Page 308 - การประเมินความเหมาะสมทางด้านเศรษฐกิจในการผลิตพืชเพื่อวางแผนการใช้ที่ดินลุ่มน้ำสาขาของลุ่มน้ำหลัก : โตนเลสาป ปีการผลิต 2555/56
P. 308

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                           5-15






                  ผลตอบแทนที่สูงกว่า โดยการนําเสนอทางเลือกการผลิตในรูปแบบต่างๆ ทดแทน ตามความสมัครใจของเกษตรกร

                  ซึ่งทางเลือกที่นําเสนอต้องชี้แจงให้เกษตรกรเห็นถึงโอกาสที่จะได้รับผลตอบแทนที่สูงกว่า การผลิตพืชเดิม

                  และสอดคล้องกับความต้องการของตลาด เช่น อ้อยโรงงาน พืชผัก พืชสมุนไพรหรืออาจปรับเปลี่ยนไปทําปศุสัตว์
                  เช่น โคเนื้อ ไก่เนื้อ เป็นต้น และการเพาะเลี้ยงสัตว์นํ้า เช่น ปลานิล การเพาะเลี้ยงกุ้ง เป็นต้น

                        5 ในเขตพื้นที่อาศัยนํ้าฝนที่ใช้เป็นพื้นที่ทํานาหรือทําไร่ การทําการเกษตรเพียงชนิดเดียวทําให้เกิด

                  ความเสี่ยงต่อการผลิต เนื่องจากราคาผลผลิตแปรปรวนและพืชต้องอาศัยนํ้าฝน ซึ่งมีปริมาณไม่แน่นอน หลาย

                  พื้นที่เกิดความแห้งแล้งหรือเกิดภาวะนํ้าท่วม ทําให้เกิดการเสี่ยงต่อการผลิต ดังนั้น เพื่อลดปัญหาการขาดแคลนนํ้า
                  และปัญหาด้านราคา ควรแนะนําให้เกษตรกรปรับลดพื้นที่การทํานาและทําไร่ด้วยการปรับเปลี่ยนไปทําเกษตร

                  แบบผสมผสานหรือส่งเสริมให้ปลูกพืชที่ใช้นํ้าน้อย ซึ่งน่าจะเป็นทางเลือกที่ดีกว่าการทํานาหรือทําไร่เพียง

                  อย่างเดียว

                        6 สนับสนุนและส่งเสริมด้านการตลาด โดยการจัดหาและพัฒนาตลาดสินค้าเกษตรและช่องทางการ
                  จําหน่ายผลผลิตทางการเกษตร เช่น ระบบตลาดกลางสินค้าเกษตร ตลาดซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้าและการ

                  เชื่อมโยงการผลิตกับการตลาด เป็นต้น

                        7  จัดหาโครงสร้างพื้นฐาน เช่น การจัดหาแหล่งนํ้า การจัดรูปที่ดิน ระบบโลจิสติกส์ เป็นต้น
                        8 รัฐบาลควรจัดหาแหล่งเงินทุนและสินเชื่อดอกเบี้ยตํ่าให้แก่เกษตรกรและจัดหาปัจจัยการผลิตใน

                  ราคายุติธรรม เช่น ปุ๋ ยเคมี ยาปราบศัตรูพืช ยาปราบวัชพืช เป็นต้น

                        9 ส่งเสริมและถ่ายทอดเทคโนโลยีที่เหมาะสมให้แก่เกษตรกรดําเนินการผลิตตามระบบเกษตรที่ดี (GAP)
                  โดยการอบรมแนะนําอาศัยความรู้ด้านต่างๆ เช่น วิธีการปลุก การใส่ปุ๋ ย การจัดการดูแลรักษา การเก็บเกี่ยวให้

                  มีความเหมาะสมในแต่ละพื้นที่

                        10 ควรส่งเสริมให้เกษตรกรมีการรวมกลุ่มในรูปกลุ่มเกษตรกรหรือในรูปสหกรณ์ โดยในระยะแรกรัฐ
                  ควรให้การสนับสนุน ด้านความรู้ ด้านเงินทุน ในลักษณะกองทุนหมุนเวียน เพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถ

                  ในการผลิตให้เข้มแข็ง สามารถต่อรองราคากับพ่อค้าคนกลางเพื่อรักษาระดับราคาผลผลิตทางการเกษตร

                        11 ส่งเสริมการวิจัยพัฒนาพันธุ์พืชให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่และขยายผลให้เกษตรกรอย่างทั่วถึง

                        12 จัดทําและปรับปรุงทะเบียนเกษตรกรให้มีความถูกต้องและทันสมัย เพื่อใช้เป็นฐานข้อมูลใน
                  การรับการบริการและความช่วยเหลือจากรัฐบาล

                        13 จากการที่พื้นที่ลุ่มนํ้าสาขามีการขยายตัวทางด้านอุตสาหกรรมแต่แรงงานประเภทฝีมือที่จะเข้าสู่

                  ภาคอุตสาหกรรมยังขาดแคลนอย่างมาก เนื่องจากไม่มีความรู้ ความชํานาญในเทคโนโลยีการผลิตแบบใหม่
                  ประกอบกับในสถานการณ์ปัจจุบันประสบปัญหาภัยแล้งเกือบทุกภาคส่วน ดังนั้น รัฐควรจัดให้มีการบริการ

                  ทางด้านการศึกษา การจัดฝึกอบรมให้กระจายไปสู่ชนบทให้มากขึ้น โดยเฉพาะหลักสูตรเกี่ยวกับวิชาชีพ ช่างเทคนิค

                  ต่างๆ เพื่อให้ประชากรสามารถนําความรู้ที่ได้รับไประกอบอาชีพอื่นๆ นอกเหนือจากอาชีพเกษตรกรรม
   303   304   305   306   307   308   309   310   311   312   313