Page 26 - แนวทางการบริหารจัดการเขตการใช้ที่ดินสำหรับพื้นที่เกษตรกรรม(Zoning)ในส่วนของเศรษฐกร
P. 26
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
5-6
ตารางที่ 5-2 เปรียบเทียบผลตอบแทนของการผลิตข้าวนาปี ในพื้นที่ที่เหมาะสมเล็กน้อยและ
ไม่เหมาะสม (S3 และ N) กับการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในพื้นที่ที่มีความเหมาะสมสูง
และเหมาะสมปานกลาง (S1 และ S2)
(หน่วย : บาท/ไร่)
ข้าวนาปีในพื้นที่ที่เหมาะสม ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในพื้นที่
รายการ เล็กน้อยและไม่เหมาะสม ส่วนต่าง
(S3 และ N) ที่เหมาะสม (S1 และ S2)
ต้นทุนทั้งหมด 5,343.35 4,292.19 1,051.16
มูลค่าผลผลิต 6,105.00 7,926.25 1,821.25
ผลตอบแทนเหนือต้นทุนทั้งหมด 761.65 3,634.06 2,872.41
หมายเหตุ : 1. ข้าวนาปี ผลผลิตเฉลี่ย 555 กิโลกรัมต่อไร่ ราคา 11.00 บาทต่อกิโลกรัม
2. ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ผลผลิตเฉลี่ย 1,000.79 กิโลกรัมต่อไร่ ราคา 7.92 บาทต่อกิโลกรัม
ที่มา : 1. ข้าวนาปี จากการสํารวจข้อมูลของกลุ่มเศรษฐกิจที่ดินและกลุ่มวางแผนการใช้ที่ดินที่ 1 กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน
กรมพัฒนาที่ดิน
2. ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ จากการสํารวจข้อมูลของกลุ่มเศรษฐกิจที่ดินและกลุ่มวางแผนการใช้ที่ดินที่ 2 กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน
กรมพัฒนาที่ดิน
รูปแบบที่ 3 พื้นที่เป้ าหมายในการส่งเสริมการปลูกปาล์มนํ้ามันเพื่อสร้างรายได้ใหม่
ซึ่งปาล์มนํ้ามันเป็นพืชที่มีอายุการเก็บเกี่ยวผลผลิตหลายปีและหากจะปรับเปลี่ยนในพื้นที่นาก็ควรมี
การยกร่องก่อนการปลูกและในการเก็บเกี่ยวผลผลิตปาล์มนํ้ามัน มีข้อจํากัดในเรื่องคุณภาพของนํ้ามันปาล์ม
ซึ่งควรจะต้องขนส่งผลผลิตไปถึงโรงงานสกัดปาล์มนํ้ามันและนํ้ามันปาล์ม ภายใน 24 ชั่วโมง ดังนั้น
ในการคัดเลือกพื้นที่เพื่อการปรับเปลี่ยนจึงควรคํานึงถึงตลาดรับซื้อผลผลิต ซึ่งระยะทางไม่ควรจะห่าง
จากโรงงานมากนัก อาจจะใช้รัศมีห่างจากโรงงานไม่เกิน 50 กิโลเมตร หรือรัศมีไม่เกิน 100 กิโลเมตร
จากโรงงาน โดยโรงงานปาล์มนํ้ามันจะอยู่ในพื้นที่ภาคใต้เป็นส่วนใหญ่ ในการคัดเลือกพื้นที่อาจจะ
คัดเลือกพื้นที่นาข้าวที่มีความเหมาะสมเล็กน้อยและไม่เหมาะสม (S3 และ N) หรืออาจคัดเลือกพื้นที่
นาร้างในพื้นที่ภาคใต้มาพิจารณา แล้วจึงนํามาซ้อนทับกับพื้นที่ที่มีศักยภาพในการปลูกปาล์มนํ้ามัน
(S1 และ S2) โดยกําหนดรัศมีห่างจากโรงงานไม่เกิน 50 กิโลเมตร หรือรัศมีไม่เกิน 100 กิโลเมตร มาวิเคราะห์
ร่วมกันจะได้เขตส่งเสริมการปลูกปาล์มนํ้ามันเพื่อสร้างรายได้ใหม่ โดยการเปรียบเทียบต้นทุนและ
ผลตอบแทนให้เกษตรกรรับทราบถึงความแตกต่างของการปรับเปลี่ยน กล่าวคือ หากเกษตรกรปลูก
ข้าวนาปีในพื้นที่ที่เหมาะสมเล็กน้อยและไม่เหมาะสม (S3 และ N) เกษตรกรได้รับผลผลิตเฉลี่ย 555
กิโลกรัมต่อไร่ คิดเป็นมูลค่าผลผลิต 6,105.00 บาทต่อไร่ จากราคาผลผลิตเฉลี่ย 11.00 บาทต่อกิโลกรัม
โดยมีต้นทุนทั้งหมด 5,343.35 บาทต่อไร่ ได้รับผลตอบแทนเหนือต้นทุนทั้งหมด 761.65 บาทต่อไร่