Page 21 - แนวทางการบริหารจัดการเขตการใช้ที่ดินสำหรับพื้นที่เกษตรกรรม(Zoning)ในส่วนของเศรษฐกร
P. 21
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
บทที่ 5
แนวทางการปฏิบัติงานของเศรษฐกรในการบริหารจัดการพื้นที่เกษตรกรรม
(Zoning)
การผลิตภาคเกษตรกรรมมีความสําคัญต่อระบบเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทยตั้งแต่อดีต
จนถึงปัจจุบัน และมีแนวโน้มที่จะมีบทบาทสําคัญที่จะขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศต่อไปใน
อนาคต จากข้อมูลของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ประเทศไทยมีพื้นที่เกษตรกรรมจํานวน 152 ล้านไร่
และเป็นการใช้ประโยชน์ที่ดินที่มีสัดส่วนมากที่สุด เนื่องจากทรัพยากรดินและที่ดินเป็นทรัพยากร
พื้นฐานที่มีค่าเป็นปัจจัยการผลิตทางการเกษตรที่มีความสําคัญและมีความจําเป็นที่ต้องได้รับการ
บริหารจัดการเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพการผลิตสูงสุด หลักการสําคัญข้อหนึ่งคือการใช้ที่ดินให้ตรง
ตามความเหมาะสมของที่ดินและปรับเปลี่ยนการใช้ที่ดินในบริเวณการผลิตที่ไม่เหมาะสมไปสู่
ทางเลือกที่เหมาะสมให้สอดคล้องตามความต้องการของตลาด
ทองโรจน์ (2534) กล่าวว่า การใช้ทรัพยากรอย่างใดอย่างหนึ่งนั้นจะมีผลกระทบต่ออย่างอื่นๆ
ด้วยความสมดุล (balance) ของทรัพยากรต่างๆ นี้มีความสําคัญ แนวคิดนี้เกี่ยวโยงถึงระบบนิเวศ
(Ecological System) ซึ่งคลุมระบบทรัพยากรธรรมชาติ รวมทั้งทรัพยากรมนุษย์ด้วยการทําลายหรือใช้
ทรัพยากรต่างๆ นั้น มีผลกระทบต่อระบบนิเวศ และหากระบบดังกล่าวนี้ถูกกระทบเกินเหตุแล้วก็
ย่อมจะมีผลเสียต่อคุณภาพและความยั่งยืนของทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม ระบบนิเวศนั้นเป็นระบบที่
เกี่ยวข้องกับการสิ้นเปลืองหรือหมดไป ในแง่ของเศรษฐศาสตร์นั้น แม้ว่าความหายากนั้นเป็นปัญหาหลัก
แต่หลักเศรษฐศาสตร์นั้นเกี่ยวข้องกับการทํากําไรสูงสุดและมักจะในระยะสั้น นักเศรษฐศาสตร์ เห็นว่า
การพัฒนาเศรษฐกิจนั้นสามารถดําเนินไปได้ แม้ว่าทรัพยากรจะหายากขึ้น ความเติบโตทางเศรษฐกิจจึงไม่
มีขีดจํากัด (limit to Growth) เหตุผลก็คือเราสามารถที่จะหาสิ่งทดแทน (substitute) ได้ เช่น ที่ดินเป็น
ปัจจัยที่จํากัด ถ้าต้องการเพิ่มผลผลิตข้าวเราก็อาจใช้เทคโนโลยี เช่น ข้าวพันธุ์ใหม่ ปุ๋ ยเคมี ฯลฯ แทนการขยาย
พื้นที่ดินผลผลิตก็จะเพิ่มขึ้น นักนิเวศวิทยาไม่คิดอย่างนักเศรษฐศาสตร์ เพราะเขาเห็นว่าทรัพยากร
ทั้งหลายนั้นหมดสิ้นไปได้ การอนุรักษ์ (conservation) จึงเป็นสิ่งจําเป็น บางครั้งอาจเรียกว่าการถนอมไว้
(preservation) ด้วยซํ้าไป ด้วยเหตุนี้เองแนวคิดที่คนสนใจเกี่ยวกับการพัฒนาที่ยั่งยืน จึงเป็นเรื่องยุ่งยาก
เพราะเกี่ยวกับทั้ง Ecology และ Economics ซึ่งแนวคิดของคนสองกลุ่มนี้ขัดแย้งกัน
นอกจากนี้ ทองโรจน์ (2534) ยังกล่าวอีกว่า รูปแบบการใช้ที่ดินเปลี่ยนแปลงตามเวลา จึงเป็น
เรื่องของ dynamic ตัวกําหนดการเปลี่ยนแปลงนี้ส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องของเศรษฐกิจและสังคม ตัวแปร
ที่สําคัญ คือ ราคา รายได้ หรือผลตอบแทน เหตุผลที่คนเปลี่ยนการใช้ที่ดินจากที่ดินเกษตรเป็นพื้นที่