Page 29 - รายงานการสำรวจดินเขตพัฒนาที่ดินลุ่มน้ำห้วยน้ำเทิน ลำดับที่ พล.2(2556) ลุ่มน้ำสาขาแม่น้ำแควน้อย (รหัส 0914) ลุ่มน้ำหลักแม่น้ำน่าน (รหัส 09) พื้นที่ดำเนินการบ้านนาจาน หมู่ที่ 2 ตำบลหนองกระท้าว อำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก
P. 29

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                        17





                                                 ดินร่วนปนดินเหนียว (cl  :  clay  loam) เป็นดินที่ประกอบด้วยอนุภาค
                  ดินเหนียว ร้อยละ 27-40 และอนุภาคทรายมากกว่าร้อยละ 20-46

                                                 ดินเหนียวปนทราย (sc : sandy clay) เป็นดินที่ประกอบด้วยอนุภาคดิน
                  เหนียวตั้งแต่ร้อยละ 35 ขึ้นไป และอนุภาคทรายตั้งแต่ร้อยละ 45 ขึ้นไป

                                                 ดินเหนียวปนทรายแป้ง (sic : silty clay) เป็นดินที่ประกอบด้วยอนุภาค

                  ดินเหนียวตั้งแต่ร้อยละ 40 ขึ้นไป อนุภาคทรายไม่เกินร้อยละ 45 และอนุภาคทรายแป้งมากกว่าร้อยละ 40
                                                 ดินเหนียว (c  :  clay) เป็นดินที่ประกอบด้วยอนุภาคดินเหนียวตั้งแต่

                  ร้อยละ 40 ขึ้นไป อนุภาคทรายไม่เกินร้อยละ 45 และอนุภาคทรายแป้งไม่เกินร้อยละ 40

                                              (2) ประเภทกลุ่มของเนื้อดินบนที่เป็นวัสดุดินแร่ (phases  of  mineral
                  surface texture groups)

                                                 กรณีของประเภทเนื้อดินบนมีความหลากหลายมาก ท้าให้หน่วยแผน
                  ที่ดินมีเป็นจ้านวนมาก ดังนั้นเพื่อเป็นการลดหน่วยแผนที่ลง อาจจัดรวมเป็นประเภทของกลุ่มเนื้อดินบนที่

                  อยู่ระดับกลางๆ หรือเป็นกลุ่มเนื้อดินบนระดับหยาบ การรวมกลุ่มอาจท้าได้ 2 กลุ่มใหญ่ ได้แก่ กลุ่มเนื้อดิน
                  บนที่ระดับกลางๆ และกลุ่มเนื้อดินบนระดับหยาบ (ตารางที่ 1)

                                              (3) ประเภทเนื้อดินบนที่เป็นดินอินทรีย์ (phases  for  soil  organic

                  material surface texture)
                                                 ประเภทเนื้อดินบนที่เป็นวัสดุดินอินทรีย์  ใช้หลักเกณฑ์พิจารณา

                  เช่นเดียวกับประเภทเนื้อดินบนที่เป็นวัสดุดินแร่ เนื้อดินบนประเภทนี้ส่วนใหญ่ใช้กับดินที่มีชั้นวัสดุอินทรีย์

                  หนาหรือเป็นดินในอันดับฮิสโตโซลส์ (histosols)
                                                 วัสดุดินอินทรีย์ (organic  soil  material) ในกรณีที่ดินอิ่มตัวด้วยน้้า

                  หรือเคยอิ่มตัวด้วยน้้าจะเป็นวัสดุดินอินทรีย์ที่มีคาร์บอนอินทรีย์ตั้งแต่ร้อยละ 18  โดยน้้าหนัก เมื่อมีดิน
                  เหนียวตั้งแต่ร้อยละ 60 ขึ้นไปโดยน้้าหนัก หรือมีคาร์บอนอินทรีย์ตั้งแต่ร้อยละ 12 โดยน้้าหนัก เมื่อไม่มีดิน

                  เหนียว หรือมีคาร์บอนอินทรีย์ตั้งแต่ร้อยละ 12  โดยน้้าหนักรวมกับผลคูณของร้อยละดินเหนียวด้วย 0.1
                  (12 + เปอร์เซ็นต์ C x 0.1) เมื่อมีดินเหนียวน้อยกว่าร้อยละ 60 โดยน้้าหนัก (มีคาร์บอนอินทรีย์เป็นสัดส่วน

                  ระหว่างร้อยละ 12-18 โดยน้้าหนัก เมื่อมีดินเหนียวระหว่างร้อยละ 0-60 โดยน้้าหนัก) ในกรณีที่ดินไม่เคย

                  อิ่มตัวด้วยน้้าจะต้องมีคาร์บอนอินทรีย์ตั้งแต่ร้อยละ 20 ขึ้นไป โดยน้้าหนัก
                                                 ประเภทเนื้อดินบนที่เป็นวัสดุอินทรีย์ แบ่งออกได้ 3 ชนิด ดังนี้

                                                 - ดินพีต (pt : peat) เป็นดินที่มีเส้นใยมาก (fibric soil material)

                                                 - ดินมักกี้พีต (mkp  :  mucky  peat)  เป็นดินที่มีเส้นใยปานกลาง
                  (hemic soil material)

                                                 - ดินมัก (mk : muck) เป็นดินที่ไม่มีเส้นใยหรือมีน้อยมาก (sapric soil
                  material)
   24   25   26   27   28   29   30   31   32   33   34