Page 23 - แนวทางการบริหารจัดการเขตการใช้ที่ดินสำหรับพื้นที่เกษตรกรรม(Zoning)ในส่วนของเศรษฐกร
P. 23

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                           5-3





                  การทําการเกษตรในพื้นที่ที่ไม่เหมาะสม โดยรัฐบาลมีมาตรการสนับสนุน จูงใจ ให้ข้อมูลและคําแนะนํา

                  ทางวิชาการแก่เกษตรกรในการปรับเปลี่ยนการทําการเกษตรภายใต้เงื่อนไขว่าเป็นความสมัครใจและ

                  ความพึงพอใจของเกษตรกรเป็นหลัก
                        พื้นที่เกษตรกรรมส่วนใหญ่มีปัญหาเกี่ยวกับประสิทธิภาพการผลิตตํ่า และต้นทุนการผลิตสูง

                  มีการใช้พื้นที่ไม่สอดคล้องกับศักยภาพของพื้นที่ และผลผลิตมีปริมาณมากกว่าในฤดูเก็บเกี่ยว ทําให้

                  กระทบต่อระดับราคาสินค้าเกษตร รวมทั้งเกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเกษตรกรรายย่อย ฐานะยากจน

                  ตลอดจนประสบปัญหาภัยพิบัติธรรมชาติจากภัยแล้ง อุทกภัย ทําให้ผลผลิตเสียหายและมีปัญหาหนี้สิน
                  ตามมา เมื่อพิจารณาการใช้ประโยชน์พื้นที่เกษตรกรรม จําแนกตามระดับความเหมาะสมของที่ดิน พบว่า

                  พืชเศรษฐกิจหลัก ได้แก่ ข้าว มันสําปะหลัง ยางพารา ปาล์มนํ้ามัน อ้อยโรงงาน และข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ มี

                  ปัญหาการใช้พื้นที่ที่มีความเหมาะสมเล็กน้อย ไม่เหมาะสม และในพื้นที่ป่าจํานวนมาก โดยข้าวมีมากที่สุด

                  29.51 ล้านไร่ รองลงมา ได้แก่ ยางพารา 12.38 ล้านไร่ มันสําปะหลัง 6.06 ล้านไร่ ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ 5.23
                  ล้านไร่ อ้อยโรงงาน 4.38 ล้านไร่ และปาล์มนํ้ามัน 2.22 ล้านไร่

                        ในการบริหารจัดการพื้นที่เกษตรกรรมจึงมุ่งเน้นดําเนินการจัดการในพื้นที่ปลูกข้าวในพื้นที่ไม่

                  เหมาะสมก่อนเป็นลําดับแรก เนื่องจากข้าวเป็นพืชสําคัญในพื้นที่ทางการเกษตรสูงถึงร้อยละ 47 ของพื้นที่
                  เกษตรกรรมทั้งหมด เกี่ยวข้องกับเกษตรกรส่วนใหญ่ของประเทศกว่า 3.7 ล้านครัวเรือน และเป็นเกษตรกร

                  รายย่อยที่มีรายได้ตํ่า มีผลผลิตตํ่า เฉลี่ย 350-450 กิโลกรัมต่อไร่ ประสบปัญหาในการบริหารจัดการ

                  ผลผลิตที่มีมากกว่าความต้องการประกอบกับความผันผวนของราคาข้าวจากตลาดโลก การเปลี่ยนแปลง
                  ภูมิอากาศและความไม่สมดุลระหว่างปริมาณผลผลิตและความต้องการบริโภคข้าว ซึ่งมีผลกระทบ

                  โดยตรงต่อรายได้ของเกษตรกรไทย ดังนั้น เป้ าหมายการดําเนินงาน คือ การลดพื้นที่ปลูกข้าวในพื้นที่

                  เหมาะสมเล็กน้อยและไม่เหมาะสม (S3 และ N) จํานวน 27.41 ล้านไร่ โดยพิจารณาสินค้าที่จะปรับเปลี่ยน
                  เช่น อ้อยโรงงาน มันสําปะหลัง ปาล์มนํ้ามัน ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ยางพารา การทําเกษตรผสมผสาน ปศุสัตว์

                  ประมง เป็นต้น แต่ในเชิงนโยบายกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ร่วมกับสํานักงานคณะกรรมการ

                  เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และกระทรวงอุตสาหกรรม พิจารณาสินค้าที่ควรส่งเสริมแนะนําปรับเปลี่ยน

                  จากการปลูกข้าวเป็นอ้อยโรงงาน เพราะมีตลาดหรือโรงงานนํ้าตาลรองรับผลผลิตแน่นอน และให้
                  ผลตอบแทนดีกว่า โดยกระทรวงอุตสาหกรรมให้ข้อมูลว่ามีโรงงานนํ้าตาล 20 โรง ที่มีกําลังการผลิต

                  สามารถรองรับผลผลิตได้อีก จึงกําหนดพื้นที่รอบ 20 โรงงานเป็นพื้นที่เป้ าหมายส่งเสริมการปรับเปลี่ยน

                  จากข้าวในเขตไม่เหมาะสมไปปลูกอ้อยโรงงาน

                        รูปแบบแนวทางการบริหารจัดการพื้นที่เกษตรกรรม
                        ในการบริหารจัดการพื้นที่เกษตรกรรมมีรูปแบบที่นําเสนอเป็นข้อมูลตัวอย่างที่ตั้งสมมุติฐานขึ้น

                  ซึ่งอาจจะมีความเหมาะสมกับการดําเนินงานในหลายพื้นที่แต่ก็อาจไม่เหมาะสมกับในหลายพื้นที่
   18   19   20   21   22   23   24   25   26   27   28