Page 207 - การกำหนดเขตการใช้ที่ดินสำหรับปลูกข้าวหอมมะลิของประเทศไทย
P. 207

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน








                                                           บทที่ 5

                             แนวทางการวิเคราะห์ศักยภาพความเหมาะสมเพื่อปลูกข้าวหอมมะลิ



                      5.1  แนวทางการวิเคราะห์ศักยภาพความเหมาะสมเชิงพื้นที่เพื่อการปลูกข้าวหอมมะลิ

                            ประเทศไทยนับว่าเป็นประเทศเกษตรกรรมที่โชคดีประเทศหนึ่งในโลก ที่มีศักยภาพ
                      มีความสามารถในการผลิตข้าวได้อย่างมากมาย โดยมีปัจจัยด้านสภาพพื้นที่ที่ตั้งและมีภูมิอากาศอยู่ในเขต

                      ร้อนชื้นที่เหมาะสมในการปลูกข้าว ซึ่งในช่วงที่ผ่านมาข้าวอาจมีมากจนเกินไป จนถูกมองข้ามความสําคัญ
                      และคุณค่า แต่ปัจจุบันกําลังเป็นธัญพืชที่เป็นที่ต้องการด้านอาหารของโลกอย่างมาก ในเวลานี้จึงนับว่าเป็น

                      โอกาสดีของเกษตรกรไทยที่จะเร่งนําผลผลิตข้าวที่เปรียบเสมือนนํ้ามันบนดินที่ไม่ต้องขุด ไม่ต้องสํารวจ
                      หา ส่งออกทํารายเข้าประเทศ ในปี2551 ขณะนี้ไทยเป็นประเทศที่ส่งออกข้าวสูงที่สุดในโลกโดยเฉพาะ

                      ข้าวขาวจากที่ราบลุ่มเจ้าพระยาในภาคกลาง และข้าวหอมมะลิหรือข้าวขาวดอกมะลิ ที่เป็นข้าวเจ้าหอมที่
                      ขึ้นชื่อที่สุดของโลกจากทุ่งกุลาร้องไห้ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สําหรับข้าวหอมมะลิ (Thai jasmine rice)

                      (Official name"ThaiHom Mali") เป็นสายพันธุ์ข้าวที่มีถิ่นกําเนิดในไทยมีลักษณะกลิ่นหอมคล้ายใบเตย
                      เป็นพันธุ์ข้าวที่ปลูกที่ไหนในโลกไม่ได้คุณภาพดีเท่ากับปลูกในไทยและเป็นพันธุ์ข้าวไทยเป็นสินค้า

                      ส่งออกที่รู้จักไปทั่วโลก
                            ดังนั้น กรมพัฒนาที่ดิน ที่นับว่าเป็นหน่วยงานสนับสนุนปัจจัยด้านพื้นฐานการผลิต เพิ่มศักยภาพ

                      การผลิตข้าว จึงได้วิเคราะห์ประเมินจัดทําศักยภาพความเหมาะสมของพื้นที่ สําหรับการปลูกข้าวหอม

                      มะลิในภาพรวม เพื่อการเพิ่มศักยภาพการผลิตข้าวหอมมะลิในบริเวณพื้นที่ที่เหมาะสม สําหรับหน่วยงานที่
                      เกี่ยวข้องนําไปพิจารณาจัดทํายุทธศาสตร์ข้าวของประเทศในระยะสั้น ระยะกลางและระยะยาวต่อไป


                      5.2  ความหมายและคําจํากัดความของข้าวหอมมะลิไทย

                            หมายถึง เฉพาะข้าวพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 และพันธุ์ กข15 เท่านั้นเมื่อปี พ.ศ. 2497 ทางราชการ

                      ได้มีการรวบรวมพันธุ์ข้าวหอมในเขตอําเภอบางคล้า ส่งไปปลูกคัดพันธุ์บริสุทธิ์และเปรียบเทียบพันธุ์
                      ที่สถานีทดลองข้าวโคกสําโรง (ขณะนี้เป็นสถานีข้าวลพบุรี) และดําเนินการคัดพันธุ์จนกระทั่งปี พ.ศ.

                      2502 ได้พันธุ์ข้าวขาวดอกมะลิ 4-2-105 และคณะกรรมการพิจารณาพันธุ์ ข้าวได้อนุมัติให้เป็นพันธุ์
                      ส่งเสริมแก่เกษตรกร เมื่อ วันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2502 โดยเกษตรกรทั่วไปเรียกว่า ขาวดอกมะลิ

                      105 ต่อมาได้มีการปรับปรุงพันธุ์ข้าวขาวดอกมะลิ 105 จนได้ข้าวพันธุ์ กข15 ซึ่งกระทรวงพาณิชย์ประกาศ
                      ให้ข้าวทั้ง 2 พันธุ์เป็นข้าวหอมมะลิไทย
   202   203   204   205   206   207   208   209   210   211   212