Page 32 - แนวทางการบริหารจัดการเขตการใช้ที่ดินสำหรับพื้นที่เกษตรกรรม(Zoning)ในส่วนของเศรษฐกร
P. 32
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
5-12
1.4กรณีปรับเปลี่ยนจากการทํานาเป็นการทําประมง
นอกจากการปรับเปลี่ยนพื้นที่ที่ไม่มีความเหมาะสมไปปลูกพืชชนิดใหม่หรือไปเลี้ยง
ปศุสัตว์แล้ว เศรษฐกรหรือเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานในพื้นที่ยังมีทางเลือกให้แก่เกษตรกร โดยการแนะนํา
ให้เกษตรกรปรับเปลี่ยนไปทําประมง เช่น การเลี้ยงปลานิลและการเพาะเลี้ยงกุ้ง ในพื้นที่ที่มีความเหมาะสม
ในการส่งเสริมให้มีการทําประมง ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้จัดทําประกาศเขตเหมาะสมสําหรับ
ทําการประมง สําหรับวิธีการ คือ คัดเลือกพื้นที่ที่มีความเหมาะสมเล็กน้อยและไม่เหมาะสม (S3 และ N)
ในการปลูกข้าว 27.41 ล้านไร่ มาซ้อนทับกับพื้นที่ที่มีศักยภาพในการทําประมง (S1 และ S2) ซึ่งต้องมี
ตลาดเพื่อรับซื้อผลผลิต มาวิเคราะห์ร่วมกันจะได้เขตส่งเสริมการประมงเพื่อสร้างรายได้ใหม่ ในที่นี้ขอ
ยกตัวอย่างเป็นเขตส่งเสริมการเลี้ยงปลานิล โดยการเปรียบเทียบต้นทุนและผลตอบแทนให้เกษตรกร
รับทราบถึงความแตกต่างของการปรับเปลี่ยน ซึ่งข้าวนาปีที่เกษตรกรปลูกในพื้นที่ที่มีความเหมาะสม
เล็กน้อยและไม่เหมาะสม (S3 และ N) เกษตรกรได้รับผลผลิตเฉลี่ย 555 กิโลกรัมต่อไร่ คิดเป็นมูลค่า
ผลผลิต 6,105.00 บาทต่อไร่ จากราคาผลผลิตเฉลี่ย 11.00 บาทต่อกิโลกรัม โดยมีต้นทุนทั้งหมด 5,343.35
บาทต่อไร่ ได้รับผลตอบแทนเหนือต้นทุนทั้งหมด 761.65 บาทต่อไร่ แต่ถ้าเกษตรกรตัดสินใจปรับเปลี่ยน
ไปเลี้ยงปลานิลในพื้นที่ที่มีความเหมาะสมสูงและเหมาะสมปานกลาง (S1 และ S2) เกษตรกรได้รับผลผลิต
เฉลี่ย 850 กิโลกรัมต่อไร่ต่อรุ่น คิดเป็นมูลค่าผลผลิต 40,375.00 บาทต่อไร่ จากราคาผลผลิตเฉลี่ย 47.50
บาทต่อกิโลกรัม โดยมีต้นทุนทั้งหมด 34,783.00 บาทต่อไร่ ได้รับผลตอบแทนเหนือต้นทุนทั้งหมด
5,592.00 บาทต่อไร่ เมื่อเปรียบเทียบกับผลตอบแทนของการผลิตข้าวนาปีในพื้นที่เหมาะสมเล็กน้อย
และไม่เหมาะสม (S3 และ N) พบว่า เกษตรกรจะได้รับผลตอบแทนเหนือต้นทุนทั้งหมดของการเลี้ยงปลานิล
สูงกว่าการผลิตข้าวนาปี จํานวน 4,830.35 บาทต่อกิโลกรัม ซึ่งนับว่าเกษตรกรได้รับผลตอบแทนสูงกว่า
การผลิตข้าวหลายเท่า (ตารางที่ 5-7)