Page 35 - แนวทางการบริหารจัดการเขตการใช้ที่ดินสำหรับพื้นที่เกษตรกรรม(Zoning)ในส่วนของเศรษฐกร
P. 35
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
6-2
2.2 ในการจัดทําแผนงาน โครงการ เพื่อนําไปสู่การพัฒนาในระดับพื้นที่ ควรมีการศึกษาสภาพ
เศรษฐกิจสังคมพื้นฐาน ความต้องการของเกษตรกรในพื้นที่ ความต้องการของตลาดและของ
ภาคอุตสาหกรรม เพื่อให้สามารถส่งเสริมและพัฒนาการผลิตทางการเกษตรได้ตรงตามที่ตลาด
ต้องการ เพื่อแก้ไขปัญหาเรื่องผลผลิตล้นตลาดและราคาสินค้าเกษตรตกตํ่า
2.3 ในการบริหารจัดการพื้นที่เกษตรกรรมที่เกษตรกรทําการผลิตสินค้าเกษตรอยู่ในพื้นที่ที่มี
ความเหมาะสมเล็กน้อยและไม่เหมาะสม (S3 และ N) ซึ่งทําให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับประสิทธิภาพการผลิตตํ่า
ต้นทุนการผลิตสูง เนื่องจากการใช้พื้นที่ไม่สอดคล้องกับศักยภาพของที่ดิน กรณีดังกล่าวเราควรพิจารณา
สินค้าเกษตรที่ควรส่งเสริมแนะนําให้เกษตรกรปรับเปลี่ยน มาผลิตสินค้าเกษตรที่ให้ผลตอบแทนที่สูงกว่า
โดยต้องชี้แจงทําความเข้าใจถึงผลกระทบจากการทําเกษตรกรรมในพื้นที่ที่ไม่เหมาะสม และนําเสนอ
ทางเลือกการผลิตในรูปแบบต่างๆ ทดแทน ตามความสมัครใจของเกษตรกร ซึ่งทางเลือกที่นําเสนอ
เราจะแสดงให้เห็นถึงโอกาสที่เกษตรกรจะได้รับรายได้ที่เพิ่มขึ้นและความเป็นไปได้ในการปรับเปลี่ยน
มาเป็นการผลิตที่ได้รับผลตอบแทนที่สูงกว่าและสอดคล้องกับความต้องการของตลาด ซึ่งพืชที่ควร
พิจารณาต้องเป็นพืชที่ตลาดมีความต้องการสูง โดยอาจจะเป็นพืชเศรษฐกิจที่นอกเหนือจากพืชเศรษฐกิจ
ที่ยกตัวอย่างในฉบับนี้ เช่น อาจปรับเปลี่ยนเป็นพืชผัก พืชสมุนไพร พืชพลังงาน เกษตรผสมผสาน
รวมทั้งปรับเปลี่ยนไปทําปศุสัตว์ เช่น โคเนื้อ โคนม สุกร ไก่เนื้อ ไก่ไข่ และการเพาะเลี้ยงสัตว์นํ้า เช่น
ปลานํ้าจืดต่างๆ หรือการเพาะเลี้ยงกุ้ง เป็นต้น ทั้งนี้ เศรษฐกรหรือเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานในพื้นที่ ต้องเป็น
ผู้พิจารณาให้เหมาะสมกับศักยภาพของพื้นที่และความต้องการของตลาด ตลอดจนความสมัครใจของ
เกษตรกร