Page 61 - แผนการใช้ที่ดินลุ่มน้ำสาขาภาคใต้ฝั่งตะวันตกตอนล่าง
P. 61

3-5





                  ฤดูฝน เป็นกลุ่มดินตื้นที่มีการระบายน้้าค่อนข้างเลว มีเนื้อดินเป็นพวกดินร่วนปนทราย ส่วนดินชั้น

                  ล่างเป็นดินเหนียวหรือดินร่วนปนดินเหนียวที่มีกรวดหรือลูกรังปะปนเป็นปริมาณมาก สีน้้าตาลอ่อน

                  ถึงสีเทา และพบจุดประพวกสีน้้าตาล สีเหลือง หรือสีแดงปะปน หรือก้อนสารเคมีสะสมพวกเหล็กและ
                  แมงกานีสในดินชั้นล่าง  ใต้ชั้นลูกรังอาจพบชั้นดินเหนียวที่มีศิลาเเลงอ่อนปะปน ดินมีความอุดม

                  สมบูรณ์ตามธรรมชาติต่้ามาก  มีปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดมากถึงกรดจัด  มีค่าความเป็นกรดเป็นด่าง

                  ประมาณ 4.5-5.5 ปัจจุบันบริเวณดังกล่าวใช้ท้านา บางแห่งเป็นป่าละเมาะหรือป่าเต็งรัง แบ่งเป็นหน่วย

                  ที่ดินต่างๆ คือ
                                    - หน่วยที่ดินที่  25 สภาพพื้นที่ราบเรียบหรือค่อนข้างราบเรียบ มีเนื้อที่  2,443 ไร่

                  หรือร้อยละ 0.19 ของพื้นที่ลุ่มน้้าสาขา

                                - หน่วยที่ดินที่ 25I สภาพพื้นที่ราบเรียบหรือค่อนข้างราบเรียบ มีระบบชลประทาน

                  มีเนื้อที่ 198 ไร่ หรือร้อยละ 0.02 ของพื้นที่ลุ่มน้้าสาขา
                                - หน่วยที่ดินที่  25M สภาพพื้นที่ราบเรียบหรือค่อนข้างราบเรียบ มีการดัดแปลง

                  พื้นที่โดยการยกร่องเพื่อปลูกพืช มีเนื้อที่ 546 ไร่ หรือร้อยละ 0.04 ของพื้นที่ลุ่มน้้าสาขา

                                - หน่วยที่ดินที่  25MI สภาพพื้นที่ราบเรียบหรือค่อนข้างราบเรียบ มีการดัดแปลง
                  พื้นที่โดยการยกร่องเพื่อปลูกพืช และมีระบบชลประทาน มีเนื้อที่ 360 ไร่ หรือร้อยละ 0.03 ของพื้นที่

                  ลุ่มน้้าสาขา

                             2)  ดินในพื้นที่ดอน ประกอบด้วยหน่วยที่ดินต่างๆ ดังนี้
                                 (1) กลุ่มชุดดินที่เป็นดินเหนียวลึกมากที่เกิดจากตะกอนล้าน้้าหรือวัตถุต้นก้าเนิดดิน

                  เนื้อละเอียด เกิดจากการสลายตัวผุพังอยู่กับที่ของหินต้นก้าเนิดชนิดต่างๆ แล้วถูกเคลื่อนย้ายมาใน

                  ระยะทางไม่ไกลนักของหินเนื้อละเอียดซึ่งมีทั้งหินอัคนี หินตะกอน หรือหินแปร หรือเกิดจากวัตถุ
                  ต้นก้าเนิดดินพวกตะกอนล้าน้้า ในบริเวณพื้นที่ดอน มีสภาพพื้นที่ราบเรียบหรือค่อนข้างราบเรียบถึง

                  ลูกคลื่นลอนลาด เป็นกลุ่มดินลึกมากที่มีการระบายน้้าดี เนื้อดินบนเป็นดินร่วน ดินร่วนปนดินเหนียว หรือ

                  ดินเหนียว ส่วนดินล่างเป็นพวกดินเหนียว สีดินเป็นสีน้้าตาล สีเหลืองหรือสีแดง ดินมีความอุดมสมบูรณ์ตาม

                  ธรรมชาติปานกลาง ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดมากถึงกรดปานกลาง มีค่าความเป็นกรด-ด่างดินบนอยู่ระหว่าง
                  5.0-6.5  ค่าความจุในการแลกเปลี่ยนประจุบวกต่้า และความอิ่มตัวด้วยประจุบวกที่เป็นด่างต่้า

                  ค่าการน้าไฟฟ้าของดินต่้า ปัญหาส้าคัญในการใช้ประโยชน์ที่ดิน ได้แก่ ดินมีความอุดมสมบูรณ์ค่อนข้างต่้า

                  ส่วนบริเวณที่หน้าดินมีทรายปน และมีความลาดชันสูงมีอัตราเสี่ยงต่อการชะล้างพังทลายของดินมาก

                  หากมีการจัดการดินไม่เหมาะสม ปัจจุบันบริเวณดังกล่าวใช้ปลูกยางพารา ปาล์มน้้ามัน กาแฟ ไม้ผลต่างๆ
                  เช่น มังคุด เงาะ บางพื้นที่มีการปั้นคันนาเพื่อใช้ปลูกข้าว แต่พื้นที่ปลูกมีเพียงเล็กน้อย บางแห่งยังคงสภาพ

                  ป่าธรรมชาติ แบ่งเป็นหน่วยที่ดินต่างๆ คือ






                  แผนการใช้ที่ดินลุ่มน้้าสาขาภาคใต้ฝั่งตะวันตกตอนล่าง
   56   57   58   59   60   61   62   63   64   65   66