Page 33 - แนวทางการบริหารจัดการเขตการใช้ที่ดินสำหรับพื้นที่เกษตรกรรม(Zoning)ในส่วนของเศรษฐกร
P. 33
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
5-13
ตารางที่ 5-7 เปรียบเทียบผลตอบแทนของการผลิตข้าวนาปีในพื้นที่เหมาะสมเล็กน้อยและไม่เหมาะสม
(S3 และ N) กับการส่งเสริมการเลี้ยงปลานิลในพื้นที่ที่มีความเหมาะสมสูงและเหมาะสม
ปานกลาง (S1 และ S2)
(หน่วย : บาท/ไร่)
ข้าวนาปีในพื้นที่ที่เหมาะสม
ปลานิลในพื้นที่
รายการ เล็กน้อยและไม่เหมาะสม ที่เหมาะสม (S1 และ S2) ส่วนต่าง
(S3 และ N)
ต้นทุนทั้งหมด (บาท/ไร่) 5,343.35 34,783.00 29,439.65
มูลค่าผลผลิต (บาท/ไร่) 6,105.00 40,375.00 34,270.00
ผลตอบแทนเหนือต้นทุนทั้งหมด (บาท/ไร่) 761.65 5,592.00 4,830.35
หมายเหตุ : 1. ข้าวนาปี ผลผลิตเฉลี่ย 555 กิโลกรัมต่อไร่ ราคา 11.00 บาทต่อกิโลกรัม
2. ปลานิล ผลผลิตเฉลี่ย 850 กิโลกรัมต่อไร่ต่อรุ่น เลี้ยงปีละ 2 รุ่น ราคา 47.50 บาทต่อกิโลกรัม
ที่มา : 1. ข้าวนาปี จากการสํารวจข้อมูลของกลุ่มเศรษฐกิจที่ดินและกลุ่มวางแผนการใช้ที่ดินที่ 1 กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน
กรมพัฒนาที่ดิน
2. ปลานิล จากกรมประมง
2. กรณีเกษตรกรผลิตสินค้าเกษตร อยู่ในพื้นที่ที่มีความเหมาะสม (S1 และ S2)
ในกรณีเกษตรกรผลิตสินค้าเกษตร อยู่ในพื้นที่ที่มีความเหมาะสมอยู่แล้ว ทางเศรษฐกรหรือ
เจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานอยู่ในพื้นที่ ก็ควรใช้วิธีการส่งเสริมการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต โดยการให้
องค์ความรู้ เช่น ข้อมูลด้านการผลิตทางการเกษตร และเทคโนโลยีที่เหมาะสมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ
การผลิต ลดต้นทุนทางการผลิต การแนะนําพันธุ์ที่ดี การจัดทําเขตปลอดโรค การแนะนําการใช้ปุ๋ ย
ตามค่าวิเคราะห์ดิน การส่งเสริมการใช้ปุ๋ ยพืชสด การค้นหา ผู้ประสบความสําเร็จในการประกอบอาชีพ
การเกษตรแต่ละด้าน ในมิติ ประสิทธิภาพ ผลตอบแทน และผลผลิตต่อไร่ เพื่อเป็นแปลงต้นแบบ จากผู้มี
ประสบการณ์จริง เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ให้แก่เกษตรกรในพื้นที่ใกล้เคียง รวมถึงการนําพา เกษตรกรมาศึกษา
ดูงานหรือเรียนรู้จากแปลงต้นแบบ เพื่อพัฒนาการผลิตให้ได้มาตรฐาน GAP ตลอดจนแนะนําหรือจัดหา
แหล่งเงินทุน และสินเชื่อดอกเบี้ยตํ่า เป็นต้น