Page 11 - รายงานการสำรวจและจำแนกดินเพื่อรองรับการประกาศเขตอนุรักษ์ดินและน้ำตามพระราชบัญญัติพัฒนาที่ดิน พ.ศ.2551 : กรณีศึกษาลุ่มน้ำน้ำย่าง จังหวัดน่าน
P. 11

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                            1


                                                รายงานการส ารวจและจ าแนกดิน
                        เพื่อรองรับการประกาศเขตอนุรักษ์ดินและน  า ตามพระราชบัญญัติพัฒนาที่ดิน พ.ศ. 2551:

                                               กรณีศึกษาลุ่มน  าน  าย่าง จังหวัดน่าน
                   Soil Survey and Classification Report to Support the Proclamation of Soil and Water
                         Conservation District by the Applicable Act of Land Development 2008:
                                 A Case Study of Nam Yang Sub watershed, Nan province


               1. บทน า
                  กรมพัฒนาที่ดินมีภารกิจที่ส าคัญในการด าเนินงานด้านส ารวจและจ าแนกดิน วางแผนการใช้ที่ดิน ปรับปรุง
               บ ารุงดิน รวมทั้งการอนุรักษ์ดินและน้ าในพื้นที่เกษตรกรรม มีส่วนที่เกี่ยวข้องกับสิทธิและเสรีภาพของประชาชน

               โดยรวม เพื่อให้สามารถด าเนินงานได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ จึงให้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติ
               พัฒนาที่ดินขึ้น โดยฉบับแรกมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2526 เรียกว่า “พระราชบัญญัติพัฒนาที่ดิน
               พ.ศ. 2526” โดยเป็นการโอนอ านาจหน้าที่ในการพัฒนาที่ดินตามประมวลกฎหมายที่ดิน ในส่วนที่เกี่ยวกับการส ารวจ
               จ าแนก และท าส ามะโนที่ดินเพื่อให้ทราบถึงความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติและความเหมาะสมแก่การใช้ประโยชน์

               ที่ดินเพื่อเกษตรกรรม การวางแผนการใช้ที่ดิน การพัฒนาที่ดิน การก าหนดบริเวณการใช้ที่ดินและการก าหนด
               มาตรการเพื่ออนุรักษ์ดินและน้ า ต่อมาได้มีการประกาศพระราชบัญญัติพัฒนาที่ดินฉบับใหม่ขึ้นเป็นฉบับที่สอง
               เรียกว่า “พระราชบัญญัติพัฒนาที่ดิน พ.ศ. 2551” มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 โดยเพิ่ม

               บทบัญญัติให้หน่วยงานของรัฐสามารถเข้าไปด าเนินการป้องกันรักษาเพื่อให้การใช้ที่ดินเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
               และเกิดประโยชน์สูงสุด รวมถึงก าหนดมาตรการทางกฎหมายที่เหมาะสมเกี่ยวกับการส ารวจความอุดมสมบูรณ์
               ของดินตามธรรมชาติ ความเหมาะสมแก่การใช้ประโยชน์ที่ดิน และการอนุรักษ์ดินและน้ า การวิเคราะห์ตรวจสอบ
               ตัวอย่างดินหรือปรับปรุงดินหรือที่ดิน ตลอดจนก าหนดมาตรการห้ามกระท าการใดๆ รวมถึงการท าให้ที่ดินเกิดการ
               ปนเปื้อนของสารเคมีหรือวัตถุอื่นใด

                  การศึกษาแนวทางบังคับใช้พระราชบัญญัติพัฒนาที่ดิน พ.ศ. 2551 ถือเป็นเครื่องมือส าคัญของเจ้าหน้าที่กรม
               พัฒนาที่ดินที่ในการด าเนินการป้องกันและแก้ไขปัญหาความเสื่อมโทรมของทรัพยากรดิน โดยจ าเป็นต้องมี
               การศึกษาแนวทางการบังคับใช้ เพื่อเป็นแนวทางในการด าเนินงานและแก้ไขปัญหาทรัพยากรดินในพื้นที่อื่นๆ ได้

               อย่างเหมาะสมตามเจตนารมณ์ที่จะให้มีการใช้ประโยชน์ที่ดินได้อย่างมีประสิทธิภาพ ยั่งยืน และเกิดประโยชน์
               สูงสุด การส ารวจและจ าแนกดินเพื่อให้ทราบถึงข้อมูลด้านทรัพยากรดินในพื้นที่ โดยท าการส ารวจดินแบบค่อนข้าง
               ละเอียดขนาดมาตราส่วน 1:25,000 เพื่อให้สามารถประเมินความรุนแรงของปัญหาทรัพยากรดินที่เกิดขึ้นจริง
               ในพื้นที่ที่ถูกก าหนดให้เป็นเขตส ารวจที่ดิน และด าเนินการส ารวจและจ าแนกดินแบบละเอียดมากขนาดมาตราส่วน

               1:4,000 ในพื้นที่ที่ถูกก าหนดเป็นบริเวณการใช้ที่ดิน เขตอนุรักษ์ดินและน้ า และควบคุมการใช้ที่ดิน เพื่อให้มีความ
               ละเอียดเพียงพอสามารถใช้ในการออกแบบระบบอนุรักษ์ดินและน้ า รวมถึงการบริหารจัดการที่ดินในระดับราย
               แปลงได้ ดังนั้นการส ารวจและจ าแนกดิน การจัดท าฐานข้อมูลทรัพยากรดินและแผนที่ดินในครั้งนี้จะเป็นโครงการ
               น าร่องในการจัดท าแนวทางการด าเนินการตามพระราชบัญญัติพัฒนาที่ดิน พ.ศ. 2551 ที่เหมาะสมและสามารถ

               น าไปเป็นต้นแบบให้กับพื้นที่อื่นต่อไป
   6   7   8   9   10   11   12   13   14   15   16