Page 306 - การประเมินความเหมาะสมทางด้านเศรษฐกิจในการผลิตพืชเพื่อวางแผนการใช้ที่ดินลุ่มน้ำสาขาของลุ่มน้ำหลัก : โตนเลสาป ปีการผลิต 2555/56
P. 306

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                           5-13






                  พบว่า ยางพารามีมูลค่าปัจจุบันของผลตอบแทนเหนือต้นทุนผันแปรเงินสดเฉลี่ยต่อปี 10,187.11 บาทต่อไร่

                  มีมูลค่าปัจจุบันของผลตอบแทนเหนือต้นทุนผันแปรทั้งหมดเฉลี่ยต่อปี 2,310.22 บาทต่อไร่ และมีอัตราส่วน

                  ของรายได้ต่อต้นทุน 1.22 สําหรับลําไย เกษตรกรปลูกพันธุ์อีดอ ซึ่งเกษตรกรผลิตเป็นลําไยนอกฤดู โดยลําไย
                  ให้ผลตอบแทนเมื่ออายุ 4 ปี การวิเคราะห์ผลตอบแทนในที่นี้จะคิดอายุของลําไย ในรอบ 20 ปี ในช่วงอายุที่ลําไย

                  ให้ผลผลิตแล้ว คือ ช่วงปีที่ 4 - 20 ได้รับผลผลิตเฉลี่ยต่อปี 3,425.00 กิโลกรัมต่อไร่ โดยลําไย ในช่วงอายุปีที่

                  16 - 20 เป็นช่วงที่ให้ผลผลิตสูงที่สุดเฉลี่ย 5,075.00 กิโลกรัมต่อไร่ ราคาเฉลี่ย 36.18 บาทต่อกิโลกรัม จากการวิเคราะห์

                  โดยใช้หลักมูลค่าปัจจุบันของผลตอบแทนสุทธิ (NPV) พบว่า ลําไยมีมูลค่าปัจจุบันของผลตอบแทนเหนือ
                  ต้นทุนผันแปรเงินสดเฉลี่ยต่อปี 69,175.28 บาทต่อไร่ มีมูลค่าปัจจุบันของผลตอบแทนเหนือต้นทุนผันแปร

                  ทั้งหมดเฉลี่ยต่อปี 62,534.65 บาทต่อไร่ และมีอัตราส่วนของรายได้ต่อต้นทุน 4.14 สําหรับประเภท

                  การใช้ประโยชน์ที่ดินในหน่วยที่ดินที่ 55B ที่มีชั้นความเหมาะสมทางเศรษฐกิจในระดับปานกลาง (S2)

                  ได้แก่ ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ต้นฝน-ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ปลายฝนและลําไย ส่วนยางพารามีชั้นความเหมาะสม
                  ทางเศรษฐกิจในระดับเล็กน้อย (S3)

                             เขตนํ้าชลประทาน

                             หน่วยที่ดินที่ 4(I) มีประเภทการใช้ประโยชน์ที่ดินประเภทเดียว ได้แก่ ข้าวเจ้านาปีนาหว่าน
                  (ขาวดอกมะลิ 105) - ข้าวเจ้านาปรังนาหว่าน (ชัยนาท1) โดยเกษตรกรปลูกข้าวเจ้านาปีนาหว่าน พันธุ์ขาวดอกมะลิ 105

                  เป็นพืชครั้งที่ 1 ได้รับผลผลิตเฉลี่ย 567.33 กิโลกรัมต่อไร่ ราคาเฉลี่ย 12.42 บาทต่อกิโลกรัม ได้รับ

                  ผลตอบแทนเหนือต้นทุนผันแปรเงินสด 5,394.70 บาทต่อไร่ และได้รับผลตอบแทนเหนือต้นทุนผันแปร
                  ทั้งหมด 4,921.25 บาทต่อไร่ และเกษตรกรปลูกข้าวเจ้านาปรังนาหว่าน พันธุ์ชัยนาท1 เป็นพืชครั้งที่ 2 ได้รับ

                  ผลผลิตเฉลี่ย 491.10 กิโลกรัมต่อไร่ ราคาเฉลี่ย 10.85 บาทต่อกิโลกรัม ได้รับผลตอบแทนเหนือต้นทุนผันแปร

                  เงินสด 3,769.17 บาทต่อไร่ และได้รับผลตอบแทนเหนือต้นทุนผันแปรทั้งหมด 3,181.78 บาทต่อไร่ จากการวิเคราะห์

                  การใช้ประโยชน์ที่ดินทั้งระบบ พบว่า การผลิตข้าวเจ้านาปีนาหว่าน (ขาวดอกมะลิ 105) - ข้าวเจ้านาปรังนาหว่าน
                  (ชัยนาท1) ได้รับผลผลิตรวม 2 ครั้ง คิดเป็นมูลค่าผลผลิต 12,237.67 บาทต่อไร่ ได้รับผลตอบแทนเหนือ

                  ต้นทุนผันแปรเงินสดรวม 2 ครั้ง 9,163.86 บาทต่อไร่ ได้รับผลตอบแทนเหนือต้นทุนผันแปรทั้งหมดรวม 2 ครั้ง

                  8,103.02 บาทต่อไร่ และมีอัตราส่วนของรายได้ต่อต้นทุน 2.90 มีชั้นความเหมาะสมทางเศรษฐกิจในระดับสูง (S1)

                             หน่วยที่ดินที่ 7(I) มีประเภทการใช้ประโยชน์ที่ดินประเภทเดียว ได้แก่ ข้าวเจ้านาปีนาหว่าน
                  (ขาวดอกมะลิ 105) - ข้าวเจ้านาปรังนาหว่าน (ชัยนาท1) โดยเกษตรกรปลูกข้าวเจ้านาปีนาหว่าน พันธุ์ขาวดอกมะลิ 105

                  เป็นพืชครั้งที่ 1 ได้รับผลผลิตเฉลี่ย 424.91 กิโลกรัมต่อไร่ ราคาเฉลี่ย 12.42 บาทต่อกิโลกรัม ได้รับ

                  ผลตอบแทนเหนือต้นทุนผันแปรเงินสด 3,011.05 บาทต่อไร่ และได้รับผลตอบแทนเหนือต้นทุนผันแปร
                  ทั้งหมด 2,127.67 บาทต่อไร่ และเกษตรกรปลูกข้าวเจ้านาปรังนาหว่าน พันธุ์ชัยนาท1 เป็นพืชครั้งที่ 2 ได้รับ

                  ผลผลิตเฉลี่ย 457.46 กิโลกรัมต่อไร่ ราคาเฉลี่ย 10.85 บาทต่อกิโลกรัม ได้รับผลตอบแทนเหนือต้นทุนผันแปร
   301   302   303   304   305   306   307   308   309   310   311