Page 30 - แนวทางการบริหารจัดการเขตการใช้ที่ดินสำหรับพื้นที่เกษตรกรรม(Zoning)ในส่วนของเศรษฐกร
P. 30

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                           5-10





                  ตารางที่ 5-5  เปรียบเทียบผลตอบแทนของการผลิตข้าวนาปรังกับการผลิตพืชทดแทนข้าวโพดเลี้ยงสัตว์

                             (หลังนา)

                                                                                            (หน่วย : บาท/ไร่)

                                                   ข้าวนาปรังในพื้นที่ที่   ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ (หลังนา)
                              รายการ                                                            ส่วนต่าง
                                                  เหมาะสม (S1 และ S2)   ในพื้นที่ที่เหมาะสม (S1 และ S2)

                  ต้นทุนทั้งหมด                          4,812.66                 5,630.68       818.02
                  มูลค่าผลผลิต                           4,965.06                 6,424.99     1,459.93
                  ผลตอบแทนเหนือต้นทุนทั้งหมด              152.40                    794.31       641.91


                  หมายเหตุ   1.  ข้าวนาปรัง ผลผลิตเฉลี่ย 723.77 กิโลกรัมต่อไร่ ราคา 6.86 บาทต่อกิโลกรัม
                           2. ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ (หลังนา) ผลผลิตเฉลี่ย 1,121.29 กิโลกรัมต่อไร่ ราคา 5.73 บาทต่อกิโลกรัม
                  ที่มา : 1.  ข้าวนาปรัง จากการสํารวจข้อมูลของกลุ่มเศรษฐกิจที่ดินและกลุ่มวางแผนการใช้ที่ดินที่ 1 กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน
                         กรมพัฒนาที่ดิน
                      2.  ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ (หลังนา) จากการสํารวจข้อมูลของกลุ่มเศรษฐกิจที่ดินและกลุ่มวางแผนการใช้ที่ดินที่ 2 กองนโยบายและ
                         แผนการใช้ที่ดิน กรมพัฒนาที่ดิน


                           1.3 กรณีปรับเปลี่ยนจากการทํานาเป็นพืชอาหารสัตว์
                             นอกจากที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ประกาศเขตเหมาะสมสําหรับการปลูกพืช

                  เศรษฐกิจแล้วยังมีการประกาศเขตเหมาะสมสําหรับการเลี้ยงปศุสัตว์ จํานวน 5 ชนิด ได้แก่ โคเนื้อ โคนม

                  สุกร ไก่เนื้อ และไก่ไข่ ดังนั้น พื้นที่ที่จะส่งเสริมให้เกษตรกรปรับเปลี่ยนการปลูกพืชเพื่อสร้างรายได้ใหม่
                  เศรษฐกรหรือเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานในพื้นที่ยังมีทางเลือกให้แก่เกษตรกร โดยการแนะนําให้เกษตรกร

                  ปรับเปลี่ยนไปเลี้ยงสัตว์ เช่น โคเนื้อ ในพื้นที่ที่มีความเหมาะสมในการส่งเสริมให้มีการปลูกพืชอาหารสัตว์

                  เช่น หญ้าเนเปียร์ เป็นต้น ซึ่งวิธีการก็คือ คัดเลือกพื้นที่ที่เป็นเขตเหมาะสมในการเลี้ยงโคเนื้อ ตามประกาศ
                  กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นเขตส่งเสริมการเลี้ยงโคเนื้อเพื่อสร้างรายได้ใหม่ โดยคัดเลือกพื้นที่ที่มี

                  ความเหมาะสมเล็กน้อยและไม่เหมาะสม (S3 และ N) ในการปลูกข้าว 27.41 ล้านไร่ มาซ้อนทับกับพื้นที่

                  ที่มีศักยภาพในการปลูกหญ้าเนเปียร์ (S1 และ S2) ทั้งนี้ต้องมีสหกรณ์หรือกลุ่มเกษตรกร เพื่อเป็นแหล่ง
                  รับซื้อมาวิเคราะห์ร่วมกันจะได้เขตส่งเสริมการเลี้ยงโคเนื้อ เพื่อสร้างรายได้ใหม่ โดยการเปรียบเทียบ

                  ต้นทุนและผลตอบแทนให้เกษตรกรรับทราบถึงความแตกต่างของการปรับเปลี่ยน ทั้งนี้ หญ้าเนเปียร์

                  นอกจากเป็นพืชอาหารสัตว์แล้วยังเป็นพืชพลังงานได้ด้วย สําหรับข้าวนาปีที่เกษตรกรปลูกในพื้นที่

                  เหมาะสมเล็กน้อยและไม่เหมาะสม (S3 และ N) เกษตรกรได้รับผลผลิตเฉลี่ย 555 กิโลกรัมต่อไร่ คิดเป็น
                  มูลค่าผลผลิต 6,105.00 บาทต่อไร่ จากราคาผลผลิตเฉลี่ย 11.00 บาทต่อกิโลกรัม โดยมีต้นทุนทั้งหมด

                  5,343.35 บาทต่อไร่ ได้รับผลตอบแทนเหนือต้นทุนทั้งหมด 761.65 บาทต่อไร่ แต่ถ้าเกษตรกรตัดสินใจ

                  ปรับเปลี่ยนไปปลูกหญ้าเนเปียร์ เพื่อเป็นอาหารสัตว์ ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีความเหมาะสมสูงและเหมาะสม
   25   26   27   28   29   30   31   32   33   34   35