Page 173 - การกำหนดเขตการใช้ที่ดินสำหรับปลูกข้าวหอมมะลิของประเทศไทย
P. 173

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                            3-113






                               -คณะกรรมการอํานวยการโครงการจัดระบบการปลูกข้าว มีอธิบดีกรมการข้าวเป็น
                      ประธาน
                               - คณะทํางานขับเคลื่อนโครงการจัดระบบการปลูกข้าว มีรองอธิบดีกรมการข้าวเป็น

                      ประธาน
                               -         คณะอนุกรรมการจัดหาปัจจัยการผลิตสนับสนุนเกษตรกร มีอธิบดีกรม

                      วิชาการเกษตรเป็นประธาน
                               - คณะอนุกรรมการฝึกอบรมเกษตรกร มีอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตรเป็นประธาน
                               - คณะอนุกรรมการสํารวจและวิเคราะห์ข้อมูล มีอธิบดีกรมชลประทานเป็นประธาน

                              (2) กําหนดรูปแบบระบบการปลูกข้าวโดยกรมชลประทาน ซึ่งมี4  ระบบ 18  รูปแบบ
                      ตามสภาพพื้นที่โครงการชลประทาน/โครงการส่งนํ้าและบํารุงรักษา คือ

                                - ระบบที่1 นาครั้งที่2 - นาครั้งที่1 - พืชหลังนา/พืชปุ๋ ยสด/เว้นปลูก
                                - ระบบที่2 นาครั้งที่2 - นาครั้งที่1 - เว้นปลูก

                                - ระบบที่3 นาครั้งที่2 - พืชหลังนา/พืชปุ๋ ยสด/เว้นปลูก - นาครั้งที่ 1
                                - ระบบที่4 นาครั้งที่2 - นาครั้งที่1 (ข้าวนํ้าลึก/ข้าวขึ้นนํ้า (ข้าวฟางลอย))
                                 โดยในแต่ละพื้นที่จะมีช่วงเวลาปลูกและชนิดพันธุ์พืชที่ปลูกแตกต่างกัน

                      ตามช่วงระยะเวลาปลูกสภาพของพื้นที่ และปริมาณนํ้าของแต่ละโครงการชลประทาน/โครงการส่งนํ้า
                      และบํารุงรักษา การมีส่วนร่วมขององค์กรส่วนท้องถิ่นในการคัดเลือกระบบการปลูกข้าว/ พืชหลังนา/

                      พืชปุ๋ ยสด และการจัดสรรนํ้า กําหนดให้มีการประชุมหารือเป็นรายโครงการส่งนํ้า และบํารุงรักษา
                      เพื่อให้ชุมชนและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เช่น องค์กรเกษตรกร สถาบันเกษตรกร องค์การ

                      บริหารส่วนตําบลมีส่วนร่วมในการดําเนินการโครงการ ได้แก่ การตัดสินใจเลือกระบบการปลูกข้าว
                      การจัดสรรนํ้าและบริหารจัดการโครงการ ทั้งนี้เพื่อให้เกิดการยอมรับและเหมาะสมกับสภาพพื้นที่
                      และชนิดพืชที่เลือกปลูก

                              (3) จัดประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อชี้แจงแนวทางการดําเนินงานให้กับหน่วยงาน
                      ที่เกี่ยวข้อเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานระดับพื้นที่ในจังหวัดเป้ าหมายทั้ง 13  จังหวัด เพื่อเตรียมการและ

                      ทําความเข้าใจโครงการและวิธีการปฏิบัติงานโครงการให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน อันจะส่งผลให้
                      การดําเนินงาน โครงการเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและสัมฤทธิ์ผล
                              (4) ประชาสัมพันธ์โครงการเพื่อสร้างความเข้าใจกับเกษตรกรถึงเหตุผลและวัตถุประสงค์

                      ที่รัฐบาลจําเป็นต้องจัดระบบการปลูกข้าว รวมทั้งสร้างความชัดเจนในขั้นตอนและวิธีการเข้าร่วมโครงการ
                      หากเกษตรกรมีความประสงค์จะเข้าร่วมโครงการ ตลอดจนชี้ให้เกษตรกรเกิดความตระหนักถึงผลเสีย

                      ที่เกิดขึ้น ถ้าปลูกข้าวอย่างต่อเนื่องติดต่อกันทั้งปีโดยไม่มีการพักดินอย่างทั่วถึง ทั้งนี้โดยอาศัยช่องทาง
                      สื่อต่างๆ ได้แก่ จัดทํารายการโทรทัศน์แผ่นพับ หนังสือพิมพ์ วิทยุ เป็นต้น
   168   169   170   171   172   173   174   175   176   177   178