Page 44 - การประเมินคุณภาพที่ดินด้านกายภาพสำหรับการวางแผนการใช้ที่ดินลุ่มน้ำสาขาคลองพระสทึง
P. 44

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                           34






                                                         บทที่ 3

                                                    การตรวจเอกสาร



                  3.1  ค าจ ากัดความ

                        3.1.1.ดิน

                            ดิน (Soil)  ตามความหมายทางปฐพีวิทยา (Soil  science)  หมายถึง เทหวัตถุธรรมชาติ

                  (Natural body) ที่ปกคลุมพื้นผิวโลก อยู่เป็นชั้นบางๆ เกิดจากการแปรสภาพหรือผุพังสลายตัวของหิน
                  และแร่ ผสมคลุกเคล้ารวมกับอินทรียวัตถุที่เกิดจากการเน่าเปื่อยผุพังของเศษซากพืชซากสัตว์ที่ทับถม

                  กันอยู่บนดิน เกิดการเกาะตัวกันเป็นเม็ดดิน (Soil  aggrgate)  และสะสมอยู่เป็นชั้นๆ (Profile)  โดยมี

                  ลักษณะภูมิอากาศ สภาพภูมิประเทศ สิ่งมีชีวิต และระยะเวลาเป็นปัจจัยร่วมที่ควบคุมและก าหนดให้

                  ดินในแต่ละสถานที่มีลักษณะเฉพาะเจาะจงและแตกต่างกันไป (บรรเจิด, 2523)
                            กรมพัฒนาที่ดิน (2551) ให้ความหมายของ “ดิน” ตามพระราชบัญญัติพัฒนาที่ดิน พ.ศ.

                  2551 หมายความรวมถึงหิน กรวด ทราย แร่ธาตุ น้ า และอินทรียวัตถุต่างๆที่เจือปนกับเนื้อดินด้วย ด้าน

                  ความหมายของดินในระบบ Soil  Taxonomy  นั้น ส านักส ารวจดินและวิจัยทรัพยากรดิน (2557)
                  หมายถึง เทหวัตถุธรรมชาติที่ประกอบด้วยของแข็ง ของเหลว และก๊าซที่เกิดปกคลุมพื้นผิวโลก โดยมี

                  ลักษณะส าคัญที่ปรากฎเห็นเด่นชัด ได้แก่ ชั้นดินที่เป็นผลมาจากกระบวนการสร้างดิน ได้แก่ การ

                  เพิ่มเติม การสูญเสีย การเคลื่อนย้าย และการแปรสภาพ ยิ่งไปกว่านั้นดินดังกล่าวยังเป็นวัตถุส าคัญใน

                  การหยั่งรากของพืช เพื่อให้พืชเจริญงอกงามผลิดอกออกผล อันเป็นส่วนหนึ่งที่ส าคัญของระบบ
                  แวดล้อมตามธรรมชาติที่จะขาดเสียมิได้ นอกจากนี้ ดินตามพจนานุกรมปฐพีวิทยา (ภาควิชาปฐพีวิทยา.

                  2551)  หมายถึง 2 ความหมาย คือ

                          1. อินทรียวัตถุและอนินทรียวัตถุที่ไม่จับตัวแข็งเป็นหิน ซึ่งปกคลุมพื้นผิวโลกเป็นตัวกลาง
                  ธรรมชาติส าหรับการเจริญเติบโตของพืช

                          2. อินทรียวัตถุและอนินทรียวัตถุที่ไม่จับตัวแข็งเป็นหิน ซึ่งปกคลุมพื้นผิวโลกเป็นผลมาจาก

                  ปัจจัยด้านการก าเนิดและสภาพแวดล้อม ได้แก่ ภูมิประเทศ สิ่งมีชีวิต (พืชและสัตว์) สภาพภูมิประเทศ
                  วัตถุต้นก าเนิดและระยะเวลา ความเหมาะสมต่อการผลิตพืชของดิน แตกต่างกัน เนื่องมาจากลักษณะ

                  และสมบัติทางกายภาพ เคมีชีวภาพ และสัณฐานวิทยา
   39   40   41   42   43   44   45   46   47   48   49