Page 57 - การไถกลบพืชปุ๋ยสดและตอซังข้าวร่วมกับการใช้น้ำหมักชีวภาพเพื่อเพิ่มผลผลิตในพื้นที่ศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีการพัฒนาที่ดิน ตำบลโนนกลาง อำเภอสำโรง จังหวัดอุบลราชธานี
P. 57

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                          48


                  ตารางที่ 6 แสดงปริมาณความเสียหายจากแมลงเข้าท าลายพืช


                       ปี 2556 (ก่อนใช้)       ปี 2557 (หลังใช้)                    หมายเหตุ

                         345 กก./ไร่              69 กก./ไร่        ลดความเสียหายจากแมลงกัดกินได้ 276 กก./ไร่
                                                                    คิดเป็น 80%


                         จุดเรียนรู้ที่ 4  จุดเรียนรู้การผลิตปุ๋ยหมัก  เพื่อยกระดับความอุดมสมบูรณ์ของดิน  โดยการเพิ่ม
                  อินทรียวัตถุในดิน  ท าให้ดินร่วนซุยขึ้น หลังท าการยกระดับความอุดมสมบูรณ์ของดินและดินอุ้มน้ าดีขึ้น โดย
                  การเพิ่มอินทรียวัตถุในดินและปรับโครงสร้างดินด้วยการใช้ปุ๋ยหมักจากสารเร่งซุปเปอร์ พด.1
                         จุดเรียนรู้ที่ 5  จุดเรียนรู้การใช้ปุ๋ยพืชสดในนาข้าว

                         โดยหว่านปุ๋ยพืชสด (ปอเทือง)  อัตรา 5  กิโลกรัมต่อไร่ พบว่า  โครงสร้างดิน ดินโปร่ง ร่วนซุย ไถ
                  พรวนสะดวก อุ้มน้ า และถ่ายเทอากาศดีขึ้น หลังการด าเนินงาน เศษพืชของพืชปุ๋ยสดที่สับกลบมีการย่อยสลาย
                  มีบางส่วนเท่านั้นที่ย่อยสลายไม่หมด ในช่วงแล้งเนื้อดินยังคงมีความอ่อนนุ่มและมีความชื้นพอสมควรเมื่อ

                  เปรียบเทียบกับปีที่ผ่านมาเนื้อดินจะแข็งและแห้ง
                         จุดเรียนรู้ที่ 6  การปรับปรุงบ ารุงดินด้วยปุ๋ยหมักในแปลงผัก
                         โดยหว่านปุ๋ยหมักอัตราประมาณ 2 ตันต่อไร่ ให้ทั่วแปลงผสม คลุกเคล้าให้เข้ากันแล้วปลูกพืชผักและ
                  ดูแลรักษา พบว่า ผักเจริญเติบโตดี ต้นอวบ มีรสชาติดี
                         จุดเรียนรู้ที่ 7  การอนุรักษ์ดินและน้ าด้วยหญ้าแฝก

                         บริเวณรอบขอบสระเพื่อกรองตะกอนดิน โดยปลูกต่อเนื่องกันไป  ซึ่งมีการปลูกซ่อมแซมให้แถวแฝก
                  เจริญเติบโตหนาแน่น  เมื่อน้ าไหลบ่า ไม่ให้สระพังทลาย และตัดใบหญ้าแฝกคลุมโคนต้นพืช  พบว่าในช่วงฤดู
                  แล้ง  พื้นดินบริเวณดังกล่าวยังคงมีความชุ่มชื้นอยู่  การให้น้ ากับต้นพืชลดลงจากปีก่อนที่ยังไม่ได้ปลูกหญ้าแฝก

                  ประมาณลดลงร้อยละ 20 (ตารางที่ 7)

                  ตารางที่ 7 แสดงจ านวนครั้งในการให้น้ าในช่วงฤดูแล้ง (ช่วงเดือนตุลาคม-พฤศจิกายน)


                          ปี 2556                  ปี 2557                          หมายเหตุ

                          120 ครั้ง                96 ครั้ง         ลดปริมาณการให้น้ าในช่วงฤดูแล้ง ได้ 24 ครั้ง
                                                                    คิดเป็น 20%


                         ผลจากการใช้ผลิตภัณฑ์เทคโนโลยีชีวภาพทางด้านการพัฒนาที่ดินในพืชผักและนาข้าว มีผลของการ
                  ด าเนินงาน ดังนี้
                         1. ในแปลงผัก สามารถลดค่าใช้จ่ายในการด าเนินการได้ร้อยละ 43.55  (ตารางที่ 5)  ส่วนรายได้ ใน

                  แปลงผัก เพิ่มขึ้นร้อยละ 70 (ตารางที่ 8)
   52   53   54   55   56   57   58   59   60   61   62