Page 16 - รายงานการสำรวจดินเขตพัฒนาที่ดินลุ่มน้ำคลองหวาย-คลองโพล้ลุ่มน้ำสาขาแม่น้ำประแสร์(รหัส 1805) ลุ่มน้ำหลักชายฝั่งทะเลตะวันออก(รหัส 18) พื้นที่ดำเนินการโครงการ บ้านคลองป่าไม้ หมู่ 6 บ้านเขาผักกูด หมู่ 7 ตำบลกระแสบน อำเภอแกลง จังหวัดระยอง
P. 16

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                         5




                                 เขตพัฒนาที่ดิน (zone of land development) หมายถึง พื้นที่ลุ่มน้ าย่อยหรือพื้นที่

                   ด าเนินการที่ได้รับการคัดเลือกให้พัฒนา โดยการบูรณาการกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง เช่น การส ารวจและวาง
                   แผนการใช้ที่ดิน การจัดท าระบบอนุรักษ์ดินและน้ า การพัฒนาแหล่งน้ า การปรับปรุงบ ารุงดินที่มีปัญหา
                   ต่างๆ อาทิเช่น ดินเปรี้ยว ดินเค็ม ดินกรด ฯลฯ รวมทั้งการฟื้นฟูดินเสื่อมโทรมในพื้นที่ที่ดินขาดอินทรียวัตถุ
                   หรือตามสภาพปัญหาของพื้นที่นั้นๆ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแก้ไขปัญหาต่างๆ ให้ใช้ประโยชน์ที่ดินได้อย่าง

                   มีประสิทธิภาพและยั่งยืน ตลอดจนเป็นการสาธิตให้เกษตรกรและประชาชนทั่วไปได้เห็นถึงประโยชน์
                   ของการพัฒนาที่ดิน การอนุรักษ์ดินและน้ า การฟื้นฟูและปรับปรุงบ ารุงดิน ฯลฯ (กรมพัฒนาที่ดิน, 2551ข)
                                 พื นที่ด าเนินการ หมายถึง พื้นที่ที่คัดเลือกในลุ่มน้ า เพื่อบูรณาการกิจกรรมต่างๆ ที่
                   เกี่ยวข้องกับการพัฒนาที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (กรมพัฒนาที่ดิน, 2551ข)


                            3.3 ธรณีวิทยา (geology)
                                 หมายถึง วิทยาศาสตร์แขนงหนึ่งซึ่งเกี่ยวข้องกับประวัติของโลก สสารที่เป็นองค์ประกอบ

                   ของโลก และสิ่งมีชีวิตบนพื้นโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่ปรากฏร่องรอยอยู่ในหินต่างๆ  (ราชบัณฑิตยสถาน,
                   2544)
                                 สาขาธรณีวิทยาที่ว่าด้วยพื้นผิวของโลก ซึ่งประมวลเอาทั้งรูปร่างธรรมชาติ กระบวนการ
                   ก าเนิด การปรับตัวของพื้นผิวโลก ตลอดจนความเปลี่ยนแปลงที่ประสบในปัจจุบัน (ราชบัณฑิตยสถาน,

                   2544) จะหมายถึงธรณีสัณฐานวิทยา (geomorphology)

                            3.4 ดิน การส ารวจดินและจ าแนกดิน

                                 การให้ค านิยามของค าว่าดิน (คณาจารย์ภาควิชาปฐพีวิทยา, 2544) โดยทั่วไป
                   การศึกษาในเรื่องดิน แบ่งออกได้เป็น 2 แนวทางหลักด้วยกัน คือ
                                    1. ปฐพีวิทยาธรรมชาติ (pedology) แนวทางหลักนี้ ศึกษาเกี่ยวกับการก าเนิดดิน การ

                   จ าแนกและการตรวจลักษณะดิน โดยเน้นดินในสภาพเทหวัตถุธรรมชาติมากกว่าการใช้ดินเพื่อการปลูกพืช
                   ความรู้ในแนวทางการศึกษาเช่นนี้ จะเกิดประโยชน์โดยตรงต่อวิศวกรมากกว่าเกษตรกร เป็นต้น ดังนั้นใน
                   แนวทางเช่นนี้ ดินจึงหมายถึง เทหวัตถุธรรมชาติ (natural body) ที่ปกคลุมผิวโลกอยู่บางๆ เกิดขึ้นจาก
                   ผลของการแปรสภาพหรือผุพังของหินและแร่ และอินทรียวัตถุผสมคลุกเคล้า
                                    2. ปฐพีวิทยาสัมพันธ์ (edaphology) แนวทางหลักนี้ศึกษาถึงความสัมพันธ์ระหว่าง

                   ดินกับสิ่งมีชีวิตโดยเฉพาะพืช การใช้ที่ดินเพื่อการปลูกพืช รวมทั้งสมบัติของดินที่มีผลต่อการให้ผลผลิต
                   ของพืช  โดยแนวทางเช่นนี้ ความหมายหรือค าจ ากัดความของดินคือ เทหวัตถุที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ
                   รวมกันขึ้นเป็นชั้น (profile) จากส่วนผสมของแร่ธาตุต่างๆ ที่สลายตัวเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อยกับอินทรียวัตถุที่

                   เปื่อยผุพัง อยู่รวมกันเป็นชั้นบางๆ ห่อหุ้มผิวโลก และเมื่อมีอากาศและน้ าเป็นปริมาณที่เหมาะสมแล้วจะ
                   ช่วยค้ าจุนพร้อมทั้งช่วยในการยังชีพและการเจริญเติบโตของพืช
                                 การส ารวจดิน (Soil Survey) เป็นวิทยาศาสตร์สาขาหนึ่งที่มีเอกลักษณ์ของตัวเอง ที่ขึ้นอยู่
                   กับดินและการใช้วิทยาศาสตร์ด้านอื่นๆ ศึกษาให้เกิดความเข้าใจเกี่ยวกับดิน เพื่อที่จะน าดินมาใช้

                   ให้เป็นประโยชน์อย่างมีประสิทธิภาพ เป็นวิทยาศาสตร์ที่เกิดขึ้นเนื่องจากความต้องการของมนุษย์ที่จะเรียนรู้
                   ถึงสิ่งที่ตนเองพบเห็น และได้ใช้ประโยชน์ในการด ารงชีวิต (เอิบ, 2548)
                                 การส ารวจดิน คือ การใช้วิธีการศึกษาทางสนาม (field method) และข้อสนเทศ (information)
                   จากแหล่งต่างๆ มาประมวลเข้าด้วยกันเพื่อแจกแจง (identify) ให้ค านิยาม (define) และจ าแนก (classify)
   11   12   13   14   15   16   17   18   19   20   21