Page 211 - การกำหนดเขตการใช้ที่ดินสำหรับปลูกข้าวหอมมะลิของประเทศไทย
P. 211

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                             5-5






                            7) การวิเคราะห์ศักยภาพในเชิงภูมิปัญญาท้องถิ่นต่อข้าวหอมมะลิ
                              เกษตรกรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จะมีความรู้ ความชํานาญในการปลูกข้าวหอมมะลิ

                      และข้าวหอมมะลิอินทรีย์มาอย่างยาวนาน มีภูมิปัญญาท้องถิ่น ปราชญ์ชาวบ้านด้านเกษตรอินทรีย์
                      มากมาย ที่ถ่ายทอดภูมิปัญญาการผลิตสืบต่อกันมา จนสามารถผลิตข้าวหอมมะลิอินทรีย์คุณภาพดีได้

                      โดยเฉพาะจังหวัดสุรินทร์ได้ดําเนินการเกษตรอินทรีย์มาตั้งแต่ปี 2542 ข้าวหอมมะลิอินทรีย์สุรินทร์จึง
                      แตกต่างจากข้าวหอมมะลิอินทรีย์ทั่วไป


                      5.5  การกําหนดเขตการใช้ที่ดินสําหรับการปลูกข้าวหอมมะลิ

                            จากการศึกษาวิเคราะห์ศักยภาพของพื้นที่และสภาพแวดล้อมโดยทั่วไปที่เหมาะสมสําหรับการปลูก

                      ข้าวหอมมะลิ ทั้งทางด้านกายภาพเชิงพื้นที่ สภาพแวดล้อม แหล่งกําเนิดภูมิปัญญาท้องถิ่นและเชิงนโยบาย
                      ต่อแหล่งปลูกข้าวหอมมะลิ รวมทั้งให้สอดคล้องกับการจัดทําเขตเหมาะสมของที่ดินสําหรับการปลูก

                      ข้าวในภาพรวม โดยสามารถกําหนดเขตการใช้ที่ดินสําหรับปลูกข้าวหอมมะลิตามเงื่อนไขหลักๆ ได้ดังนี้

                            1)  เป็นพื้นที่เกษตรกรรมนอกเขตพื้นที่ป่าตามกฎหมาย
                            2) ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่สําหรับปลูกข้าวหอมมะลิในปัจจุบัน
                            3) เป็นพื้นที่ที่มีความเหมาะสมสําหรับการปลูกข้าวหอมมะลิ

                            4) เป็นพื้นที่ที่สอดคล้องกับการผลิตข้าว โดยอาศัยนํ้าฝนในภาพรวมของประเทศ

                            ดังนั้น ในการพิจารณาการจัดทําเขตการใช้ที่ดินสําหรับการปลูกข้าวหอมมะลิ จึงกําหนดเขตการ
                      ปลูกข้าวหอมมะลิ ได้เป็น 2 ภาค คือ ภาคเหนือตอนบน และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยแบ่งเขต

                      เหมาะสมตามเขตการใช้ที่ดินออกเป็น 3 เขต ได้แก่ เขตเหมาะสมมาก เหมาะสมปานกลาง และ
                      เหมาะสมน้อย ตามลําดับ (รูปที่ 5-1 ถึงรูปที่ 5-3)
   206   207   208   209   210   211   212   213   214   215   216