกร่อนโดยลม (wind erosion) มักพบบริเวณที่มีฝนน้อย โดยเฉพาะ
                   ในช่วงแห้งแล้ง ความรุนแรงจะขึ้นกับลักษณะและความเร็วของกระแสลม ความมากน้อยของพืชพรรณที่
                   ปกคลุมดิน โดยทั่วไปจะไม่มีความสัมพันธ์กับความลาดของพื้นที่
                                 การประเมินการสูญเสียดินโดยการกร่อนในสนาม จะใช้การคาดคะเนจากการสูญเสียชั้น

                   ดินบน ซึ่งได้แก่ ชั้นดิน A ซึ่งเป็นชั้นผิวดินที่ถูกรบกวนหรือชั้นดินอนินทรีย์ที่คลุกเคล้าด้วยอินทรียวัตถุ และ
                   ชั้นดิน E ซึ่งเป็นชั้นที่อนุภาคดินเหนียวและแร่ธาตุต่างๆ ถูกชะล้างลงไปสะสมในชั้นดินล่างๆ ความรุนแรง
                   ของการกร่อนแบ่งออกได้เป็น 5 ชั้น ดังนี้
   17   18   19   20   21   22   23   24   25   26   27