Page 28 - แนวทางการบริหารจัดการเขตการใช้ที่ดินสำหรับพื้นที่เกษตรกรรม(Zoning)ในส่วนของเศรษฐกร
P. 28
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
5-8
(หลังนา) เป็นต้น ซึ่งจะเป็นการช่วยเพิ่มรายได้ให้แก่เกษตรกรในช่วงฤดูแล้งที่เกษตรกรไม่สามารถ
ทํานาได้ แต่ทั้งนี้ พื้นที่อื่นๆ ที่นอกเหนือจากพื้นที่ 22 จังหวัด ที่กล่าวมาก็สามารถใช้เป็นแนวทางในการ
ส่งเสริมแก่เกษตรกรในพื้นที่ปฏิบัติงานของตนเองได้ ซึ่งขอยกตัวอย่างรูปแบบของการปรับเปลี่ยนจาก
การทํานามาเป็นพืชใช้นํ้าน้อย ดังนี้
รูปแบบที่ 1 นําพื้นที่เป้ าหมายในการส่งเสริม ซึ่งได้แก่ พื้นที่ปลูกข้าวนาปรัง ที่มีความ
เหมาะสม มาซ้อนทับกับพื้นที่ที่มีศักยภาพในการปลูกถั่วเหลืองฤดูแล้ง (หลังนา) มาวิเคราะห์ร่วมกัน
จะได้เขตส่งเสริมการปลูกพืชใช้นํ้าน้อยทดแทนการปลูกข้าวนาปรัง เพื่อสร้างรายได้ใหม่ให้แก่
เกษตรกรในช่วงที่ไม่สามารถทํานาปรังได้ ซึ่งเศรษฐกรหรือเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติราชการในพื้นที่ต้อง
เปรียบเทียบต้นทุนและผลตอบแทน ให้เกษตรกรรับทราบถึง ความแตกต่างของการปรับเปลี่ยน
กล่าวคือ หากเกษตรกรปลูกข้าวนาปรังอาจจะประสบปัญหาขาดแคลนนํ้า ทําให้ได้รับผลผลิตและ
ผลตอบแทนของข้าวนาปรังน้อยกว่าปกติ จากการสํารวจข้อมูลของกลุ่มเศรษฐกิจที่ดิน กองนโยบายและ
แผนการใช้ที่ดิน ปีการผลิต 2557/58 ซึ่งเกษตรกรเริ่มประสบปัญหาภัยแล้ง เกษตรกรที่ปลูกข้าวนาปรัง
ได้รับผลผลิตเฉลี่ย 723.77 กิโลกรัมต่อไร่ คิดเป็นมูลค่าผลผลิต 4,965.06 บาทต่อไร่ จากราคาผลผลิตเฉลี่ย
6.86 บาทต่อกิโลกรัม โดยมีต้นทุนทั้งหมด 4,812.66 บาทต่อไร่ ได้รับผลตอบแทนเหนือต้นทุนทั้งหมด
152.40 บาทต่อไร่ แต่ถ้าเกษตรกรตัดสินใจปรับเปลี่ยนจากการทํานาปรังไปปลูกถั่วเหลืองฤดูแล้ง (หลังนา)
ซึ่งเป็นพืชใช้นํ้าน้อยและเป็นพื้นที่ที่มีความเหมาะสม (S1 และ S2) เกษตรกรได้รับผลผลิตเฉลี่ย 303.21
กิโลกรัมต่อไร่ คิดเป็นมูลค่าผลผลิต 5,033.29 บาทต่อไร่ จากราคาผลผลิตเฉลี่ย 16.60 บาทต่อกิโลกรัม
โดยมีต้นทุนทั้งหมด 3,824.99 บาทต่อไร่ ได้รับผลตอบแทนเหนือต้นทุนทั้งหมด 1,208.30 บาทต่อไร่
เมื่อเปรียบเทียบกับผลตอบแทนของการผลิตข้าวนาปรัง พบว่า เกษตรกรจะได้รับผลตอบแทนเหนือ
ต้นทุนทั้งหมดของการผลิตถั่วเหลืองฤดูแล้ง (หลังนา) สูงกว่าการผลิตข้าวนาปรัง จํานวน 1,055.90 บาท
ต่อกิโลกรัม ซึ่งจะพบว่า เกษตรกรจะมีรายได้สูงกว่าการผลิตข้าวนาปรังหลายเท่าและการผลิตข้าวนาปรัง
ต้องใช้ปริมาณนํ้ามากกว่าการผลิตถั่วเหลืองฤดูแล้ง (หลังนา) (ตารางที่ 5-4)