Page 27 - แนวทางการบริหารจัดการเขตการใช้ที่ดินสำหรับพื้นที่เกษตรกรรม(Zoning)ในส่วนของเศรษฐกร
P. 27
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
5-7
แต่ถ้าเกษตรกรตัดสินใจปรับเปลี่ยนจากการทํานาไปปลูกปาล์มนํ้ามัน ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีความเหมาะสม
(S1 และ S2) เกษตรกรได้รับผลผลิตเฉลี่ย 3,690.10 กิโลกรัมต่อไร่ คิดเป็นมูลค่าผลผลิต 13,321.26 บาทต่อไร่
จากราคาผลผลิตเฉลี่ย 3.61 บาทต่อกิโลกรัม โดยมีต้นทุนทั้งหมด 7,811.44 บาทต่อไร่ ได้รับผลตอบแทน
เหนือต้นทุนทั้งหมด 5,509.82 บาทต่อไร่ เมื่อเปรียบเทียบกับผลตอบแทนของการผลิตข้าวนาปี ในพื้นที่
ที่เหมาะสมเล็กน้อยและไม่เหมาะสม (S3 และ N) พบว่า เกษตรกรจะได้รับผลตอบแทนเหนือต้นทุน
ทั้งหมดของการผลิตปาล์มนํ้ามัน สูงกว่าการผลิตข้าวนาปี จํานวน 4,748.17 บาทต่อกิโลกรัม ซึ่งนับว่า
เกษตรกรมีรายได้สูงกว่าการผลิตข้าวหลายเท่า (ตารางที่ 5-3)
ตารางที่ 5-3 เปรียบเทียบผลตอบแทนของการผลิตข้าวนาปี ในพื้นที่ที่เหมาะสมเล็กน้อยและ
ไม่เหมาะสม (S3 และ N) กับการผลิตปาล์มนํ้ามันในพื้นที่มีความเหมาะสมสูงและเหมาะสม
ปานกลาง (S1 และ S2)
(หน่วย : บาท/ไร่)
ข้าวนาปีในพื้นที่ที่เหมาะสม
ปาล์มนํ้ามันในพื้นที่ที่
รายการ เล็กน้อยและไม่เหมาะสม เหมาะสม (S1 และ S2) ส่วนต่าง
(S3 และ N)
ต้นทุนทั้งหมด 5,343.35 7,811.44 2,473.59
มูลค่าผลผลิต 6,105.00 13,321.26 7,216.36
ผลตอบแทนเหนือต้นทุนทั้งหมด 761.65 5,509.82 4,748.17
หมายเหตุ : 1. ข้าวนาปี ผลผลิตเฉลี่ย 555 กิโลกรัมต่อไร่ ราคา 11.00 บาทต่อกิโลกรัม
2. ปาล์มนํ้ามัน ผลผลิตเฉลี่ย 3,690.10 กิโลกรัมต่อไร่ ราคา 3.61 บาทต่อกิโลกรัม
ที่มา : 1. ข้าวนาปี จากการสํารวจข้อมูลของกลุ่มเศรษฐกิจที่ดินและกลุ่มวางแผนการใช้ที่ดินที่ 1 กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน
กรมพัฒนาที่ดิน
2. ปาล์มนํ้ามัน จากการสํารวจข้อมูลของกลุ่มเศรษฐกิจที่ดินและกลุ่มวางแผนการใช้ที่ดินที่ 2 กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน
กรมพัฒนาที่ดิน
1.2 กรณีปรับเปลี่ยนจากการทํานาปรังเป็นพืชฤดูแล้ง
ปัจจุบันประเทศไทยประสบปัญหาภัยแล้ง โดยเฉพาะในพื้นที่ 22 จังหวัด ของลุ่มนํ้า
เจ้าพระยาใหญ่ ได้แก่ ตาก กําแพงเพชร สุโขทัย พิษณุโลก พิจิตร อุตรดิตถ์ นครสวรรค์ ชัยนาท สุพรรณบุรี
สิงห์บุรี อ่างทอง ลพบุรี สระบุรี พระนครศรีอยุธยา นครนายก ปทุมธานี นนทบุรี นครปฐม ฉะเชิงเทรา
กรุงเทพมหานคร สมุทรสาคร และสมุทรปราการ ซึ่งทําให้เกษตรกรส่วนใหญ่ประสบปัญหาภัยแล้ง
ขาดแคลนนํ้าในการเพาะปลูกข้าวนาปรัง เศรษฐกรและเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติราชการในพื้นที่ ควรที่จะส่งเสริม
ให้เกษตรกรหันมาเพาะปลูกพืชใช้นํ้าน้อยทดแทน เช่น ถั่วเหลืองฤดูแล้ง (หลังนา) และข้าวโพดเลี้ยงสัตว์