Page 45 - การประเมินคุณภาพที่ดินด้านกายภาพสำหรับการวางแผนการใช้ที่ดินลุ่มน้ำสาขาคลองพระสทึง
P. 45

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                           35






                        3.1.2 ที่ดิน

                            ที่ดิน (Land) หมายถึง พื้นที่บริเวณหนึ่งบนผิวโลก มีขอบเขตและต าแหน่งที่ตั้งทาง
                  ภูมิศาสตร์ ประกอบด้วยลักษณะที่ส าคัญ คือ สภาพแวดล้อมทั้งทางกายภาพและชีวภาพซึ่งมีอิทธิพล

                  ต่อการใช้ประโยชน์ที่ดิน ดังนั้นที่ดินจึงไม่ได้หมายถึงดินเพียงอย่างเดียวแต่จะหมายรวมถึงลักษณะ

                  ภูมิสัณฐาน (Landforms) ภูมิอากาศ (Climate) อุกทกวิทยา (Hydrology) พืชพรรรณ (Vegetation) และ
                  สัตว์ (Fauna)  เป็นต้น จากค าจ ากัดความที่กล่าวมาจะเห็นได้ว่า “ที่ดิน”  และ  “ดิน” มีความหมาย

                  แตกต่างกัน “ที่ดิน” เป็นอสังหาริมทรัพย์อย่างหนึ่ง หรือเป็นพื้นที่บริเวรหนึ่งของผิวดลก ซึ่งมีการแบ่ง

                  อาณาเขตตามที่มนุษย์ก าหนดไว้ ที่ดินมีลักษณะเป็น 2 มิติ (Two  dimensions)  คือ กว้างกับยาว ส่วน
                  “ดิน”  เป็นเทหวัตถุที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติอย่างหนึ่ง ประกอบกันขึ้นเป็นส่วนหนึ่งของภูมิประ

                  เทสหรือของที่ดิน มีลักษณะเป็น 3 มิติ (Three  dimensions) คือ กว้าง ยาว ลึก ตามหลักปฐพีวิทยา

                  ธรรมชาติ (Pedology)  จึงจ าเป็นต้องศึกษาลักษณะของดิน ตามความลึกจากผิวดิน ลงไปข้างล่างด้วย

                  หรือที่เราเรียกว่าหน้าตัดของดิน (Soil  profile)  ดินในโลกมีมากมายหลายหมื่นชนิด ส่วนในประเทศ
                  ไทยมีชนิดของดินไม่ต่ ากว่า 300 ชุดดิน ดินแต่ละพื้นที่ล้วนมีลักษณะและสมบัติที่สามารถระบุได้ตาม

                  หลักวิทยาศาสตร์แตกต่างกันไป ดังนั้นที่ดินแปลงหนึ่งอาจจะประกอบด้วยดินเพียงชนิดเดียวหรือ

                  หลายชนิดก็ได้ (เฉลียว, 2530)
                            “ที่ดิน” ตามความหมายของพระราชบัญญัติพัฒนาที่ดิน พ.ศ.2551 หมายความว่า ที่ดิน

                  ตามประมวลกฎหมายที่ดิน (กรมพัฒนาที่ดิน. 2551) และความหมายตามพจนานุกรมปฐพีวิทยา

                  (ภาควิชาปฐพีวิทยา, 2551) ให้ความหมายของที่ดิน ว่าหมายถึง บริเวณที่เป็นของแข็งของพื้นผิวโลก

                  ซึ่งมีความส าคัญต่อกิจกรรมต่างๆของมนุษย์ บางครั้งหมายรวมถึงแหล่งน้ าที่เกิดอยู่ภายใต้พื้นที่นั้น
                  ด้วย ในทางเศรษฐศาสตร์ ถือว่าที่ดินเป็นปัจจัยส าคัญอย่างหนึ่งของการผลิตที่ได้มาจากธรรมชาติ

                  รวมทั้งทรัพยากรธรรมชาติต่างๆที่มีอยู่ในแหล่งก าเนิดนั้น เช่น เหมืองแร่ สัตว์ป่า ไม้เศรษฐกิจ ปลา

                  น้ า ถ่านหิน และความอุดมสมบูรณ์ของดิน
                        3.1.3 การใช้ที่ดิน

                            การใช้ที่ดิน (Land Use) หมายถึง การใช้ประโยชน์ที่ดินซึ่งเป็นกิจจกรรรมของมนุษย์ที่

                  กระท าต่อทารัพยากรที่ดิน เพื่อตอบสนองความต้องการท้งด้านวัตถุหรือจิตใจหรือทั้งสองอย่าง โดย

                  การเปลี่ยนแปลงลักษณะกายภาพบนพื้นที่ดินหรือปลูกสร้างสิ่งต่างๆ เช่น การท าเกษตรกรรม การท า

                  เหมืองแร่ การก่อสร้างอาคารที่อยู่อาศัย เป็นต้น (สมเจตน์, 2524)
   40   41   42   43   44   45   46   47   48   49   50