Page 54 - การไถกลบพืชปุ๋ยสดและตอซังข้าวร่วมกับการใช้น้ำหมักชีวภาพเพื่อเพิ่มผลผลิตในพื้นที่ศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีการพัฒนาที่ดิน ตำบลโนนกลาง อำเภอสำโรง จังหวัดอุบลราชธานี
P. 54

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                          45


                         เพื่อเพิ่มปริมาณอินทรียวัตถุและลดความเป็นกรดของดินในแปลงสวนผสม โดยหว่านเมล็ดพันธุ์พืชปุ๋ย
                  สด (ปอเทือง)  หว่านทั่วแปลง   ในอัตรา  5  กิโลกรัมต่อไร่  หลังจากออกดอกเกินร้อยละ 50 แล้วไถกลบ
                         จุดเรียนรู้ที่ 6 การปรับปรุงบ ารุงดินด้วยปุ๋ยหมักในแปลงผัก

                         1. ไถเตรียมดินด้วยการไถดะ 1 ครั้ง ตากดินทิ้งไว้ 7 วัน เพื่อก าจัดแมลงโรคและวัชพืช แล้วท าการไถ
                  พรวน 1 ครั้ง จะท าให้ดินมีเนื้อละเอียดร่วนซุยเหมาะแก่การปลูกพืชผัก
                         2. ยกร่องแปลงผัก สูงประมาณ 25-30 เซนติเมตร ระยะระหว่างร่อง 30-50 เซนติเมตร ขนาดแปลง
                  ผัก   กว้างประมาณ 1.5 เมตร จะช่วยในการระบายน้ าของดินดีขึ้น

                         3. หว่านปุ๋ยหมักอัตราประมาณ 4 ตันต่อไร่ ให้ทั่วแปลงผสมคลุกเคล้าให้เข้ากัน
                         4. ปลูกพืชผักและดูแลรักษา
                                  ประโยชน์ที่ได้จากปุ๋ยหมักในแปลงผัก

                         1. ปรับปรุงสมบัติทางกายภาพดิน ท าให้ดินร่วนซุย การระบายอากาศ และการอุ้มน้ าของดินดีขึ้น
                         2. เป็นแหล่งธาตุอาหารพืชทั้ง ธาตุอาหารหลัก ธาตุอาหารรอง  และจุลธาตุ
                         3. ดูดยึดและเป็นแหล่งเก็บธาตุอาหารในดินไม่ให้ถูกชะล้างสูญเสียไปได้ง่าย และปลดปล่อยออกมาให้
                  พืชใช้ประโยชน์ทีละน้อยตลอดฤดูปลูก
                         4. เพิ่มความต้านทานต่อการเปลี่ยนแปลงความเป็นกรดเป็นด่างของดิน

                         5. เพิ่มแหล่งอาหารของจุลินทรีย์ดิน ท าให้ปริมาณและกิจกรรมจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ในดินเพิ่มขึ้น
                         จุดเรียนรู้ที่ 7 การอนุรักษ์ดินและน้ าด้วยหญ้าแฝก
                         การปลูกหญ้าแฝกรอบสวนแปลงเรียนรู้เพื่อรักษาความชื้นในดินและเพื่อกั้นไม่ให้ปุ๋ยที่ใส่ลงไปถูกพัดพา

                  ไปกับน้ า  โดยปลูกหญ้าแฝกระยะทาง 500 เมตร ใช้หญ้าแฝกแบบรากเปลือย  จ านวน 10,000 กล้า ระยะ
                  ปลูกระหว่างต้นประมาณ  5 เซนติเมตร  ในระยะแรกดูแลปลูกซ่อมแซมให้แถวหญ้าแฝกเจริญเติบโตหนาแน่น
                  เมื่อน้ าไหลบ่ามา  ตะกอนดินที่ถูกพัดพามากับน้ าจะติดค้างอยู่กับแถวหญ้า



                                                        ผลการด าเนินงาน
                         การด าเนินงานภายในศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีการพัฒนาที่ดิน ต าบลโนนกลาง  อ าเภอส าโรง จังหวัด
                  อุบลราชธานี โดยใช้แนวทางการจัดการดินของกลุ่มวางแผนการใช้ที่ดิน จากการร่วมกันวิเคราะห์ปัญหา

                  เบื้องต้น พบว่า  ระดับความเป็นกรดเป็นด่างอยู่ในสภาพที่ไม่เหมาะสม  ดินมีความอุดมสมบูรณ์ต่ า เนื่องจากมี
                  ประมาณอินทรียวัตถุต่ าจึงแนะน าให้ผลิตปุ๋ยหมัก น้ าหมักชีวภาพ ปุ๋ยพืชสด และไถกลบตอซัง ดินมีการชะล้าง
                  พังทลายแนะน าการปลูกหญ้าแฝก พืชที่ปลูกผลผลิตตกต่ ามีโรคและแมลงรบกวน แนะน าให้ใช้สารเร่ง พด.7
                  เพื่อผลิตสารป้องกันก าจัดแมลงศัตรูพืช รวมทั้งเกษตรกรเจ้าของแปลงไม่ผลิตและใช้น้ าหมักชีวภาพ ท าให้มี

                  ค่าใช้จ่ายในการด าเนินการผลิตค่อนข้างสูง ส่วนใหญ่เป็นค่าปัจจัยการผลิต เช่น ปุ๋ยเคมี สารเคมีปราบวัชพืช
                  สารเคมีปราบแมลงศัตรูพืช และได้เก็บตัวอย่างดินมาวิเคราะห์ที่ระดับความลึก 0-30 เซนติเมตร ดังผลการ
                  ด าเนินการ   เป็นจุดเรียนรู้ทั้ง 7 จุด  ต่อไปนี้
   49   50   51   52   53   54   55   56   57   58   59