Page 303 - การประเมินความเหมาะสมทางด้านเศรษฐกิจในการผลิตพืชเพื่อวางแผนการใช้ที่ดินลุ่มน้ำสาขาของลุ่มน้ำหลัก : โตนเลสาป ปีการผลิต 2555/56
P. 303

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                           5-10






                  ต้นฝน-ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ปลายฝน เมื่อนํามาวิเคราะห์ พบว่า การปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ต้นฝน-ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์

                  ปลายฝน ทั้ง 2 หน่วยที่ดิน เกษตรกรได้รับปริมาณผลผลิต และระดับราคาผลผลิตคุ้มต่อการลงทุนทั้งหมด

                  การปลูกยูคาลิปตัส ในหน่วยที่ดินที่ 40B และ 44B พบว่า เกษตรกรได้รับปริมาณผลผลิต และระดับราคาผลผลิต
                  คุ้มต่อการลงทุนทั้งหมด การปลูกอ้อยโรงงานในหน่วยที่ดินที่ 55B พบว่า เกษตรกรได้รับปริมาณผลผลิตและ

                  ระดับราคาผลผลิตคุ้มต่อการลงทุน



                        5.1.3 ลุ่มนํ้าสาขาโตนเลสาปตอนล่าง (1703)

                             ลุ่มนํ้าสาขาโตนเลสาปตอนล่าง มีพื้นที่ครอบคลุม 2 จังหวัด คือ พื้นที่บางส่วนในอําเภอขลุง
                  เขาคิชฌกูฏ โป่งนํ้าร้อน สอยดาว จังหวัดจันทบุรี และอําเภอคลองหาด อรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว รวม

                  6 อําเภอ 19 ตําบล โดยมีเนื้อที่อยู่ในลุ่มนํ้าสาขาโตนเลสาปตอนล่าง 962,034 ไร่ หรือ 1,539.25ตารางกิโลเมตร

                  จากข้อมูลของกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ณ เดือนธันวาคม 2555 พบว่า มีจํานวนประชากร 91,361 คน

                  เป็นเพศชาย 46,653 คน และเพศหญิง 44,708 คน โดยมีประชากรอาศัยอยู่ในเขตเทศบาล จํานวน 26,230 คน
                  และอยู่นอกเขตเทศบาล จํานวน 65,132 คน มีจํานวน.ครัวเรือนทั้งสิ้น 32,761 ครัวเรือน มีสมาชิกต่อครัวเรือน

                  เฉลี่ย 3 คน มีความหนาแน่นของประชากรเฉลี่ย 59 คนต่อตารางกิโลเมตร

                             สภาพการผลิตด้านการเกษตรที่สําคัญ ขึ้นอยู่กับการผลิตทางด้านการเกษตรเป็นหลัก จากการสํารวจ
                  ข้อมูลของกลุ่มวิเคราะห์สภาพการใช้ที่ดิน กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน กรมพัฒนาที่ดิน ปี 2556 พบว่า ใน

                  พื้นที่ลุ่มนํ้าสาขาห้วยพรมโหด พื้นที่ที่ใช้ประโยชน์เพื่อการเกษตรทั้งหมด 530,698 ไร่ หรือร้อยละ 55.16

                  ของเนื้อที่ลุ่มนํ้าสาขา โดยส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ปลูกมันสําปะหลัง 178,935 ไร่ หรือร้อยละ 18.60 ของเนื้อที่ลุ่มนํ้าสาขา
                  อันดับสอง คือ พื้นที่นา 63,193 ไร่ หรือร้อยละ 6.57 และอันดับสาม คือ พื้นที่ปลูกข้าวโพด 23,451 ไร่ หรือ

                  ร้อยละ 2.44 ตามลําดับ ที่เหลือเป็นพื้นที่ปลูกพืชชนิดอื่นๆ

                             สถานภาพของทรัพยากรดินในปัจจุบัน จากการศึกษาข้อมูลดินร่วมกับลักษณะสภาพพื้นที่ใน
                  พื้นที่ลุ่มนํ้าสาขาโตนเลสาปตอนล่าง สามารถสรุปปัญหาหรือข้อจํากัดของทรัพยากรดินได้ดังนี้

                             1) ดินตื้นที่ดอน มีเนื้อที่ 297,271 ไร่ หรือร้อยละ 30.90 ของเนื้อที่ลุ่มนํ้าสาขา พบในสภาพพื้นที่

                  ราบเรียบหรือค่อนข้างราบเรียบถึงเป็นเนินเขา ดินมีการระบายนํ้าดี ความอุดมสมบูรณ์ของดินตามธรรมชาติตํ่า

                  ถึงปานกลาง เป็นดินตื้นถึงลูกรัง ก้อนกรวดหรือเศษหิน ดินตื้นถึงชั้นหินพื้นและดินตื้นถึงชั้นดินมาร์ลหรือ
                  ก้อนปูน ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการชอนไชของรากพืช การไถพรวนตลอดจนการดูดซับนํ้าและแร่ธาตุอาหาร

                  ของพืช ทําให้พืชที่ปลูกชะงักการเจริญเติบโตและให้ผลผลิตตํ่า

                             2)  พื้นที่ลาดชันเชิงซ้อน มีเนื้อที่ 290,327 ไร่ หรือร้อยละ 30.18 ของเนื้อที่ลุ่มนํ้าสาขาเป็น
                  พื้นที่ที่มีความลาดชันสูงหรือพื้นที่ภูเขา มีความลาดชันมากกว่า 35 เปอร์เซ็นต์ สภาพพื้นที่ไม่เหมาะสมต่อ

                  การทําเกษตรกรรม เนื่องจากลักษณะของพื้นที่และดิน ง่ายต่อการถูกชะล้างพังทลาย การเกิดดินถล่มและนํ้าไหลบ่า
   298   299   300   301   302   303   304   305   306   307   308