Page 305 - การประเมินความเหมาะสมทางด้านเศรษฐกิจในการผลิตพืชเพื่อวางแผนการใช้ที่ดินลุ่มน้ำสาขาของลุ่มน้ำหลัก : โตนเลสาป ปีการผลิต 2555/56
P. 305

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                           5-12






                  สําหรับประเภทการใช้ประโยชน์ที่ดินในหน่วยที่ดินที่ 31B ที่มีชั้นความเหมาะสมทางเศรษฐกิจในระดับสูง (S1)

                  ได้แก่ ลําไย ส่วนมันสําปะหลังมีชั้นความเหมาะสมทางเศรษฐกิจในระดับปานกลาง (S2)

                             หน่วยที่ดินที่ 52B มีประเภทการใช้ประโยชน์ที่ดินประเภทเดียว ได้แก่ มันสําปะหลังเกษตรกร

                  ปลูกข้าวพันธุ์ห้วยบง เกษตรศาสตร์ และระยอง 5 ได้รับผลผลิตเฉลี่ย 3,776.00 กิโลกรัมต่อไร่ ราคาเฉลี่ย
                  2.33 บาทต่อกิโลกรัม ได้รับผลตอบแทนเหนือต้นทุนผันแปรเงินสด 4,848.10 บาทต่อไร่ ได้รับผลตอบแทน

                  เหนือต้นทุนผันแปรทั้งหมด 4,144.02 บาทต่อไร่ และมีอัตราส่วนของรายได้ต่อต้นทุน 1.89 มีชั้นความเหมาะสม

                  ทางเศรษฐกิจในระดับปานกลาง (S2)

                             หน่วยที่ดินที่ 53B มีประเภทการใช้ประโยชน์ที่ดินประเภทเดียว ได้แก่ ลําไย เกษตรกรปลูก
                  พันธุ์อีดอ ลําไยจะให้ผลตอบแทนเมื่ออายุ 4 ปี การวิเคราะห์ผลตอบแทนในที่นี้จะคิดอายุของลําไย ในรอบ 20 ปี

                  ในช่วงอายุที่ลําไยให้ผลผลิตแล้ว คือ ช่วงปีที่ 4 - 20 ได้รับผลผลิตเฉลี่ยต่อปี 3,826.47กิโลกรัมต่อไร่ โดยลําไย

                  ในช่วงปีที่ 16-20 เป็นช่วงที่ให้ผลผลิตสูงที่สุดเฉลี่ย 5,000.00 กิโลกรัมต่อไร่ ราคาเฉลี่ย 36.18 บาทต่อกิโลกรัม
                  จากการวิเคราะห์โดยใช้หลักมูลค่าปัจจุบันของผลตอบแทนสุทธิ (NPV) พบว่า ลําไยมีมูลค่าปัจจุบันของ

                  ผลตอบแทนเหนือต้นทุนผันแปรเงินสดเฉลี่ยต่อปี 17,558.64 บาทต่อไร่ มีมูลค่าปัจจุบันของผลตอบแทน

                  เหนือต้นทุนผันแปรทั้งหมดเฉลี่ยต่อปี 2,520.96 บาทต่อไร่ และมีอัตราส่วนของรายได้ต่อต้นทุน 1.13
                  มีชั้นความเหมาะสมทางเศรษฐกิจในระดับปานกลาง (S2)

                             หน่วยที่ดินที่ 55B มีประเภทการใช้ประโยชน์ที่ดิน 3 ประเภท ได้แก่ ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์

                  ต้นฝน – ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ปลายฝน ยางพารา และลําไย โดยข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ เกษตรกรจะปลูก 2 ครั้ง ในรอบปี

                  พันธุ์ที่ใช้ปลูก คือ CP888 919 ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ป็นพืชต้นฝน ได้รับผลผลิตเฉลี่ยต่อปี 1,100.63 กิโลกรัมต่อ
                  ไร่ ราคาเฉลี่ย 5.84 บาทต่อกิโลกรัมได้รับผลตอบแทนเหนือต้นทุนผันแปรเงินสด 3,139.54 บาทต่อไร่ และ

                  ได้รับผลตอบแทนเหนือต้นทุนผันแปรทั้งหมด 2,964.64 บาทต่อไร่ และเกษตรกรปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์

                  เป็นพืชปลายฝน ได้รับผลผลิตเฉลี่ย 1,173.27 กิโลกรัมต่อไร่ ราคาเฉลี่ย 5.86 บาทต่อกิโลกรัม ได้รับ

                  ผลตอบแทนเหนือต้นทุนผันแปรเงินสด 4,077.80 บาทต่อไร่ และได้รับผลตอบแทนเหนือต้นทุนผันแปร
                  ทั้งหมด 3,902.65 บาทต่อไร่ จากการวิเคราะห์การใช้ประโยชน์ที่ดินทั้งระบบ พบว่า การปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์

                  ต้นฝน – ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ปลายฝน เกษตรกรได้รับผลผลิตรวม 2 ครั้ง คิดเป็นมูลค่า 13,303.04 บาทต่อไร่

                  ได้รับผลตอบแทนเหนือต้นทุนผันแปรเงินสดรวม 2 ครั้ง 7,217.34 บาทต่อไร่ ได้รับผลตอบแทนเหนือต้นทุน
                  ผันแปรทั้งหมดรวม 2 ครั้ง 6,867.29 บาทต่อไร่ และมีอัตราส่วนของรายได้ต่อต้นทุน 2.07 ส่วนยางพารา

                  เกษตรกรปลูกพันธุ์ RRIM 600 ยางพาราให้ผลตอบแทนเมื่ออายุ 7 ปี การวิเคราะห์ผลตอบแทนในที่นี้จะคิดอายุ

                  ของยางพาราในรอบ 25 ปี ในช่วงอายุที่ยางพาราให้ผลผลิตแล้ว คือ ช่วงปีที่ 7-25 ได้รับผลผลิตเฉลี่ยต่อปี
                  303.11 กิโลกรัมต่อไร่ โดยยางพาราในช่วงอายุปีที่ 11-15 เป็นช่วงที่ให้ผลผลิตสูงที่สุดเฉลี่ย 312.00 กิโลกรัมต่อไร่

                  ราคาเฉลี่ย 70.84 บาทต่อกิโลกรัม จากการวิเคราะห์โดยใช้หลักมูลค่าปัจจุบันของผลตอบแทนสุทธิ (NPV)
   300   301   302   303   304   305   306   307   308   309   310