Page 47 - การประเมินคุณภาพที่ดินด้านกายภาพสำหรับการวางแผนการใช้ที่ดินลุ่มน้ำสาขาคลองพระสทึง
P. 47

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                           37





                          FAO (1976) ให้ความหมายการประเมินคุณภาพที่ดินว่า เป็นกระบวนการในการประเมินผล

                  ตอบสนองของที่ดินในการใช้ประโยชน์อย่างเฉพาะเจาะจง การประเมินจะเกี่ยวข้องกับการวิเคราะห์

                  ตีความข้อมูลทางด้านสภาพภูมิประเทศ ดิน พืชพันธุ์ ภูมิอากาศ และข้อมูลด้านอื่นๆที่เกี่ยวข้อง เพื่อมา
                  ท าการแยกแยะและเปรียบเทียบกับชนิดของการใช้ที่ดิน เพื่อท าให้ทราบว่าแต่ละชนิดการใช้ที่ดินจะ

                  สามารถตอบสนองตามวัตถุประสงค์ที่ก าหนดไว้ได้มากน้อยเพียงใด

                          Mcrac and Burnham  (1981) เสนอว่าที่ดินสามารถประเมินทางตรงได้ โดยการสังเกตจาก

                  การเจริญเติบโตของพืช ผลลัพธ์ที่ได้ต้องมีความเหมาะสมในพื้นที่ที่เฉพาะเจาะจงและการใช้ที่ดิน
                  เพียงอย่างเดียว โดยต้องค านึงถึงทรัพยากรธรรมชาติ การประเมินทางตรงผู้ประเมินต้องรวบรวม

                  ข้อมูลทรัพยากรต่างๆ ข้อมูลปัจจุบันเพียงอย่างเดียวไม่เพียงพอ ซึ่งการประเมินที่ดินส่วนมากประเมิน

                  ทางอ้อม โดยมีการประมาณค่าของดินและอิทธิพลของพื้นที่อย่างเฉพาะเจาะจงจึงจะประสบ

                  ความส าเร็จ การใช้ที่ดินอย่างมีหลักการและคุณภาพของที่ดิน จะสามารถอนุมานจากการสังเกตจาก
                  คุณสมบัติต่างๆ

                          ค ารณ (2544) กล่าวว่า ในการประเมินคุณภาพที่ดินจะถือว่าที่ดินเป็นทรัพยากร หรือเป็น

                  อุปทาน (Supply) ขณะที่การใช้ที่ดินเป็นอุปสงค์ (Demand)  ที่ดินแต่ละแห่งจะมีคุณภาพที่ดิน (Land
                  quality)  จ าเพาะตามคุณลักษณะที่ดิน (Land  characteristics)  ซึ่งประกอบด้วยคุณลักษณะของ

                  ภูมิอากาศ (Climatic factor) และคุณลักษณะของดิน (Soil characteristics) คุณภาพที่ดินที่ก าหนดขึ้นนี้

                  ต้องมีอิทธิพลต่อการเจริญเติมโต และระดับของผลผลิตพืช เพื่อที่จะได้มาตรวจวัดว่าสามารถจะปลูก
                  พืชอะไรได้บ้าง และมีความเหมาะสมหรือข้อจ ากัดด้านใดบ้าง มากน้องเพียงใด เพราะพืชแต่ละชนิด

                  ต้องการปัจจัยในการเจริญเติบโต (Land-use requirement) แตกต่างกัน

                          FAO  (1976)  รายงานว่าการประเมินคุณภาพที่ดินในประเทศต่างๆ ได้มีมาก่อนในปี ค.ศ.
                  1970 และแต่ละประเทศก็จะมีระบบเป็นของตนเองท าให้เกิดปัญหาในการแลกเปลี่ยนข้อมูลความรู้แก่

                  กันและกัน องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประปาชาติ (FAO) จึงได้ท าการก าหนดมาตรฐาน

                  การประเมินให้เป็นหลักสากลขึ้นโดยเชิญผู้เชี่ยวชาญ ทั่วโลกมาประชุมตกลงกันในปี ค.ศ. 1973

                  จากนั้นได้มีการก าหนดกรอบแนวทางและพิมพ์เป็นเอกสารขึ้นได้ส าเร็จในปี ค.ศ. 1975
                          ส าหรับประเทศไทยกรมพัฒนาที่ดิน ได้เป็นผู้น าระบบการประเมินคุณภาพที่ดินตาม

                  หลักการ FAO  ดังกล่าวมาใช้อย่างเป็นทางการใน พ.ศ. 2528 อาจกล่าวได้ว่าเป็นหน่วยงานราชการ

                  หน่วยแรก โดยน ามาใช้วางแผนการใช้ที่ดินระดับจังหวัด โดยเริ่มที่จังหวัดนราธิวาสเป็นจังหวัดแรก
                  จากนั้นน ามาประยุกต์ใช้กับงานด้านต่างๆของกรม และใช้ระบบดังกล่าวต่อมาจนถึงปัจจุบัน
   42   43   44   45   46   47   48   49   50   51   52