Page 49 - การประเมินคุณภาพที่ดินด้านกายภาพสำหรับการวางแผนการใช้ที่ดินลุ่มน้ำสาขาคลองพระสทึง
P. 49

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                           39





                        3.3.3 วิธีการประเมินคุณภาพที่ดิน

                            บัณฑิต และค ารณ (2542) กล่าวว่า ในการประเมินคุณภาพที่ดิน จะประเมินออกมาว่า

                  หน่วยที่ดินนั้นๆเหมาะสมกับประเภทการใช้ประโยชน์ที่ดินรูปแบบใดบ้าง พืชชนิดเดียวกันแต่มี
                  สภาพการผลิต และการจัดการที่แตกต่างกันจะถือเป็นประเภทการใช้ประโยชน์ที่ดินคนละประเภท

                  เนื่องจากคุณภาพที่ดินเป็นนามธรรมไม่สามารถวัดออกเป็นค่า (value) เชิงปริมาตรได้ในการจะพูดว่า

                  ดี เลว ข้อจ ากัด ฯลฯ ว่ามีมากน้อยรุนแรงอย่างไร จ าเป็นต้องมีการวัดค่า เช่น แผ่นดินไหววัดจากค่าริค

                  เตอร์หรือความเป็นกรดเป็นด่างวัดจากค่าพีเอช ส าหรับคุณภาพดิน ค่าเหล่านี้วัดได้จากองค์ประกอบ
                  ของคุณภาพที่ดิน คือ คุณลักษณะที่ดิน (Land  characteristic)  ในบางกรณีจะมีเด่นเพียงตัวเดียวหรือ

                  บางกรณีอาจจะมีหลายตัว แต่ละตัวก็มีหน่วยวัดต่างกัน นี่ก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่คุณภาพที่ดินไม่มี

                  หน่วยวัดเพราะเป็นการผสมผสานส่งเสริม-ขัดแย้ง (interact)  ในตัวของมันเองซับช้อน และผันแปร

                  ตามสภาพแวดล้อมด้วย  เนื่องจากคุณลักษณะที่ดินมีหลายตัวที่ใช้เป็นตัวแทนคุณภาพที่ดินเดียวกัน
                  ดังนั้นจึงมีการคาดคะเน (estimation)  ผลจากการร่วมกันของปัจจัย (diagnosticfactors)  จึงมีวิธีในที่นี้

                  จะยกมาเป็นตัวอย่าง 4 วิธี

                          1)  การประเมินจะมีคุณลักษณะเพียงตัวเดียว (Single land characteristic)

                            จะเลือกปัจจัยที่มีระดับความส าคัญที่สุดเพียงตัวเดียวมาประเมิน

                            ข้อดี    ง่าย
                            ข้อเสีย   (1) ไม่ใช่ตัวแทนของคุณภาพที่ดินที่แท้จริง

                                  (2) ถ้าข้อมูลมีความเชื่อถือต่ ากว่าจะให้ผลลัพธ์จากการประเมินผิดพลาดมาก

                                  (3) อาจมีปัจจัยอื่นที่มีอิทธิพลต่อการเจริญเติบโตของพืชแต่ไม่ได้น ามาใช้ใน
                                        การประเมิน

                          2)  การประเมินจากกลุ่มคุณลักษณะที่ดินมีข้อจ ากัดรุนแรงที่สุด

                            (Most limiting group of land characteristics)

                            ข้อดี    มีความสัมพันธ์กับการเจริญเติบโตและผลผลิตโดยตรง
                            ข้อเสีย   (1) การประเมินเริ่มซับซ้อนมากขึ้น

                                  (2) ความรุนแรงของข้อจ ากัดอาจมีผลร่วมจากปัจจัยอื่นที่มิได้น าสู่การประเมิน



                          3)  การประเมินจากการค านวณทางคณิตศาสตร์ของคุณลักษณะที่ดิน
                            (Empirical combination of land characteristics)

                            ข้อดี    (1) คุณลักษณะที่ดินทุกตัวมีโอกาสช่วยในการประเมิน
   44   45   46   47   48   49   50   51   52   53   54