Page 25 - รายงานการสำรวจดินเขตพัฒนาที่ดินลุ่มน้ำห้วยน้ำเทิน ลำดับที่ พล.2(2556) ลุ่มน้ำสาขาแม่น้ำแควน้อย (รหัส 0914) ลุ่มน้ำหลักแม่น้ำน่าน (รหัส 09) พื้นที่ดำเนินการบ้านนาจาน หมู่ที่ 2 ตำบลหนองกระท้าว อำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก
P. 25

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                        13





                  หน่วยดินหลัก แต่ปกติแล้วการรวมดินที่ไม่เหมือนกันและมีข้อจ้ากัดในการใช้ประโยชน์ที่ดินในหน่วยเดี่ยว ถ้า
                  ดินนั้นมีความแตกต่างกันชัดเจนมากในด้านศักยภาพการใช้ประโยชน์ที่ดินกับหน่วยดินหลัก ดินแต่ละชนิดที่

                  แตกต่างกันนั้นเมื่อรวมกันไว้จะต้องมีเนื้อที่ไม่เกินร้อยละ 10 ของพื้นที่หน่วยดินหลัก  เช่น  ชุดดินโคราช
                  (Khorat:Kt)  ที่ดินหินพื้นโผล่ (Rock outcrop : RC) เป็นต้น

                                      2) หน่วยดินสัมพันธ์  (soil association) เป็นหน่วยแผนที่ที่ภายในขอบเขตนั้น ๆ

                  มีดินตั้งแต่ 2 ชนิดขึ้นไปหรือดินกับพื้นที่เบ็ดเตล็ด (miscellaneous areas)   ซึ่งจะเกิดควบคู่กันเสมอ และ
                  มีความสัมพันธ์กันในทางสภาพพื้นที่ เช่น ดิน  A  พบอยู่บนที่ดอนและดิน  B  พบอยู่ในที่ลุ่ม แต่เนื่องจาก

                  ข้อจ้ากัดในเรื่องของมาตราส่วนแผนที่จึงไม่อาจแยกขอบเขตออกจากกันได้  โดยปกติจะก้าหนดไว้ที่มาตรา

                  ส่วน 1:24,000 หรือ มาตราส่วนเล็กกว่า  การให้ชื่อหน่วยแผนที่จะใช้ชื่อของดินหรือที่ดินอื่นๆที่พบ เป็นชื่อ
                  หน่วยแผนที่ โดยชื่อดินหรือพื้นที่เบ็ดเตล็ดที่มีเนื้อที่มากจะเขียนน้าหน้า หากเขียนเป็นสัญลักษณ์ใช้

                  เครื่องหมาย “ / ” คั่น และต้องแสดงบอกสัดส่วนของดินหรือที่ดินอื่นๆที่พบในขอบเขตนั้นๆด้วย เช่น  A/B
                  สัดส่วน 60/40 หรือ 70/30 เป็นต้น

                                      3) หน่วยดินเชิงซ้อน (soil  complex) เป็นหน่วยแผนที่ที่ภายในขอบเขตนั้น ๆ  มี
                  ดินตั้งแต่ 2  ชนิดขึ้นไป หรือดินกับพื้นที่เบ็ดเตล็ด (miscellaneous  areas)  เช่นเดียวกับหน่วยดินสัมพันธ์

                  แม้ว่ามาตราส่วนของแผนที่จะใหญ่ขึ้น (1:24,000 หรือ มาตราส่วนใหญ่กว่า) ก็ยังไม่สามารถแยกขอบเขตของ

                  ดินหรือพื้นที่เบ็ดเตล็ดเหล่านั้นออกจากกันได้ อาจจะเนื่องจากการเกิดมีความซับซ้อน การใช้ชื่อหน่วยแผนที่
                  จะใช้ชื่อของดินหรือหน่วยพื้นที่เบ็ดเตล็ดทั้งหมดที่พบ เป็นชื่อของหน่วยแผนที่ โดยดินหรือพื้นที่เบ็ดเตล็ดที่มี

                  เนื้อที่มากจะเขียนน้าหน้าและเรียงกันไปตามล้าดับ หากเขียนเป็นสัญลักษณ์ใช้เครื่องหมาย “ - ” คั่น และ

                  ต้องแสดงบอกสัดส่วนของดินหรือที่ดินอื่นๆที่พบด้วย เช่น A-B สัดส่วน 60-40 หรือ 70-30 เป็นต้น
                                      4) หน่วยดินศักย์เสมอ (undifferentiated  group) เป็นหน่วยแผนที่ที่ภายใน

                  ขอบเขตนั้น ๆ  มีดินตั้งแต่ 2 ดินขึ้นไป แต่ดินทั้งหมดนั้นไม่มีความแตกต่างในด้านของการน้าไปใช้ประโยชน์
                  และการจัดการดิน จึงไม่มีความจ้าเป็นที่จะต้องแยกขอบเขตออกจากกัน การให้ชื่อหน่วยแผนที่ดินจะใช้ชื่อ

                  ของดินทั้งหมด โดยดินที่พบที่มีเนื้อที่มากจะเขียนน้าหน้าและเรียงกันไปตามล้าดับ หากเขียนเป็นสัญลักษณ์
                  ใช้เครื่องหมาย “ & ”  คั่น และต้องแสดงบอกสัดส่วนของดินที่พบด้วย เช่น  A&B สัดส่วน 60&40  หรือ

                  70&30 เป็นต้น

                                3.7.6 กลุ่มชุดดิน (group  of  soil  series)  เป็นหน่วยของแผนที่ดินที่กรมพัฒนาที่ดิน
                  พัฒนาขึ้นมา โดยการรวมชุดดินที่มีลักษณะ สมบัติและศักยภาพในการเพาะปลูก รวมถึงการจัดการดินที่

                  คล้ายคลึงกันมาไว้เป็นกลุ่มเดียวกัน  เพื่อประโยชน์ในการให้ค้าแนะน้า การตรวจสอบลักษณะดิน  การใช้

                  ที่ดินและการจัดการดินที่เหมาะสม ได้จัดจ้าแนกเป็น  62  กลุ่มชุดดินด้วยกัน  โดยแบ่งตามสภาพที่พบ
                  ออกเป็นกลุ่มใหญ่ๆ ได้ 3 กลุ่ม ได้แก่ (ส้านักส้ารวจดินและวางแผนการใช้ที่ดิน, 2548)

                                      1) กลุ่มชุดดินในพื้นที่ลุ่ม พบในบริเวณที่ลุ่ม การระบายน้้าของดินเลวมาก เลว
                  หรือค่อนข้างเลว มักมีน้้าแช่ขังในฤดูฝน ไม่เหมาะส้าหรับเพาะปลูกพืชไร่ ไม้ผลและไม้ยืนต้น ประกอบด้วย

                  กลุ่มชุดดินดังต่อไปนี้
   20   21   22   23   24   25   26   27   28   29   30