Page 12 - บทบาทของหญ้าแฝกในการบำบัดสารปนเปื้อนในน้ำและสิ่งแวดล้อม
P. 12

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                         7







                       ดูกร้านไม่เหลือบมัน ท้องใบสีเดียวกับด้านหลังใบ แต่มีสีซีดกว่า เส้นกลางใบสังเกตได้ชัดเจน มี
                       ลักษณะแข็งเป็นแกนนูนทางด้านหลังใบ หญ้าแฝกดอน และหญ้าแฝกลุ่มที่มีอายุเท่ากัน หญ้าแฝกดอน
                       จะมีรากสั้นกว่า โดยทั่วไปหญ้าแฝกดอนที่มีอายุประมาณ 1 ปี จะมีรากลึกประมาณ 80-100 เซนติเมตร
                       ช่อดอกของหญ้าแฝกดอนจะมีได้หลายสี ซึ่งเป็นลักษณะปกติประจ าถิ่น ที่พบทั่วไป ได้แก่ ช่อดอก

                       สีขาวครีมถึงสีม่วงแดง พันธุ์ที่กรมพัฒนาที่ดินส่งเสริม ได้แก่ ราชบุรี ประจวบคีรีขันธ์ เลย นครสวรรค์
                       ร้อยเอ็ดและก าแพงเพชร 1 (กรมพัฒนาที่ดิน, 2546)
                                   การเลือกชนิดของหญ้าแฝกลุ่มหรือหญ้าแฝกดอน ต้องค านึงถึงความเหมาะสมของการ
                       ใช้ประโยชน์ด้วย เช่น ในพื้นที่ที่มีความลาดชันสูงและมีความชุ่มชื้น โดยปลูกพืชหลักเป็นไม้ผลหรือ

                       พืชที่ต้องดูแลและเอาใจใส่สูง ส าหรับในพื้นที่ลุ่มใกล้แหล่งน้ าควรใช้สายพันธุ์หญ้าแฝกลุ่ม เพราะจะ
                       สะดวกในการปฏิบัติงาน เนื่องจากใบหญ้าแฝกลุ่มจะไม่คม และระคายเคืองเหมือนหญ้าแฝกดอน
                       การใส่ปุ๋ยและการดูแลพืชหลัก ท าให้หญ้าแฝกได้น้ าและปุ๋ยด้วย ส่วนในพื้นที่ที่ปลูกพืชหลักที่เป็น
                       พืชไร่ ซึ่งมีการดูแลรักษาน้อย ควรใช้พันธุ์หญ้าแฝกดอน (กรมพัฒนาที่ดิน, 2546)

                                   ส าหรับสายพันธุ์หญ้าแฝกดอนที่แนะน าในการอนุรักษ์ดินและน้ าในพื้นที่ต่างๆ ตาม
                       โครงการรณรงค์การปลูกหญ้าแฝกของกรมพัฒนาที่ดิน มี 6 พันธุ์ ซึ่งมีรายละเอียดและลักษณะประจ า
                       พันธุ์ ดังนี้

                                      1) พันธุ์นครสวรรค์ เจริญเติบโตดีในสภาพพื้นที่เป็นดินทรายถึงร่วนเหนียว แตกกอ
                       35 ต้นต่อกอ สูง 89 เซนติเมตร การแตกกอแน่นแต่กางออกเป็นทรงพุ่มเตี้ย ใบสีเขียวเข้มนวลเทา
                       ดอกสีม่วง
                                      2) พันธุ์ก าแพงเพชร 1  เจริญเติบโตดีในสภาพพื้นที่เป็นดินทรายถึงดินร่วนเหนียว
                       แตกกอ 34 ต้นต่อกอ เส้นผ่าศูนย์กลางกอ 12 เซนติเมตร สูง 106 เซนติเมตร แตกกอแน่น ตั้งตรง

                       ใบสีเขียวนวล กาบใบสีฟ้านวล ดอกสีม่วง
                                      3) พันธุ์ร้อยเอ็ด เจริญเติบโตดีในสภาพพื้นที่เป็นดินทราย แตกกอ 26 ต้นต่อกอ
                       เส้นผ่าศูนย์กลาง 7 เซนติเมตร แตกกอแน่น หน่อมีขนาดเล็ก ตั้งตรง ใบสีเขียว ดอกสีน้ าตาล

                                      4) พันธุ์เลย เจริญเติบโตดีในสภาพพื้นที่เป็นดินร่วนเหนียว แตกกอ 26 ต้นต่อกอ
                       เส้นผ่าศูนย์กลางกอ 13 เซนติเมตร สูง 108 เซนติเมตร การแตกกอแน่น ตั้งตรง ใบสีเขียว กาบใบสี
                       ชมพู ดอกสีม่วง
                                      5) พันธุ์ราชบุรี เจริญเติบโตดีในสภาพพื้นที่เป็นดินทรายถึงดินร่วนเหนียว แตกกอ

                       32 ต้นต่อกอ เส้นผ่าศูนย์กลางกอ 12 เซนติเมตร สูง 110 เซนติเมตร แตกกอแน่น ตั้งตรง ใบสีเขียวเข้ม
                       กาบใบออกสีน้ าตาล พันธุ์ราชบุรี ในสภาพธรรมชาติออกดอกช่วงปลายธันวาคมถึงมกราคม เป็นพันธุ์
                       ที่ให้น้ าหนักสดดี ต้น กอ หน่อ และใบใหญ่กว่าพันธุ์อื่นๆ
   7   8   9   10   11   12   13   14   15   16   17