Page 302 - การประเมินความเหมาะสมทางด้านเศรษฐกิจในการผลิตพืชเพื่อวางแผนการใช้ที่ดินลุ่มน้ำสาขาของลุ่มน้ำหลัก : โตนเลสาป ปีการผลิต 2555/56
P. 302

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                           5-9






                  เฉลี่ยต่อปี 7,865.19 บาทต่อไร่ มีมูลค่าปัจจุบันของผลตอบแทนเหนือต้นทุนผันแปรทั้งหมดเฉลี่ยต่อปี

                  7,693.93 บาทต่อไร่ และมีอัตราส่วนของรายได้ต่อต้นทุน 7.45 สําหรับประเภทการใช้ประโยชน์ที่ดินใน

                  หน่วยที่ดินที่ 44B ที่มีความเหมาะสมทางเศรษฐกิจในระดับสูง (S1) ได้แก่ ยูคาลิปตัส ส่วนมันสําปะหลัง
                  มีชั้นความเหมาะสมทางเศรษฐกิจในระดับปานกลาง (S2)

                             หน่วยที่ดินที่ 55B มีประเภทการใช้ประโยชน์ที่ดิน 3 ประเภท ได้แก่ มันสําปะหลัง อ้อยโรงงาน

                  ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ต้นฝน–ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ปลายฝน โดยมีทั้งระบบการปลูกพืชครั้งเดียว ได้แก่ มันสําปะหลัง

                  และอ้อยโรงงาน และระบบการปลูกพืช 2 ครั้ง ในรอบปี ได้แก่ ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ต้นฝน–ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
                  ปลายฝน โดยมันสําปะหลัง เกษตรกรปลูกพันธุ์เกษตรศาสตร์และห้วยบง ได้รับผลผลิตเฉลี่ย 3,475.46 กิโลกรัมต่อไร่

                  และอ้อยโรงงาน เกษตรกรปลูกพันธุ์ขอนแก่น ได้รับผลผลิตเฉลี่ยต่อปี 12,127.31 กิโลกรัมต่อไร่ ราคาเฉลี่ย 2.26

                  และ 0.99 บาทต่อกิโลกรัม ตามลําดับ โดยมันสําปะหลัง ได้รับผลตอบแทนเหนือต้นทุนผันแปรเงินสด

                  เฉลี่ย 5,115.23 บาทต่อไร่ ได้รับผลตอบแทนเหนือต้นทุนผันแปรทั้งหมดเฉลี่ย 4,656.92 บาทต่อไร่ และมี
                  อัตราส่วนของรายได้ต่อต้นทุน 2.46 ส่วนอ้อยโรงงาน ได้รับผลตอบแทนเหนือต้นทุนผันแปรเงินสดเฉลี่ยต่อปี

                  7,087.89 บาทต่อไร่ ได้รับผลตอบแทนเหนือต้นทุนผันแปรทั้งหมดเฉลี่ยต่อปี  6,374.85 บาทต่อไร่ และมี

                  อัตราส่วนของรายได้ต่อต้นทุน 2.12 สําหรับระบบการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ต้นฝน–ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
                  ปลายฝน เกษตรกรปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ พันธุ์ NK48 และ CP888 เป็นพืชต้นฝน ได้รับผลผลิตเฉลี่ย

                  1,155.13 กิโลกรัมต่อไร่ ราคาเฉลี่ย 5.56 บาทต่อกิโลกรัม ได้รับผลตอบแทนเหนือต้นทุนผันแปรเงินสด

                  4,075.74 บาทต่อไร่ และได้รับผลตอบแทนเหนือต้นทุนผันแปรทั้งหมด 3,528.73 บาทต่อไร่ และเกษตรกรปลูก
                  ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เป็นพืชปลายฝน ได้รับผลผลิตเฉลี่ย 1,015.00 กิโลกรัมต่อไร่ ราคาเฉลี่ย 5.08 บาทต่อกิโลกรัม

                  ได้รับผลตอบแทนเหนือต้นทุนผันแปรเงินสด 2,824.32 บาทต่อไร่ และได้รับผลตอบแทนเหนือต้นทุนผันแปร

                  ทั้งหมด 2,280.59 บาทต่อไร่ จากการวิเคราะห์การใช้ประโยชน์ที่ดินทั้งระบบ พบว่า การปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
                  ต้นฝน–ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ปลายฝน เกษตรกรได้รับผลผลิตรวม 2 ครั้ง คิดเป็นมูลค่า 11,578.72 บาทต่อไร่ ได้รับ

                  ผลตอบแทนเหนือต้นทุนผันแปรเงินสดรวม 2 ครั้ง 6,900.60 บาทต่อไร่ ได้รับผลตอบแทนเหนือต้นทุนผันแปร

                  ทั้งหมดรวม 2 ครั้ง 5,809.32 บาทต่อไร่ และมีอัตราส่วนของรายได้ต่อต้นทุน 2.01 สําหรับประเภทการใช้

                  ประโยชน์ที่ดินในหน่วยที่ดินที่ 55B ทั้ง 3 ประเภท มีชั้นความเหมาะสมทางเศรษฐกิจในระดับปานกลาง (S2)
                        จากการวิเคราะห์ปริมาณผลผลิตคุ้มทุน และระดับราคาคุ้มทุนของประเภทการใช้ประโยชน์ที่ดิน ใน

                  แต่ละหน่วยที่ดิน เมื่อนํามาเปรียบเทียบตามกลุ่มพืช พอสรุปรายละเอียดได้ดังนี้

                        เขตนํ้าฝน เกษตรกรปลูกข้าวในหน่วยที่ดินที่ 6 7 17hi และ 31b พบว่า เกษตรกรได้รับปริมาณผลผลิต

                  และระดับราคาผลผลิต คุ้มต่อการลงทุนทั้งหมด การปลูกมันสําปะหลังในหน่วยที่ดินที่ 29B 44B และ 55B พบว่า
                  เกษตรกรได้รับปริมาณผลผลิต และระดับราคาผลผลิตคุ้มต่อการลงทุนทั้งหมด การปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์

                  ในหน่วยที่ดินที่ 31 และ 55B ซึ่งลักษณะการเพาะปลูกเป็นการเพาะปลูกพืช 2 ครั้งในรอบปี คือ ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
   297   298   299   300   301   302   303   304   305   306   307