Page 307 - การประเมินความเหมาะสมทางด้านเศรษฐกิจในการผลิตพืชเพื่อวางแผนการใช้ที่ดินลุ่มน้ำสาขาของลุ่มน้ำหลัก : โตนเลสาป ปีการผลิต 2555/56
P. 307

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                           5-14






                  เงินสด 2,201.36 บาทต่อไร่ และได้รับผลตอบแทนเหนือต้นทุนผันแปรทั้งหมด 1,273.61 บาทต่อไร่ จากการวิเคราะห์

                  การใช้ประโยชน์ที่ดินทั้งระบบ พบว่า การผลิตข้าวเจ้านาปีนาหว่าน (ขาวดอกมะลิ 105) - ข้าวเจ้านาปรังนาหว่าน

                  (ชัยนาท1) ได้รับผลผลิตรวม 2 ครั้ง คิดเป็นมูลค่าผลผลิต 10,240.82 บาทต่อไร่ ได้รับผลตอบแทนเหนือ
                  ต้นทุนผันแปรเงินสดรวม 2 ครั้ง 5,212.41 บาทต่อไร่ ได้รับผลตอบแทนเหนือต้นทุนผันแปรทั้งหมดรวม 2 ครั้ง

                  3,401.28 บาทต่อไร่ และมีอัตราส่วนของรายได้ต่อต้นทุน 1.50 มีชั้นความเหมาะสมทางเศรษฐกิจในระดับปานกลาง (S2)

                        จากการวิเคราะห์ปริมาณผลผลิตคุ้มทุน และระดับราคาคุ้มทุนของประเภทการใช้ประโยชน์ที่ดิน

                  ในแต่ละหน่วยที่ดิน เมื่อนํามาเปรียบเทียบตามกลุ่มพืช พอสรุปรายละเอียดได้ดังนี้
                        เขตนํ้าฝน เกษตรกรปลูกข้าวในหน่วยที่ดินที่ 1 พบว่า เกษตรกรได้รับปริมาณผลผลิต และระดับราคา

                  ผลผลิต คุ้มต่อการลงทุน การปลูกมันสําปะหลังในหน่วยที่ดินที่ 31B และ 52B พบว่า เกษตรกรได้รับปริมาณ

                  ผลผลิต และระดับราคาผลผลิตคุ้มต่อการลงทุนทั้งหมด การปลูกลําไย ในหน่วยที่ดินที่ 31 53B และ 55B ซึ่ง

                  เกษตรกรผลิตเป็นลําไยนอกฤดู พบว่า เกษตรกรได้รับปริมาณผลผลิต และระดับราคาผลผลิตคุ้มต่อการลงทุน
                  ทั้งหมด การปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ในหน่วยที่ดินที่ 55B ซึ่งลักษณะการเพาะปลูกเป็นเพาะปลูกพืช 2 ครั้งในรอบปี

                  คือ ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ต้นฝน-ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ปลายฝน พบว่า เกษตรกรได้รับปริมาณผลผลิต และระดับราคา

                  ผลผลิต คุ้มต่อการลงทุนทั้ง 2 ครั้ง การปลูกยางพารา ในหน่วยที่ดินที่ 55B พบว่า เกษตรกรได้รับปริมาณ
                  ผลผลิตและระดับราคาผลผลิตคุ้มต่อการลงทุน

                        เขตนํ้าชลประทาน เกษตรกรปลูกข้าวในหน่วยที่ดินที่ 4(I) และ 7(I) ซึ่งลักษณะการเพาะปลูกเป็นการทํานาปี

                  ตามด้วยนาปรัง เมื่อนํามาวิเคราะห์ พบว่า การปลูกข้าวเจ้านาปี-ข้าวเจ้านาปรัง ทั้ง 2 หน่วยที่ดิน เกษตรกร
                  ได้รับปริมาณผลผลิตและระดับราคาผลผลิตคุ้มต่อการลงทุนทั้งหมด



                  5.2  ข้อเสนอแนะ

                        1 ควรมีการแนะนํา ให้องค์ความรู้ สร้างความเข้าใจให้แก่เกษตรกรในการผลิตสินค้าเกษตรให้ตรงกับ
                  ระดับความเหมาะสมทางกายภาพของทรัพยากรที่ดินของตนเอง เพื่อเป็นการลดต้นทุนการผลิตและเพิ่ม

                  ปริมาณผลผลิตต่อไร่

                        2  กําหนดนโยบายและมาตรการเพื่อสนับสนุนการใช้ที่ดินให้เหมาะสมกับศักยภาพของพื้นที่ เพื่อ

                  สร้างแรงจูงใจให้กับเกษตรกร ที่ผลิตพืชตรงตามเขตการใช้ที่ดิน เช่น การประกันรายได้เกษตรกร การสนับสนุน
                  เงินทุนดอกเบี้ยตํ่าและใช้มาตรการภาษี

                        3 ส่งเสริมการทําเกษตรกรรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยการลดการใช้สารเคมีและใช้เทคโนโลยี

                  ที่เหมาะสมในการผลิต

                        4 ในกรณีที่เกษตรกรทําการเกษตรกรรมในพื้นที่ที่ไม่เหมาะสม ไม่สอดคล้องกับศักยภาพของที่ดิน
                  ทําให้ต้นทุนการผลิตสูง ผลผลิตตํ่า ควรแนะนําให้เกษตรกรปรับเปลี่ยนมาผลิตสินค้าเกษตรที่ให้
   302   303   304   305   306   307   308   309   310   311   312