Page 7 - คู่มือแนวทางการบริหารจัดการเขตเหมาะสมของที่ดินสำหรับพืชเศรษฐกิจ
P. 7
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
บทที่ 1
บทนํา
1.1 ภาพรวมการกําหนดเขตเหมาะสมสําหรับพืชเศรษฐกิจ
ทรัพยากรดินเป็นปัจจัยหลักในการทําเกษตรกรรม ซึ่งมีอย่างจํากัด การใช้ที่ดินที่ไม่เหมาะสม
กับศักยภาพจะก่อให้เกิดความเสื่อมโทรมของทรัพยากรดิน ซึ่งต้องใช้ต้นทุนสูงในการทําเกษตรกรรม
ดังนั้น การใช้ที่ดินให้เหมาะสมกับศักยภาพของพื้นที่จึงเป็นแนวทางหนึ่งที่จะช่วยลดปัญหาการเสื่อมโทรม
ทรัพยากรดินที่นับวันจะทวีความรุนแรงมากขึ้นซึ่งส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจและสังคม
ของประเทศ
การกําหนดเขตเหมาะสมสําหรับพืชเศรษฐกิจเป็นรูปแบบการใช้ประโยชน์ที่ดินให้เหมาะสม
กับศักยภาพของทรัพยากรดินเพื่อให้มีการใช้ทรัพยากรธรรมชาติได้อย่างยั่งยืนและลดผลกระทบกับ
สิ่งแวดล้อมโดยหลักการกําหนดเขตการใช้ที่ดินเพื่อการบริหารจัดการพื้นที่เกษตรกรรมมีเป้ าหมายที่
สําคัญ คือ การปรับสมดุลของอุปสงค์ และอุปทาน ของสินค้าเกษตรในแต่ละพื้นที่ โดยการอาศัย
ข้อมูลวิชาการ ด้านกายภาพ และศักยภาพของพื้นที่ เป็นข้อมูลพื้นที่ฐานเบื้องต้นประกอบกับการ
รวบรวมข้อมูลด้าน พืช ปศุสัตว์ และประมง ตลอดจนเกษตรผสมผสาน ทั้งนี้รวมทั้ง การวิเคราะห์
ร่วมกับแนวโน้มความต้องการของสินค้าเกษตรในตลาด เพื่อหาความเหมาะสมในการทําการเกษตร
แต่ละชนิดประเภทในการพื้นที่นั้นๆ ทําให้เกิดประสิทธิภาพการผลิตในเขตเหมาะสม และการ
ปรับเปลี่ยนในพื้นที่เหมาะสมน้อย หรือไม่เหมาะสม ซึ่งจะทําให้เกษตรกรมีผลประโยชน์ในรูปแบบ
กําไร หรือรายได้เพิ่มขึ้นกว่า การทําการเกษตรในพื้นที่ไม่เหมาะสมโดยภาครัฐให้ข้อมูลวิชาการ
แนะนําสนับสนุน และจูงใจให้แก่เกษตรกร โดยอยู่บนพื้นฐานเงื่อนไขเป็นไปตามความสมัครใจ และ
ความพึงพอใจของเกษตรกรเองเป็นหลัก
แต่อย่างไรก็ตาม การขับเคลื่อนนโยบายการบริหารจัดการพื้นที่เกษตรกรรมเป็นงานที่พบ
ปัญหาอุปสรรคในการดําเนินงานตลอดเวลาทุกขั้นตอน จําเป็นต้องใช้เวลาในการทําความเข้าใจ และ
เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นทั้งในส่วนกลาง และภูมิภาค ทั้งระดับนโยบาย และระดับปฏิบัติ โดยเฉพาะความรู้
ความเข้าใจในหลักการ และกระบวนการขับเคลื่อน ดังนั้นคู่มือแนวทางการขับเคลื่อนเขตความ
เหมาะสมสําหรับพืชเศรษฐกิจจึงเป็นแนวทางเพื่อให้นักวางแผน นักวิชาการและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง
นําไปใช้ในการปฏิบัติงานบริหารจัดการพื้นที่เกษตรกรรมและเสริมสร้างพัฒนาสมรรถนะเพื่อ
ปฏิบัติงานตามยุทธศาสตร์การดําเนินงานให้บรรลุตามเป้าหมายที่กําหนดไว้อย่างมีประสิทธิภาพ ตาม
นโยบายการเพิ่มประสิทธิภาพ การบริหารจัดการพื้นที่เกษตรกรรมของประเทศต่อไป