Page 210 - การกำหนดเขตการใช้ที่ดินสำหรับปลูกข้าวหอมมะลิของประเทศไทย
P. 210

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                             5-4






                            3) การวิเคราะห์ศักยภาพในเชิงพื้นที่ต่อคุณภาพข้าวหอมมะลิ
                              จากการเปรียบเทียบคุณภาพความหอมในแหล่งพื้นที่ปลูกแนวโน้มข้าวหอมมะลิที่ปลูก

                      ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือจะมีความหอมกว่าข้าวในภาคเหนือและภาคอื่นๆ และข้าวหอมมะลิที่ปลูก
                      ในเขตทุ่งกุลาร้องไห้จะให้ความหอมที่สุด โดยเฉพาะข้าวเก็บเกี่ยวใหม่

                            4) การวิเคราะห์ศักยภาพในเชิงสภาพแวดล้อมต่อคุณภาพข้าวหอมมะลิ
                              ข้าวหอมมะลิที่ปลูกในดินค่อนข้างเป็นทรายและนํ้าแห้งในช่วงเก็บเกี่ยวจะมีคุณภาพความหอมดี

                      และความแห้งแล้งในระยะข้าวเป็นนํ้านมจะทําให้ความหอมเพิ่มขึ้นดังนั้นความชื้นและแห้งแล้งจึงมี

                      ผลต่อคุณภาพของข้าวในระยะต่างๆ สภาพพื้นที่ค่อนข้างแห้งแล้งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือจึงค่อนข้าง
                      ได้เปรียบในการปลูกข้าวหอมมะลิที่มีคุณภาพมากกว่าภาคอื่นๆ

                            5) การวิเคราะห์ศักยภาพในเชิงแหล่งกําเนิดทางภูมิศาสตร์ของข้าวหอมมะลิ
                              กรมทรัพย์สินทางปัญญา ได้รับขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (จีไอ) ข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้

                      แล้วซึ่งครอบคลุมพื้นที่ในจังหวัดร้อยเอ็ด ยโสธร สุรินทร์ มหาสารคาม และศรีสะเกษ หากชุมชนอื่น
                      ที่ไม่ได้อยู่ในพื้นที่ดังกล่าวนําไปแอบอ้างชื่อข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้กับสินค้าข้าวของตนจะเป็น

                      การละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา
                              สําหรับแหล่งผลิตข้าวหอมมะลิแหล่งใหญ่ที่สุดของประเทศจะอยู่ที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีการ

                      ปลูกข้าวหอมมะลิคิดเป็นร้อยละ 80 ของพื้นที่ที่ปลูกข้าวหอมมะลิทั่วประเทศ รองลงมาอยู่ที่ภาคเหนือ
                      ร้อยละ 13 นอกจากนั้นอยู่ในเขตอาศัยนํ้าฝนในภาคกลาง และตะวันออก ซึ่งแหล่งผลิตข้าวหอมมะลิ

                      คุณภาพดีจะอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง จึงเหมาะในการพัฒนาเป็นพื้นที่หลักในการผลิต

                      ข้าวหอมมะลิเพื่อการส่งออกเพื่อส่งจําหน่ายในตลาดต่างประเทศที่ดีที่สุดในโลกได้
                            6) การวิเคราะห์ศักยภาพในเชิงนโยบายต่อแหล่งปลูกข้าวหอมมะลิ
                              (1) รัฐบาลโดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์จัดทําโครงการเพิ่มศักยภาพข้าวหอมมะลิ ในเขต

                      ปฏิรูปที่ดิน 5 จังหวัด ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โครงการนี้นับเป็นส่วนหนึ่งในการรองรับและ

                      สนับสนุน"ยุทธศาสตร์ข้าวไทยเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน" (กําหนดระยะเวลา 5ปี 2550-2554)
                              (2) รัฐบาลโดยกระทรวงพาณิชย์คัดเลือกจังหวัดสุรินทร์ ในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือซึ่ง

                      เป็นแหล่งปลูกข้าวหอมมะลิคุณภาพดีที่สุดของประเทศ ให้เป็นจังหวัดนําร่องในการขยายตลาดข้าว
                      หอมมะลิอินทรีย์และกําหนดกลยุทธ์การส่งเสริมการค้าสินค้าเกษตรอินทรีย์ไทยขึ้น 4 กลยุทธ์หลักได้แก่การ

                      พัฒนาผู้ประกอบการ การขยายตลาดทั้งในและต่างประเทศ การสร้างมูลค่าสินค้าและผลิตภัณฑ์ และ
                      สนับสนุนการสร้างสิ่งอํานวยความสะดวกทางการค้า

                              (3) รัฐบาลให้การส่งเสริมการรักษาคุณภาพข้าวหอมมะลิโดยการรับรองโรงสีที่ผลิตและจําหน่าย
                      ข้าวหอมมะลิที่ได้มาตรฐานในจังหวัดที่เป็นแหล่งผลิตข้าวหอมมะลิในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
   205   206   207   208   209   210   211   212   213   214   215