Page 37 - คู่มือแนวทางการบริหารจัดการเขตเหมาะสมของที่ดินสำหรับพืชเศรษฐกิจ
P. 37

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                             7-2





                      ข้อมูล GIS  ที่จะอ้างอิงกับข้อมูลบนพื้นโลกได้โดยทางอ้อมได้แก่ ข้อมูลของบ้าน (รวมถึงบ้านเลขที่
                      ซอย เขต แขวง จังหวัด และรหัสไปรษณีย์) โดยจากข้อมูลที่อยู่เราสามารถทราบได้ว่า บ้านหลังนี้มี

                      ตําแหน่งอยู่ ณ ที่ใดบนพื้นโลก เนื่องจากบ้านทุกหลังจะมีที่อยู่ไม่ซํ้ากัน
                            7.1.2 การรับรู้ระยะไกล หรือ รีโมตเซนซิ่ง (REMOTE SENSING : RS)

                                 การรับรู้ระยะไกล หรือ รีโมตเซนซิ่ง (REMOTE SENSING : RS) คือ การใช้ความรู้และ
                      เทคนิคทางวิทยาศาสตร์ชั้นสูงมาประยุกต์ใช้ในการสังเกต การค้นหาและการวิเคราะห์ข้อมูลของวัตถุ

                      หรือเป้ าหมายที่สนใจ เพื่อให้รับรู้ว่าสิ่งนั้นหรือเป้าหมายคืออะไร โดยที่เราไม่ต้องเข้าไปสัมผัสหรือมี

                      ส่วนร่วมโดยตรง เป้าหมายในที่นี้อาจจะหมายถึง พื้นที่ที่ใช้ในการสํารวจ หาข้อมูลก็ได้ หรือบริเวณที่สนใจ
                                 ข้อมูลที่ใช้ได้แก่ ข้อมูลจากดาวเทียม การถ่ายภาพทางอากาศ กล้องถ่ายรูปมุมสูง เช่น

                      จากบอลลูน เครื่องร่อน เป็นต้น
                                 การประยุกต์ใช้ข้อมูล RS มีมากมาย เช่น

                              1)  การประยุกต์ใช้ในงานป่าไม้ เช่น หาพื้นที่ป่าไม้ ติดตามการเปลี่ยนแปลง ติดตามการ
                      ปลูกพื้นที่สวนป่า

                              2)  การประยุกต์ใช้ในงานธรณีวิทยา เช่น หาพื้นที่แหล่งแร่ แหล่งนํ้า แหล่งพลังงาน
                              3)  การประยุกต์ใช้ในด้านสมุทรศาสตร์และชายฝั่ง เช่น หาพื้นที่แหล่งแร่ แหล่งพลังงาน

                      การไหลเวียนของนํ้าทะเล การแพร่กระจายของตะกอน การจัดการพื้นที่เพาะเลี้ยงชายฝั่ง
                              4)  การประยุกต์ใช้ในด้านภัยพิบัติ เช่น วางแผน ป้องกัน บรรเทาภัยจากอุทกภัย

                              5)  การประยุกต์ใช้ในด้านเกษตร เช่น ประเมินผลผลิตการเกษตร  วางแผนการใช้ที่ดิน

                      ให้เหมาะสมกับลักษณะพื้นที่
                            7.1.3 ระบบกําหนดตําแหน่งบนโลก (Global Positioning System) หรือ GPS

                                 ระบบกําหนดตําแหน่งบนโลก (Global Positioning System) หรือ GPS ชื่อเต็มของระบบนี้
                      คือ NAVSTAR Global Positioning System คําว่า "NAVSTAR" เป็นอักษรย่อมาจาก Navigation Satellite

                      Timing and Ranging ภาคของคําว่า ดาวเทียมสําหรับนําร่อง คือ ระบบที่ระบุตําแหน่ง ทุกแห่งบนโลกเป็น
                      ระบบบอกตําแหน่งบนพื้นผิวโลก โดยอาศัยการคํานวณพิกัดจากดาวเทียมระบุตําแหน่ง จํานวน 24 ดวง ที่

                      โคจรอยู่รอบโลกในระดับสูงประมาณ 20,000 กิโลเมตร ทําให้สามารถชี้บอกตําแหน่งได้ทุกแห่งบน
                      โลกตลอดเวลา 24 ชั่วโมง ปัจจุบันนี้ได้มีการใช้งาน GPS ในรูปแบบต่างๆ มากมาย เช่น

                              1)  ใช้เพื่อกําหนดพิกัดของสถานที่ต่างๆ การทําแผนที่ งานสํารวจ
                              2)  ใช้นําทางได้รับความนิยมอย่างกว้างขวางมีหลากหลายแบบและขนาด สามารถนําทางได้

                      ทั้งภาพและเสียง ใช้ได้หลายภาษา บางแบบมีภาพเสมือนจริง ภาพสามมิติ และประสิทธิภาพอื่นๆ

                      เพิ่มเติม เช่น multimedia Bluetooth handfree เป็นต้น
   32   33   34   35   36   37   38   39   40   41   42