Page 208 - การกำหนดเขตการใช้ที่ดินสำหรับปลูกข้าวหอมมะลิของประเทศไทย
P. 208

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                             5-2






                      5.3  ลักษณะสภาพพื้นที่และสภาพแวดล้อมโดยทั่วไปที่เหมาะสมสําหรับปลูกข้าวหอมมะลิ

                            1) สภาพพื้นที่
                              เป็นพื้นที่ราบลุ่มราบเรียบถึงลูกคลื่นลอนลาดเล็กน้อยที่สามารถกักเก็บนํ้าได้ เป็นพื้นที่อาศัย

                      นํ้าฝนหรืออยู่ในเขตชลประทานที่นํ้าเพียงพอตลอดฤดูปลูก การคมนาคมสะดวกห่างไกลมลพิษใกล้
                      แหล่งรับซื้อผลผลิตหรือสามารถลําเลียงผลผลิตออกสู่ตลาดได้สะดวก

                            2) ลักษณะทางกายภาพของดิน
                              มีเนื้อดินเป็นดินเหนียวร่วนเหนียวถึงร่วนเหนียวปนทรายระดับหน้าดินลึกปานกลางถึงลึก

                      หรือมีหน้าดินไม่น้อยกว่า 25 เซนติเมตร มีความเป็นกรด-ด่าง ระหว่าง 5.0-6.5การระบายนํ้าเลวถึงเลวมาก
                      สามารถอุ้มนํ้าได้ดีมีความอุดมสมบูรณ์ปานกลางถึงสูง

                            3) สภาพภูมิอากาศ

                              มีอุณหภูมิที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโต ประมาณ 22-33 องศาเซลเซียสมีแสงแดดจัดตลอด
                      ฤดู

                            4) แหล่งนํ้า
                              มีนํ้าฝนเพียงพอตลอดฤดูปลูก ปีละไม่น้อยกว่า 1,000มิลลิเมตร มีแหล่งนํ้าและระบบนํ้า

                      เสริมหรือแหล่งนํ้าอื่นๆ ที่ส่งนํ้าได้ตลอดฤดูปลูก


                      5.4  การวิเคราะห์ศักยภาพของพื้นที่

                            เป็นการวิเคราะห์ศักยภาพในเชิงพื้นที่ ที่เหมาะสมกับลักษณะประจําพันธุ์ของข้าวหอมมะลิ คือ
                            1) พื้นที่ปลูกข้าวหอมมะลิ

                              (1)จุดแข็ง
                              -  ทนแล้งได้ดีพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่มีฝนตกน้อย และเป็นนาดอน

                              -  ทนต่อดินเค็มในระดับไม่รุนแรงมากนัก ซึ่งมีพื้นที่กระจายอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
                              -  ทนต่อดินเปรี้ยวที่ระดับเล็กน้อยไม่รุนแรงมากนัก ซึ่งมีพื้นที่กระจายอยู่ในภาคตะวันออก

                      บางส่วน
                              -  คุณภาพดีมีกลิ่นหอมโดยเฉพาะข้าวที่ปลูกในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

                              -  ลักษณะกายภาพและภูมิอากาศ สภาพแวดล้อมของพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

                      มีศักยภาพเหมาะแก่การผลิตข้าวหอมมะลิคุณภาพดีได้
   203   204   205   206   207   208   209   210   211   212   213