Page 29 - แนวทางการบริหารจัดการเขตการใช้ที่ดินสำหรับพื้นที่เกษตรกรรม(Zoning)ในส่วนของเศรษฐกร
P. 29

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                           5-9





                  ตารางที่ 5-4  เปรียบเทียบผลตอบแทนของการผลิตข้าวนาปรังกับการผลิตพืชทดแทนถั่วเหลืองฤดูแล้ง

                             (หลังนา)

                                                                                            (หน่วย : บาท/ไร่)

                                                   ข้าวนาปรังในพื้นที่ที่   ถั่วเหลืองฤดูแล้ง (หลังนา)
                              รายการ                                                            ส่วนต่าง
                                                  เหมาะสม (S1 และ S2)   ในพื้นที่ที่เหมาะสม (S1 และ S2)
                  ต้นทุนทั้งหมด                          4,812.66                 3,824.99       987.67

                  มูลค่าผลผลิต                           4,965.06                 5,033.29        68.23
                  ผลตอบแทนเหนือต้นทุนทั้งหมด              152.40                  1,208.30     1,055.90

                  หมายเหตุ   1.  ข้าวนาปรัง ผลผลิตเฉลี่ย 723.77 กิโลกรัมต่อไร่ ราคา 6.86 บาทต่อกิโลกรัม
                           2. ถั่วเหลืองฤดูแล้ง (หลังนา) ผลผลิตเฉลี่ย 303.21 กิโลกรัมต่อไร่ ราคา 16.60 บาทต่อกิโลกรัม
                  ที่มา : 1.  ข้าวนาปรัง จากการสํารวจข้อมูลของกลุ่มเศรษฐกิจที่ดินและกลุ่มวางแผนการใช้ที่ดินที่ 1 กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน
                         กรมพัฒนาที่ดิน
                      2.  ถั่วเหลืองฤดูแล้ง (หลังนา) จากการสํารวจข้อมูลของกลุ่มเศรษฐกิจที่ดินและกลุ่มวางแผนการใช้ที่ดินที่ 2 กองนโยบายและ
                         แผนการใช้ที่ดิน กรมพัฒนาที่ดิน


                             รูปแบบที่ 2 นําพื้นที่เป้ าหมายในการส่งเสริม ซึ่งได้แก่ พื้นที่ปลูกข้าวนาปรัง ที่มีความ
                  เหมาะสม มาซ้อนทับกับพื้นที่ที่มีศักยภาพในการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ (หลังนา) มาวิเคราะห์ร่วมกัน

                  จะได้เขตส่งเสริมการปลูกพืชใช้นํ้าน้อยทดแทนการปลูกข้าวนาปรัง เพื่อสร้างรายได้ใหม่ให้แก่

                  เกษตรกรในช่วงที่ไม่สามารถทํานาปรังได้ ซึ่งเศรษฐกรหรือเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานในพื้นที่ต้อง
                  เปรียบเทียบต้นทุนและผลตอบแทน ให้เกษตรกรรับทราบถึงความแตกต่างของการปรับเปลี่ยน

                  กล่าวคือ หากเกษตรกรปลูกข้าวนาปรังอาจจะประสบปัญหาขาดแคลนนํ้า ทําให้ได้รับผลผลิตและ

                  ผลตอบแทนของข้าวนาปรังน้อยกว่าปกติ จากการสํารวจข้อมูลของกลุ่มเศรษฐกิจที่ดิน กองนโยบาย
                  และแผนการใช้ที่ดิน ปีการผลิต 2557/58 ซึ่งเกษตรกรเริ่มประสบปัญหาภัยแล้ง เกษตรกรได้รับ

                  ผลผลิตเฉลี่ย 723.77 กิโลกรัมต่อไร่ คิดเป็นมูลค่าผลผลิต 4,965.06 บาทต่อไร่ จากราคาผลผลิตเฉลี่ย

                  6.86 บาทต่อกิโลกรัม โดยมีต้นทุนทั้งหมด 4,812.66 บาทต่อไร่ ได้รับผลตอบแทนเหนือต้นทุน
                  ทั้งหมด 152.40 บาทต่อไร่ แต่ถ้าเกษตรกรตัดสินใจปรับเปลี่ยนจากการทํานาปรังไปปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์

                  (หลังนา) ซึ่งเป็นพืชใช้นํ้าน้อยและเป็นพื้นที่ที่มีความเหมาะสม (S1 และ S2) เกษตรกรได้รับผลผลิตเฉลี่ย
                  1,121.29 กิโลกรัมต่อไร่ คิดเป็นมูลค่าผลผลิต 6,424.99 บาทต่อไร่ จากราคาผลผลิตเฉลี่ย 5.73 บาทต่อ

                  กิโลกรัม โดยมีต้นทุนทั้งหมด 5,630.68 บาทต่อไร่ ได้รับผลตอบแทนเหนือต้นทุนทั้งหมด 794.31

                  บาทต่อไร่ เมื่อเปรียบเทียบกับผลตอบแทนของการผลิตข้าวนาปรัง พบว่า เกษตรกรจะได้รับ
                  ผลตอบแทนเหนือต้นทุนทั้งหมดของการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ (หลังนา) สูงกว่าการผลิตข้าวนาปรัง

                  จํานวน 641.91 บาทต่อกิโลกรัม ซึ่งจะพบว่า เกษตรกรจะมีรายได้สูงกว่าการผลิตข้าวนาปรังหลายเท่า

                  และการผลิตข้าวนาปรังต้องใช้ปริมาณนํ้ามากกว่าการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ (หลังนา) (ตารางที่ 5-5)
   24   25   26   27   28   29   30   31   32   33   34