Page 54 - การประเมินคุณภาพที่ดินด้านกายภาพสำหรับการวางแผนการใช้ที่ดินลุ่มน้ำสาขาคลองพระสทึง
P. 54

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                           44





                             ปริมาณน้ าฝนที่ตกลงมาในแต่ละพื้นที่ จะมีส่วนหนึ่งซึมซาบลงไปในดินสู่เบื้องล่าง

                  เมื่อดินอิ่มตัวด้วยน้ าแล้วส่วนที่เหลือจะไหล่บ่าออกไปจากพื้นที่ ปริมาณน้ าฝนที่เหลืออยู่ในดินซึ่งพืช

                  สามารถน าไปใช้เป็นประโยชน์ได้ เรียกว่าฝนใช้การ( effective  rainfall)  จากรายงานของ
                  KudReservior Project ได้แสดงวิธีประเมินค่า Effective Rainfall จากปริมาณน้ าฝนที่ตกลงมาในแต่ละ

                  เดือนดังนี้

                                จ านวนน้ าฝนรายเดือน (มม.)          ฝนใช้การ (%)

                                    <10                             0
                                    11-100                          80

                                    101-200                         70

                                    201-250                         60

                                    251-300                         55
                                    >300                              50

                                  ค่าของ Effective Rainfall ที่ค านวณหาได้ในช่วงฤดูปลูกพืช จะมีค่าใกล้เคียง

                  กับ water in growing period



                        4)  ความเป็นประโยชน์ของออกซิเจนต่อรากพืช (Oxygen availability)

                            คุณลักษณะที่ดินที่เป็นตัวแทนได้แก่ สภาพการระบายน้ าของดิน ทั้งนี้เพราะพืชโดยทั่วๆ

                  ไป รากพืชต้องการออกชิเจนในขบวนการหายใจ ดังนั้นเมื่อพิจารณาถึงปัจจัยของดินที่มีสภาพการ

                  ระบายน้ าดี จะมีการถ่ายเทอากาศระหว่างเหนือผิวดินกับภายในดินได้ดี ส่วนในดินที่มีสภาพการ
                  ระบายน้ าเลว การถ่ายเทอากาศเป็นไปได้น้อย ท าให้ปริมาณก๊าชออกชิเจนในดินที่ถูกรากพืชดูดไปมี

                  ปริมาณลดลงในขณะที่ก๊าชคาร์บอนไดออกไซด์ในดินที่ได้จากขบวนการหายใจเพิ่มขึ้น ซึ่งจะมี

                  ผลกระทบกระเทือนต่อการเจริญเติบโตของรากพืชและอาจตายได้ในภาวะที่รากพืชขาดก๊าชออกชิเจน

                  อย่างรุนแรงและเป็นเวลานานพอ
                            ส าหรับพืชไร่และไม้ผลไม่สามารถเจริญเติบโตได้ในสภาพที่มีการแช่ขังของน้ าเป็น

                  เวลานานตั้งแต่ 5  –  14 วันขึ้นไป ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชนิดพืช ในสภาพน้ าแช่ขังปริมาณออกชิเจนในดินมี

                  น้อยมากหรือไม่มี รากพืชจะขาดก๊าชออกชิเจนอย่างรุนแรงและถ้าเป็นเวลานานพอพืชจะตายได้
                            ส าหรับข้าวชอบสภาพที่มีการแช่ขังของน้ าเป็นระยะเวลานาน ต้องการดินที่มีการระบาย

                  น้ าเลว ทั้งนี้เพราะข้าวมีอวัยวะพิเศษที่สามารถดูดออกชิเจนจากน้ าที่แช่ขัง จึงท าให้สามารถ

                  เจริญเติบโตได้ดี
   49   50   51   52   53   54   55   56   57   58   59