Page 36 - รายงานการสำรวจและจำแนกดินเพื่อรองรับการประกาศเขตอนุรักษ์ดินและน้ำตามพระราชบัญญัติพัฒนาที่ดิน พ.ศ.2551 : กรณีศึกษาลุ่มน้ำน้ำย่าง จังหวัดน่าน
P. 36

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                          26


                     6.2.4 การส ารวจและจ าแนกดิน และจัดท าฐานข้อมูลทรัพยากรดิน พื นที่รองรับการประกาศเขตส ารวจ
               ที่ดิน (มาตราส่วน 1:25,000)

                        จากคัดเลือกพื้นที่ที่ได้จากการศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลด้านกายภาพและสภาพปัญหาพื้นที่ (ตามข้อ
               6.2.3) จะต้องมีการศึกษาข้อมูลด้านทรัพยากรดินและด้านอื่นๆที่เกี่ยวข้องในพื้นที่จริง (ตามมาตรา 17) เพื่อให้
               ข้อมูลที่ละเอียดเพียงพอในการประกาศเขตอนุรักษ์ดินและน้ า ซึ่งในการส ารวจทรัพยากรดินในพื้นที่ประกาศเขต
               ส ารวจที่ดินมีขั้นตอนดังนี้

                        1) การเตรียมข้อมูลในส านักงาน
                           (1) รวบรวมข้อมูลทั่วไป เช่น ที่ตั้งและอาณาเขต แผนที่ภูมิประเทศ แผนที่ธรณีวิทยา ภาพถ่ายออร์โธสี
               (มาตราส่วน 1:25,000) แบบจ าลองระดับสูงเชิงเลข และเส้นชั้นความสูง
                           (2) วิเคราะห์พื้นที่และความแปรปรวนของทรัพยากรดินจากข้อมูลเบื้องต้นที่เกี่ยวข้องรวมทั้งสภาพการ

               ใช้ที่ดิน
                           (3) ก าหนดต้นร่างของขอบเขตดิน และหลุมเจาะดินเพื่อตรวจสอบดินที่เป็นตัวแทนภาคสนาม
                        2) การส ารวจดินและการเก็บข้อมูลดินในภาคสนาม
                           (1) ส ารวจและตรวจสอบดินตามหลุมเจาะที่ก าหนดไว้ โดยใช้พลั่วเปิดหน้าดินลึกประมาณ 30 เซนติเมตร

               แล้วใช้สว่านเจาะดินจนถึงความลึกอย่างน้อย 200 เซนติเมตร หรือตื้นกว่าหากพบชั้นขัดขวาง เช่น หินพื้น ชั้นดาน
               ชั้นดินแน่นหรือชั้นศิลาแลง เพื่อวินิจฉัยสมบัติของดินแต่ละชั้นตามการก าเนิดดิน เช่น สีดิน เนื้อดิน ความลึกของ
               ดิน พีเอชของดิน เป็นต้น รวมทั้งศึกษาสภาพแวดล้อมในพื้นที่นั้นๆ โดยเฉพาะปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อกระบวนการ

               ทางดิน เช่น ลักษณะทางธรณีวิทยา วัตถุต้นก าเนิดดิน ภูมิสัณฐาน การกร่อนดิน พืชพรรณธรรมชาติและการใช้
               ประโยชน์ที่ดิน และสภาพภูมิอากาศ เป็นต้น
                           (2) บันทึกข้อมูลการตรวจสอบดินภาคสนาม จ าแนกดินตามระบบอนุกรมวิธานดินของ USDA ตาม
               รายละเอียดของหนังสือ Keys to Soil Taxonomy (Soil Survey Staff, 2014) และก าหนดลักษณะของชุดดินที่
               จัดตั้งในภาคเหนือและที่สูงตอนกลางของประเทศไทย (ส านักส ารวจดินและวางแผนการใช้ที่ดิน, 2547) เพื่อก าหนด

               หน่วยแผนที่ดิน โดยจ าแนกดินถึงระดับชุดดิน (soil series) หรือดินคล้าย (soil variant) ร่วมกับประเภทของดินที่
               พบ ได้แก่ ประเภทเนื้อดินบน (texture phase) ความลาดชัน (slope phases) พร้อมทั้งปรับแก้ขอบเขตดินให้
               สอดคล้องกับลักษณะดินและการจ าแนกดินที่ตรวจสอบได้ในพื้นที่จริง

                        3) การจัดท าฐานข้อมูลทรัพยากรดิน
                           ในการจัดท าฐานข้อมูลทรัพยากรดิน จะน าไปสู่ในการประเมินศักยภาพทรัพยากรดิน เพื่อช่วย
               สนับสนุนการคัดเลือกพื้นที่ในการประกาศเขตอนุรักษ์ดินและน้ า ซึ่งมีขั้นตอนดังนี้
                           (1) น าเข้าเส้นขอบเขตดินและหน่วยแผนที่จากการส ารวจ ด้วยโปรแกรมระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์

               ลงบนภาพถ่ายออร์โธสีที่ใช้เป็นแผนที่พื้นฐาน เพื่อจัดท าเป็นแผนที่ดินต้นฉบับ
                           (2) วิเคราะห์ข้อมูลเพื่อก าหนดขอบเขตการใช้ที่ดินตามศักยภาพของพื้นที่ ความเหมาะสมของดิน
               ส าหรับพืชเศรษฐกิจ ความเหมาะสมของดินทางด้านปฐพีกลศาสตร์ และประเมินอัตราการกร่อนดิน เพื่อก าหนด
               แผนการใช้ที่ดินให้เหมาะสมและสอดคล้องกับสภาพความเป็นจริงในปัจจุบัน รวมทั้งให้ข้อเสนอแนะและแนว

               ทางการแก้ไขปัญหาทรัพยากรดิน การจัดท าระบบอนุรักษ์ดินและน้ า การปรับปรุงบ ารุงดิน เพื่อให้เป็นประโยชน์
               ต่อเกษตรกรในพื้นที่
                           (3) จัดท าแผนที่ดิน และรายงานการส ารวจดิน มาตราส่วน 1:25,000
                           เมื่อได้ข้อมูลทรัพยากรดินที่ละเอียดเพียงพอ และน าข้อมูลทรัพยากรดินที่ได้ไปใช้วิเคราะห์ร่วมกับ

               ข้อมูลเชิงพื้นที่ด้านอื่นๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาด้านการกร่อนดิน น าไปสู่คัดเลือกพื้นที่เพื่อก าหนดเป็นพื้นที่
               รองรับประกาศเขตอนุรักษ์ดินและน้ าตามหลักเกณฑ์หัวข้อ 6.2.2 ข้อ 1) และ 2) ในขั้นตอนต่อไป
   31   32   33   34   35   36   37   38   39   40   41