Page 299 - การประเมินความเหมาะสมทางด้านเศรษฐกิจในการผลิตพืชเพื่อวางแผนการใช้ที่ดินลุ่มน้ำสาขาของลุ่มน้ำหลัก : โตนเลสาป ปีการผลิต 2555/56
P. 299

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                           5-6






                             สถานภาพของทรัพยากรดินในปัจจุบัน จากการศึกษาข้อมูลดินร่วมกับลักษณะสภาพพื้นที่ใน

                  พื้นที่ลุ่มนํ้าสาขาห้วยพรมโหด สามารถสรุปปัญหาหรือข้อจํากัดของทรัพยากรดินได้ดังนี้

                             1) ดินค่อนข้างเป็นทรายที่ดอน มีเนื้อที่ 34,489 ไร่ หรือร้อยละ 5.91 ของเนื้อที่ลุ่มนํ้าสาขา พบใน
                  สภาพพื้นที่ราบเรียบหรือค่อนข้างราบเรียบถึงลูกคลื่นลอนลาดเล็กน้อย เป็นดินร่วนหยาบ เนื้อดินเป็นดินร่วน

                  ปนทรายหรือดินทรายปนร่วน ดินมีการระบายนํ้าดี ความอุดมสมบูรณ์ของดินตามธรรมชาติตํ่า การปลูกพืช

                  อาจขาดนํ้าได้ในช่วงฝนทิ้งช่วงเป็นระยะเวลานานๆ

                             2) ดินทรายจัดที่ลุ่ม มีเนื้อที่ 8,498 ไร่ หรือร้อยละ 1.46 ของเนื้อที่ลุ่มนํ้าสาขา พบในสภาพพื้นที่
                  ราบเรียบหรือค่อนข้างราบเรียบ เนื้อดินเป็นดินทราย ดินมีการระบายนํ้าค่อนข้างเลวถึงดีปานกลางความอุดมสมบูรณ์

                  ของดินตามธรรมชาติตํ่า การปลูกพืชขาดแคลนนํ้าได้ง่ายเป็นระยะเวลานานและมีนํ้าท่วมขังในฤดูฝนทําความ

                  เสียหายกับพืชที่ไม่ชอบนํ้า

                             3)  ดินทรายจัดที่ดอน มีเนื้อที่ 39,266 ไร่ หรือร้อยละ 6.73 ของเนื้อที่ลุ่มนํ้าสาขา พบในสภาพ
                  พื้นที่ราบเรียบหรือค่อนข้างราบเรียบถึงลูกคลื่นลอนลาดเล็กน้อย เนื้อดินเป็นดินทราย ดินมีการระบายนํ้าดีถึง

                  ค่อนข้างมากความอุดมสมบูรณ์ของดินตามธรรมชาติตํ่า การปลูกพืชขาดแคลนนํ้าได้ง่ายเป็นระยะเวลานาน

                             4) ดินตื้นที่ลุ่ม มีเนื้อที่ 78,704 ไร่ หรือร้อยละ 13.50 ของเนื้อที่ลุ่มนํ้าสาขา พบในสภาพพื้นที่
                  ราบเรียบหรือค่อนข้างราบเรียบ เนื้อดินบนเป็นพวกดินร่วนปนทราย ดินร่วนดินเหนียวหรือดินร่วนปนดิน

                  เหนียวที่มีกรวดหรือลูกรังปะปนเป็นปริมาณมากภายในความลึก 50 เซนติเมตร ดินมีการระบายนํ้าค่อนข้างเลว

                  ความอุดมสมบูรณ์ของดินตามธรรมชาติตํ่า ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการชอนไชของรากพืช การไถพรวนตลอดจน
                  การดูดซับนํ้าและแร่ธาตุอาหารของพืช ทําให้พืชที่ปลูกชะงักการเจริญเติบโตและให้ผลผลิตตํ่ามีนํ้าท่วมขัง

                  ในฤดูฝนทําความเสียหายกับพืชที่ไม่ชอบนํ้า

                             5) ดินตื้นที่ดอน มีเนื้อที่ 76,763 ไร่ หรือร้อยละ 13.16 ของเนื้อที่ลุ่มนํ้าสาขา พบในสภาพพื้นที่
                  ราบเรียบหรือค่อนข้างราบเรียบถึงลูกคลื่นลอนชัน ดินมีการระบายนํ้าดี ความอุดมสมบูรณ์ของดินตามธรรมชาติ

                  ตํ่า เป็นดินตื้นถึงลูกรัง ก้อนกรวดหรือเศษหิน ดินตื้นถึงชั้นหินพื้นซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการชอนไชของรากพืช

                  การไถพรวนตลอดจนการดูดซับนํ้าและแร่ธาตุอาหารของพืช ทําให้พืชที่ปลูกชะงักการเจริญเติบโตและให้ผลผลิตตํ่า

                             6) พื้นที่ลาดชันเชิงซ้อน มีเนื้อที่ 2,460 ไร่ หรือร้อยละ 0.42 ของเนื้อที่ลุ่มนํ้าสาขาเป็นพื้นที่ที่มี
                  ความลาดชันสูงหรือพื้นที่ภูเขา มีความลาดชันมากกว่า 35 เปอร์เซ็นต์ สภาพพื้นที่ไม่เหมาะสมต่อการทําเกษตรกรรม

                  เนื่องจากลักษณะของพื้นที่และดิน ง่ายต่อการถูกชะล้างพังทลาย การเกิดดินถล่มและนํ้าไหลบ่าเมื่อฝนตกหนัก

                  ยากต่อการไถพรวน การจัดการพื้นที่เพื่อทําเกษตรกรรมต้องใช้ค่าใช้จ่ายสูง ควรอนุรักษ์ไว้เพื่อเป็นแหล่งต้นนํ้าลําธาร

                             การประเมินความเหมาะสมทางด้านเศรษฐกิจในการผลิตพืช

                             การประเมินความเหมาะสมของการใช้ประโยชน์ที่ดินทางเศรษฐกิจเป็นการประเมินและ

                  เปรียบเทียบผลที่ได้จากการใช้ประโยชน์ที่ดินประเภทต่างๆ ในแต่ละหน่วยที่ดินในลักษณะของผลตอบแทนต่อไร่
   294   295   296   297   298   299   300   301   302   303   304