Page 22 - แนวทางการบริหารจัดการเขตการใช้ที่ดินสำหรับพื้นที่เกษตรกรรม(Zoning)ในส่วนของเศรษฐกร
P. 22

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                           5-2





                  อุตสาหกรรมหรือเป็นที่อยู่อาศัยก็เพราะมูลค่าที่ดิน (หรือภาษาเศรษฐศาสตร์ก็คือ ค่าเช่าเศรษฐกิจ) สูงขึ้น

                  ดังนั้น การเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินจากการปลูกพืชอย่างหนึ่งมาเป็นพืชหรือกิจกรรมอีกอย่างหนึ่งนั้น

                  เกิดขึ้นเพราะราคาหรือรายได้ เปรียบเทียบที่เปลี่ยนแปลงไป ราคาหรือผลตอบแทนจึงเป็นตัวแปรที่สําคัญ
                  ของการใช้ที่ดิน และนอกจากปัจจัยทางเศรษฐศาสตร์แล้ว การใช้ที่ดินยังถูกกระทบด้วยปัจจัยทางสังคม

                  อันรวมถึงวัฒนธรรม ประเพณี และความเชื่อต่างๆ ของเกษตรกร

                        เศรษฐกรที่ปฏิบัติงานในระดับพื้นที่ ซึ่งเป็นนักวิชาการที่จะนําข้อมูลด้านเศรษฐกิจสังคมเพื่อ

                  การบริหารจัดการพื้นที่เกษตรกรรม (Zoning) ไปสู่นักวิชาการสาขาอื่นๆ หรือเจ้าหน้าที่หน่วยงานอื่นๆ
                  ที่เกี่ยวข้องนําข้อมูลไปใช้ประโยชน์เพื่อพิจารณาเป็นแนวทางในการวางแผนงาน โครงการ เพื่อการพัฒนา

                  ในระดับพื้นที่ โดยผู้ปฏิบัติงานในพื้นที่ควรศึกษา วิเคราะห์ ข้อมูล ปริมาณความต้องการสินค้าของ

                  ตลาดในระดับต่างๆ (ตั้งแต่ระดับโลกจนถึงระดับจังหวัด) ทั้งความต้องการในปัจจุบันและแนวโน้ม

                  ความต้องการในอนาคต และพิจารณาเปรียบเทียบข้อมูลปริมาณผลผลิตสินค้าเป้ าหมายในปัจจุบันกับ
                  ข้อมูลปริมาณแนวโน้มความต้องการของสินค้าเป้ าหมายแต่ละชนิดในตลาด ตั้งแต่ตลาดต่างประเทศ

                  และตลาดภายในประเทศว่ายังมีความต้องการสินค้าในปริมาณเท่าใด และควรวิเคราะห์ต่อว่าจังหวัดที่ทํา

                  การผลิตสินค้าเป้าหมายชนิดเดียวกันนั้นมีปริมาณเท่าใดและปริมาณผลผลิตสินค้าเป้ าหมายของจังหวัด
                  มีสัดส่วนเท่าใดของทั้งประเทศ แล้วจึงคํานวณค่าส่วนต่างและคาดการณ์ปริมาณผลผลิตที่จังหวัด

                  สามารถเพิ่มปริมาณผลผลิตของสินค้าเป้าหมายนั้นๆ

                        นอกจากนี้เศรษฐกรควรวิเคราะห์ความต้องการสินค้าจากโรงงาน/แหล่งแปรรูป โดยพิจารณา
                  ข้อมูลปริมาณการใช้วัตถุดิบของโรงงาน/แหล่งแปรรูปที่ใช้ผลผลิตสินค้าเป้ าหมายเป็นวัตถุดิบในการ

                  ผลิตสินค้าต่างๆ ในรัศมีที่สามารถบริหารจัดการต้นทุนด้านโลจิสติกส์ได้ ที่ได้มีการรวบรวม

                  ตรวจสอบไว้แล้ว ของจังหวัดและจังหวัดใกล้เคียง ในประเด็นสําคัญ เช่น กําลังการผลิตในปัจจุบัน
                  กําลังการผลิตที่ยังเพิ่มเติมได้ โอกาสหรือแผนการขยายโรงงาน/แหล่งแปรรูป คุณภาพวัตถุดิบที่ต้องการ

                  ภายหลังการเก็บเกี่ยว เป็นต้น พิจารณาเปรียบเทียบข้อมูลปริมาณผลผลิตสินค้าเป้าหมายในปัจจุบันกับ

                  ข้อมูลความต้องการของโรงงาน/แหล่งแปรรูป ทั้งความต้องการในปัจจุบัน และความต้องการภายหลัง

                  การขยายกําลังการผลิตตามแผนและระยะเวลาที่การขยายโรงงาน/แหล่งแปรรูปแล้วเสร็จ โดยจัดลําดับ

                  สินค้าเป้าหมายตามปริมาณที่โรงงาน/แหล่งแปรรูปต้องการ
                        เพื่อให้การผลิตสินค้าเกษตรของประเทศมีเสถียรภาพมากขึ้น กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้

                  มุ่งเน้นในเรื่องของการบริหารจัดการพื้นที่เกษตรกรรม โดยมีเป้ าประสงค์ที่จะส่งเสริมการผลิตสินค้า
                  เกษตรตามความเหมาะสมของพื้นที่ คือ การปรับสมดุลอุปสงค์ (Damand) และอุปทาน (Supply) ของ

                  สินค้าเกษตรในแต่ละพื้นที่ร่วมกับความต้องการตลาด เพื่อหาความเหมาะสมของการทําการเกษตร

                  ในแต่ละพื้นที่ เพื่อทําให้เกิดประสิทธิภาพในการผลิตสูง ซึ่งจะทําให้เกษตรกรมีผลตอบแทนที่สูงกว่า
   17   18   19   20   21   22   23   24   25   26   27