Page 55 - การไถกลบพืชปุ๋ยสดและตอซังข้าวร่วมกับการใช้น้ำหมักชีวภาพเพื่อเพิ่มผลผลิตในพื้นที่ศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีการพัฒนาที่ดิน ตำบลโนนกลาง อำเภอสำโรง จังหวัดอุบลราชธานี
P. 55

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                          46


                         จุดเรียนรู้ที่ 1  การไถกลบตอซังพืช จากการวิเคราะห์ผลการเปรียบเทียบผลผลิตข้าว ในแปลงที่มีการ
                  ไถกลบตอซังร่วมกับการใช้น้ าหมักชีวภาพ ในกลุ่มชุดดินที่ 22  พบว่า   การไถกลบตอซังให้ผลผลิตแตกต่างกัน
                  ทางสถิติกับการไม่ไถกลบตอซัง  การไถกลบตอซังให้ผลผลิตสูงกว่าการไม่ไถกลบตอซัง  ผลการทดสอบแสดงได้

                  ชัดเจนว่าการไถกลบต่อซังมีผลท าให้ผลผลิตเพิ่มขึ้น (ตารางที่ 3)

                  ตารางที่ 3  ผลผลิตเฉลี่ยของข้าวแปลงไม่ไถกลบตอซังและไถกลบตอซัง (กิโลกรัมต่อไร่)


                                            วิธีการที่    ผลผลิตเฉลี่ยของข้าว  หมายเหตุ
                                       1. ไม่ไถกลบตอซัง          633
                                       2. ไถกลบตอซัง             1100

                                             T-test               **

                         การเปลี่ยนแปลงสมบัติเคมีของดินได้แก่ อินทรียวัตถุ (OM)  ฟอสฟอรัส (P) โพแทสเซียม (K) ความ

                  เป็นกรด-ด่าง (pH) (ตารางที่ 4)
                         ผลการเปลี่ยนแปลงปริมาณธาตุอาหารในดินจากข้อมูลที่ได้ในพื้นที่แปลงเกษตรกรที่ยังไม่มีการไถกลบ
                                                                                            -1
                  พืชปุ๋ยสดและตอซัง มีปริมาณธาตุอาหารก่อนปลูกข้าวมี ธาตุฟอสฟอรัสเท่ากับ 38 mgkg และแปลงหลังปลูก
                                                -1
                  ข้าวมีธาตุฟอสฟอรัสเท่ากับ 4 mgkg  แต่เมื่อภายหลังมีไถกลบพืชปุ๋ยสดและตอซัง มีธาตุฟอสฟอรัสก่อนปลูก
                                    -1
                                                                             -1
                  ข้าวเท่ากับ 35 mgkg  และหลังปลูกข้าวมีฟอสฟอรัสเท่ากับ 7 mgkg ส่วนปริมาณธาตุอาหารโพแทสเซียม
                  พื้นที่แปลงเกษตรกรที่ยังไม่มีไถกลบพืชปุ๋ยสดและตอซังมีปริมาณธาตุโพแทสเซียมก่อนปลูกข้าวเท่ากับ 21
                                                                    -1
                       -1
                  mgkg  และหลังปลูกข้าวมีธาตุโพแทสเซียมเท่ากับ 4 mgkg  แต่เมื่อภายหลังมีไถกลบพืชปุ๋ยสดและตอซังมี
                                                              -1
                                                                                                            -1
                  ธาตุโพแทสเซียมก่อนการปลูกข้าวเท่ากับ 18  mgkg  และหลังปลูกข้าวมีธาตุโพแทสเซียม เท่ากับ 4 mgkg
                  การเปลี่ยนแปลงค่าความเป็นกรด-ด่าง (pH) จากพื้นที่แปลงที่ยังไม่มีไถกลบพืชปุ๋ยสดและตอซังก่อนปลูกข้าวมี
                  ความเป็นกรด-ด่าง (pH) เท่ากับ 6.5 และหลังปลูกข้าวมีความเป็นกรด-ด่าง (pH) เท่ากับ 6.0 ซึ่งให้ค่าใกล้เคียง
                  กัน ส่วนหลังจากมีไถกลบพืชปุ๋ยสดและตอซังแล้วพบว่าก่อนปลูกข้าวมีความเป็นกรด-ด่าง (pH) เท่ากับ 6.3

                  และหลังปลูกข้าวมีความเป็นกรด-ด่าง (pH)  เท่ากับ 5.6 ซึ่งให้ค่าใกล้เคียงกันเช่นกัน ส่วนการเปลี่ยนแปลง
                  ปริมาณอินทรียวัตถุ (%OM)  โดยพื้นที่แปลงเกษตรกรที่ยังไม่มีไถกลบพืชปุ๋ยสดและตอซังก่อนปลูกข้าวมี
                  ปริมาณอินทรียวัตถุ (%OM) เท่ากับ 0.70 และหลังปลูกข้าวมีปริมาณอินทรียวัตถุ (%OM) เท่ากับ 0.61 ซึ่งมี
                  ค่าใกล้เคียงกันแต่ภายหลังมีการไถกลบพืชปุ๋ยสดและตอซังก่อนปลูกข้าวมีปริมาณอินทรียวัตถุ (%OM) เท่ากับ
                  0.61 และหลังปลูกข้าวมีปริมาณอินทรียวัตถุ (%OM) เท่ากับ 3.71 ซึ่งมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นแสดงให้เห็นว่าไถกลบ

                  พืชปุ๋ยสดและตอซังสามารถเพิ่มอินทรียวัตถุให้แก่ดินได้
   50   51   52   53   54   55   56   57   58   59   60