Page 21 - หลักการจัดระบบอนุรักษ์ดินและน้ำในเขตพัฒนาที่ดิน
P. 21

16

                  สภาพธรรมชาติ พื้นที่ทีไมเหมาะสมตอการพัฒนาในรูปแบบใดๆ ใหหนวยงานที่เกี่ยวของดําเนินการปลูกปาอยางรีบดวน

                  และกรณีสวนราชการใดมีความจําเปนที่ตองใชที่ดินอยางหลีกเลี่ยงไมได ตองจัดทํารายงานการวิเคราะห
                  ผลกระทบสิ่งแวดลอมของโครงการเสนอตอคณะกรรมการสิ่งแวดลอมแหงชาติเพื่อพิจารณาตอไป

                           3.4.3. พื้นที่ชั้นคุณภาพลุมน้ําชั้นที่ 2 มติคณะรัฐมนตรีกําหนดใหใชพื้นที่ในกิจกรรมปาไม เหมือง

                  แร  แตตองควบคุมวิธีการปฏิบัติในการใชที่ดินอยางเขมงวด  และกวดขันใหหนวยงานที่เกี่ยวของดําเนินการ
                  ปลูกปาในบริเวณที่ถูกทําลาย และหลีกเหลี่ยงการใชที่ดินเพื่อกิจกรรมทางดานการเกษตรกรรมอยางเด็ดขาด

                           3.4.4. พื้นที่ชั้นคุณภาพลุมน้ําชั้นที่ 3 มติคณะรัฐมนตรีกําหนดใหใชพื้นที่ในกิจกรรมปาไม เหมือง

                  แร กสิกรรม หรือกิจการอื่น ๆ แตตองมีการควบคุมวิธีการปฏิบัติอยางเขมงวดใหเปนไปตามหลักอนุรักษดิน

                  และน้ํา
                           3.4.5. พื้นที่ชั้นคุณภาพลุมน้ําชั้นที่ 4 มติคณะรัฐมนตรีกําหนดใหใชพื้นที่ทุกกิจกรรมใหถือปฏิบัติ

                  ตามระเบียบของทางราชการโดยเครงครัด แตหากใชพื้นที่เพื่อการเกษตรกรรม ตองเปนบริเวณที่มีความลาด

                  ชันไมเกิน 28 เปอรเซ็นต และตองมีการวางแผนใชที่ดินตามมาตรการการอนุรักษดินและน้ํา

                           3.4.6. พื้นที่ชั้นคุณภาพลุมน้ําชั้นที่ 5  มติคณะรัฐมนตรีกําหนดใหใชพื้นที่ไดทุกกิจกรรมตามปกติ
                  แตในกรณีใชที่ดินเพื่อการอุตสาหกรรม  ควรหลีกเลี่ยงใชพื้นที่ที่มีศักยภาพทางการเกษตรสูง

                           ความหมายและขอกําหนดอื่นที่ควรรูเกี่ยวกับชั้นคุณภาพลุมน้ํา ลักษณะพิเศษตาง ๆ ในการกําหนด

                  ชั้นคุณภาพลุมน้ําทุกลุมน้ํา มีดังนี้
                          1) พื้นที่ชั้นลุมน้ําที่ 1A และ 1B หากมีพื้นที่ใดที่มีศักยภาพ แรหินปูน และหินประดับ ชนิดหินออน

                  และหินแกรนิต  ที่รัฐมีขอผูกพันเปนประทานบัตรแลว  รวมทั้งพื้นที่บริเวณที่ไดรับความเห็นชอบกับรายงาน

                  การวิเคราะหผลกระทบสิ่งแวดลอมของโครงการแลว  กอนมติคณะรัฐมนตรีที่มีมติเห็นชอบเรื่องการกําหนด
                  ชั้นคุณภาพลุมน้ําดังกลาว ใหใชสัญลักษณ เปน 1A, M และ 1B, M ตามลําดับ

                                2) การกําหนดชั้นคุณภาพลุมน้ําภาคใตเพิ่มเติม

                           พื้นที่ชั้นลุมน้ํา 1A, R หมายถึง พื้นที่ชั้นลุมน้ํา 1A ซึ่งมีสวนยางปรากฏอยูในแผนที่สวนยางป 2529
                  ของสถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร

                           พื้นที่ชั้นลุมน้ํา 1B, R  หมายถึง  พื้นที่ชั้นลุมน้ํา 1B   ซึ่งมีสวนยางปรากฏอยูในแผนที่สวนยางป

                  2529 ของสถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร

                          3) ในการกําหนดชั้นคุณภาพลุมน้ํา ชีและมูล เพิ่มเติม : ในพื้นที่ลุมน้ําแตละชั้นคุณภาพจะแบงเปน
                  ชั้น 1A, 1B, 2A, 2B, 3A, 3B, 4A, 4B, 5A, และ 5B ชั้นคุณภาพลุมน้ําที่มีสัญลักษณ A หมายถึงพื้นที่ที่มีสภาพ

                  ปาปรากฏอยูในป 2525 สัญลักษณ B หมายถึง พื้นที่ที่ไมมีสภาพปาปรากฏอยูในป 2525

                          4 ) การกําหนดสภาพปาเสื่อมโทรม มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 2 มิถุนายน 2530 เรื่อง หลักเกณฑ
                  และเงื่อนไขในการกําหนดสภาพปาเสื่อมโทรม และมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2532 เรื่อง ขอ

                  ทบทวนมติคณะรัฐมนตรี เรื่อง หลักเกณฑและเงื่อนไขในการกําหนดสภาพปาเสื่อมโทรม
   16   17   18   19   20   21   22   23   24   25   26