Page 304 - การประเมินความเหมาะสมทางด้านเศรษฐกิจในการผลิตพืชเพื่อวางแผนการใช้ที่ดินลุ่มน้ำสาขาของลุ่มน้ำหลัก : โตนเลสาป ปีการผลิต 2555/56
P. 304

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                           5-11






                  เมื่อฝนตกหนัก ยากต่อการไถพรวน การจัดการพื้นที่เพื่อทําเกษตรกรรมต้องใช้ค่าใช้จ่ายสูง ควรอนุรักษ์ไว้

                  เพื่อเป็นแหล่งต้นนํ้าลําธาร


                             การประเมินความเหมาะสมทางด้านเศรษฐกิจในการผลิตพืช
                             การประเมินความเหมาะสมของการใช้ประโยชน์ที่ดินทางเศรษฐกิจเป็นการประเมินและ

                  เปรียบเทียบผลที่ได้จากการใช้ประโยชน์ที่ดินประเภทต่างๆ ในแต่ละหน่วยที่ดินในลักษณะของผลตอบแทน

                  ต่อไร่ ซึ่งจะแสดงให้เห็นว่า ในแต่ละหน่วยที่ดินที่ได้ใช้ประโยชน์ไปในกิจกรรมประเภทต่างๆ นั้น กิจกรรม

                  ใดจะให้ผลตอบแทนที่เหมาะสมหรือคุ้มค่าต่อการลงทุนมากน้อยกว่ากันเพียงใด มีความเหมาะสมทางเศรษฐกิจ
                  ระดับใดและเพื่อพิจารณาว่า ในหน่วยที่ดินที่สามารถเลือกทําการผลิตได้หลายประเภทนั้น มีประเภทการใช้

                  ประโยชน์ที่ดินชนิดใดที่สมควรเสนอแนะให้ทําการผลิต ซึ่งผลของการประเมินชั้นความเหมาะสมทางเศรษฐกิจ

                  ของประเภทการใช้ประโยชน์ที่ดินในแต่ละหน่วยที่ดิน พอสรุปได้ดังนี้
                             เขตนํ้าฝน

                             หน่วยที่ดินที่ 1 มีประเภทการใช้ประโยชน์ที่ดิน 2 ประเภท ได้แก่ ข้าวเจ้านาปีนาดํา และ

                  ข้าวเจ้านาปีนาหว่าน โดยข้าวนาปีนาดําและนาหว่านใช้พันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 โดยข้าวเจ้านาปีนาดํา ได้รับ
                  ผลผลิตเฉลี่ย 377.2 กิโลกรัมต่อไร่ ข้าวเจ้านาปีนาหว่าน ได้รับผลผลิตเฉลี่ย 410.98 กิโลกรัมต่อไร่ ราคาเฉลี่ย

                  12.42บาทต่อกิโลกรัม โดยข้าวเจ้านาปีนาดํา ได้รับผลตอบแทนเหนือต้นทุนผันแปรเงินสด 2,188.21 บาทต่อไร่

                  ได้รับผลตอบแทนเหนือต้นทุนผันแปรทั้งหมด 1,490.32 บาทต่อไร่ ส่วนข้าวเจ้านาปี นาหว่าน ได้รับ

                  ผลตอบแทนเหนือต้นทุนผันแปรเงินสด 2,644.31 บาทต่อไร่ ได้รับผลตอบแทนเหนือต้นทุนผันแปรทั้งหมด
                  1,826.20 บาทต่อไร่ สําหรับประเภทการใช้ประโยชน์ที่ดินในหน่วยที่ดินที่ 1 ทั้ง 2 ประเภท มีชั้นความเหมาะสม

                  ทางเศรษฐกิจในระดับปานกลาง (S2)

                             หน่วยที่ดินที่ 31B มีประเภทการใช้ประโยชน์ที่ดิน 2 ประเภท ได้แก่ มันสําปะหลังและลําไย

                  โดยมันสําปะหลัง เกษตรกรปลูกพันธุ์ห้วยบง เกษตรศาสตร์ และระยอง 5 ได้รับผลผลิตเฉลี่ย 4,052.00 กิโลกรัมต่อไร่
                  ราคาเฉลี่ย 2.33 บาทต่อกิโลกรัม โดยมันสําปะหลัง ได้รับผลตอบแทนเหนือต้นทุนผันแปรเงินสดเฉลี่ย

                  6,338.00 บาทต่อไร่ และได้รับผลตอบแทนเหนือต้นทุนผันแปรทั้งหมดเฉลี่ย 5,503.38 บาทต่อไร่ ส่วนลําไย

                  เกษตรกรปลูกพันธุ์อีดอ ลําไยจะให้ผลตอบแทนเมื่ออายุ 4 ปี การวิเคราะห์ผลตอบแทนในที่นี้จะคิดอายุของลําไย
                  ในรอบ 20 ปี ในช่วงอายุที่ลําไยให้ผลผลิตแล้ว คือ ช่วงปีที่ 4 - 20 ได้รับผลผลิตเฉลี่ยต่อปี 3,121.37 กิโลกรัมต่อไร่

                  โดยลําไยในช่วงปีที่ 16-20 เป็นช่วงที่ให้ผลผลิตสูงที่สุดเฉลี่ย 4,666.67 กิโลกรัมต่อไร่ ราคาเฉลี่ย 36.18 บาทต่อกิโลกรัม

                  จากการวิเคราะห์โดยใช้หลักมูลค่าปัจจุบันของผลตอบแทนสุทธิ (NPV) พบว่า ลําไยมีมูลค่าปัจจุบันของ
                  ผลตอบแทนเหนือต้นทุนผันแปรเงินสดเฉลี่ยต่อปี 69,590.27 บาทต่อไร่ มีมูลค่าปัจจุบันของผลตอบแทน

                  เหนือต้นทุนผันแปรทั้งหมดเฉลี่ยต่อปี 64,361.62 บาทต่อไร่และมีอัตราส่วนของรายได้ต่อต้นทุน 6.74
   299   300   301   302   303   304   305   306   307   308   309