Page 28 - รายงานการสำรวจดินเขตพัฒนาที่ดินลุ่มน้ำห้วยน้ำเทิน ลำดับที่ พล.2(2556) ลุ่มน้ำสาขาแม่น้ำแควน้อย (รหัส 0914) ลุ่มน้ำหลักแม่น้ำน่าน (รหัส 09) พื้นที่ดำเนินการบ้านนาจาน หมู่ที่ 2 ตำบลหนองกระท้าว อำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก
P. 28

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                        16





                                3.7.11  สมบัติของดินที่น้ามาใช้เป็นหน่วยแผนที่ในระดับประเภทดิน ประกอบด้วย
                                         1)  ประเภทเนื้อดินบน (phases of soil surface texture)

                                             (1)  ประเภทดินบนที่เป็นดินแร่ (phases  of  soil  mineral  surface
                  texture)

                                                 เนื้อดินบนที่ใช้เขียนเป็นหน่วยแผนที่ดินเป็นเนื้อดินบนเฉลี่ยตั้งแต่ผิว

                  ดินลงไปจนถึงความลึก 25 เซนติเมตรจากผิวดิน ทั้งนี้เนื่องมาจากความแตกต่างหรือความหลากหลายของ
                  ชั้นไถพรวนในแต่ละพื้นที่ ซึ่งขึ้นอยู่กับชนิดและขนาดของเครื่องจักรกลหรือการใช้แรงงานจากสัตว์ แต่

                  โดยทั่วไปแล้วพืชที่มีระบบรากสั้น เช่น พืชไร่ ต้องการหน้าดินหนาประมาณ 25  เซนติเมตร ก็เพียงพอต่อ

                  การเจริญเติบโตแล้ว ดังนั้น จึงค้านวณเนื้อดินเฉลี่ยในช่วงความลึก 0-25  เซนติเมตร เนื้อดินบนที่ใช้เขียน
                  เป็นหน่วยแผนที่ดิน แบ่งออกได้ 12 ชั้น ดังนี้

                                                 ดินทราย (s : sand) เป็นดินที่ประกอบด้วยอนุภาคขนาดทรายมากกว่า
                  ร้อยละ 85 และมีปริมาณอนุภาคขนาดทรายแป้งรวมกับ 1.5 เท่าของอนุภาคดินเหนียวน้อยกว่าร้อยละ 15

                                                 ดินทรายปนดินร่วน (ls : loamy sand) เป็นดินที่ประกอบด้วยอนุภาค
                  ขนาดทรายร้อยละ 70-91  และมีปริมาณอนุภาคขนาดทรายแป้งรวมกับ 1.5  เท่าของอนุภาคดินเหนียวตั้งแต่

                  ร้อยละ 15 ขึ้นไป และมีปริมาณอนุภาคขนาดทรายแป้งรวมกับ 2 เท่าของอนุภาคดินเหนียวจะต้องน้อยกว่า

                  ร้อยละ 30
                                                 ดินร่วนปนทราย  (sl  :  sandy  loam)  เป็นดินที่ประกอบด้วยอนุภาค

                  ดินเหนียวร้อยละ 7-20 มีอนุภาคขนาดทรายมากกว่าร้อยละ 52 และมีปริมาณอนุภาคทรายแป้งรวมกับ 2 เท่า

                  ของอนุภาคดินเหนียวตั้งแต่ร้อยละ 30  ขึ้นไป หรือมีอนุภาคดินเหนียวน้อยกว่าร้อยละ 7  มีอนุภาคทรายแป้ง
                  น้อยกว่าร้อยละ 50 และมีอนุภาคทรายมากกว่าร้อยละ 43

                                                 ดินทรายแป้ง (si  :  silt)  เป็นดินที่ประกอบด้วยอนุภาคทรายแป้งตั้งแต่
                  ร้อยละ 80 ขึ้นไป และมีอนุภาคดินเหนียวน้อยกว่าร้อยละ 12

                                                 ดินร่วนปนทรายแป้ง (sil  :  silt  loam)  เป็นดินที่ประกอบด้วยอนุภาค
                  ทรายแป้งตั้งแต่ร้อยละ 50 ขึ้นไป อนุภาคดินเหนียวร้อยละ 12-27 หรือมีอนุภาคทรายแป้งร้อยละ 50-80 และ

                  อนุภาคดินเหนียวน้อยกว่าร้อยละ 12

                                                 ดินร่วน (l  :  loam) เป็นดินที่ประกอบด้วยอนุภาคดินเหนียวร้อยละ
                  7-27 อนุภาคทรายแป้ง ร้อยละ 28-50 และอนุภาคทรายน้อยกว่าร้อยละ 52

                                                 ดินร่วนเหนียวปนทราย (scl  :  sandy  clay  loam)  เป็นดินที่

                  ประกอบด้วยอนุภาคดินเหนียว ร้อยละ 20-35  อนุภาคทรายแป้งน้อยกว่าร้อยละ 28  และอนุภาคทรายตั้งแต่
                  ร้อยละ 45 ขึ้นไป

                                                 ดินร่วนเหนียวปนทรายแป้ง (sicl  :  silty  clay  loam)  เป็นดินที่
                  ประกอบด้วยอนุภาคดินเหนียว ร้อยละ 27-40 และอนุภาคทรายไม่เกินร้อยละ 45
   23   24   25   26   27   28   29   30   31   32   33