Page 50 - การประเมินคุณภาพที่ดินด้านกายภาพสำหรับการวางแผนการใช้ที่ดินลุ่มน้ำสาขาคลองพระสทึง
P. 50

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                           40





                                  (2) ค่าที่ได้จากการประเมินสามารถแสดงความสัมพันธ์เชิงศักยภาพการใช้

                                    ประโยชน์ที่ดิน

                            ข้อเสีย   (1) ผลจากการค านวณทางคณิตศาสตร์ไม่ใช่ตัวเลขที่ชี้บ่งถึงผลผลิตโดยตรง
                                  (2) ค่าวิกฤต (critical  value)  และจุดเฝือ (surplus)  จะมีความหมายเหมือน

                                    ตัวเลขธรรมดา ท าให้ผลผลิตผิดพลาด

                                  (3) การค านวณยุ่งยากมากขึ้น

                          4)  การประเมินโดยแบบจ าลอง (Modelling)
                            ข้อดี    (1) ผลจากการประเมินจะใกล้เคียงกับสภาพความจริงโดยธรรมชาติมากยิ่งขึ้น

                                  (2) ข้อมูลหลายๆด้านสามารถน ามาสู่ขบวนการประเมิน

                                  (3) ค่าวิกฤต (critical value) และจุดเฝือ (surplus) จะเป็นไปตามธรรมชาติ

                                  (4) สะดวก รวดเร็ว และสามารถพัฒนาให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นโดยอาศัย
                                    ระบบสมองกล

                            ข้อเสีย   (1) การสร้างแบบจ าลอง (modelling)  ใช้ข้อมูลมากและท าได้ยากต้องใช้เวลา

                                    และผู้เชี่ยวชาญหลายด้าน
                                  (2) ข้อมูลที่น ามาใช้ในแบบจ าลองจะต้องมีรูปแบบเท่าที่ก าหนดไว้เท่านั้น

                                    จะต้องมีการเปลี่ยน data เป็น information ก่อนทุกๆขั้นตอน

                                  (3) ข้อก าหนดของอุปกรณ์เครื่องสมองกลยังขาดแคลนในระบบราชการและ
                                    ผู้ใช้จ าเป็นต้องมีความรู้ด้านคอมพิวเตอร์ ดิน พืชเศรษฐกิจมากพอที่จะ

                                    ตรวจสอบความถูกต้องของผลลัพธ์ได้


                  3.4  คุณภาพที่ดิน (Land Quality: LQ)

                        คุณภาพที่ดินคือ คุณสมบัติของที่ดินที่มีอิทธิพลต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของพืชคุณภาพ
                  ที่ดินอาจประกอบด้วยคุณลักษณะที่ดิน (Land characteristic) ตัวเดียวหรือหลายตัวก็ได้ เช่น ความเป็น

                  ประโยชน์ของออกชิเจนต่อรากพืช (Oxygen  availability  to  roots)  เป็นคุณภาพที่ดิน ซึ่งมีผลมาจาก

                  คุณลักษณะของที่ดินหลายตัว เช่น ชั้นการระบายน้ าของดิน (Soil drainage class ) ความลึกของระดับ
                  น้ าใต้ดิน (depth of watertable ) ระยะเวลาของน้ าท่วมขัง (period of waterlogging) เป็นต้น จะเห็นว่า

                  คุณภาพที่ดินนั้นในแต่ละสิ่งแวดล้อม คุณลักษณะที่ดินมีอิทธิพลต่อการเจริญเติบโตของพืช ความ

                  รุนแรงอาจไม่เท่ากันหรือคนละตัว การประเมินคุณภาพที่ดินจึงจ าเป็นต้อง “ชั่งน้ าหนัก”  ว่า

                  สถานการณ์ใดควรจะใช้คุณลักษณะที่ดินใดเป็นตัวน า ซึ่งจะกล่าวในรายละเอียดต่อไปนี้ คุณภาพที่ดิน
                  ที่น ามาประเมินส าหรับการปลูกพืชในระบบของ FAO  Framework  ได้ก าหนดไว้ทั้งหมด 25 ชนิด
   45   46   47   48   49   50   51   52   53   54   55